0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

เทคนิคการกระตุ้นยอดชะอมให้เขียวชอุ่มพุ่มไสว ไร้หนอนรบกวน

วันนี้เราจะมาคุยกันถึงเรื่องของชะอมเดี๋ยวเราจะมาดูว่าเทคนิคและวิธีการทำให้ชะอมนั้นแตกกอต่อยอดให้เขียวชอุ่มเป็นพุ่มไสว
ไร้หนอนโรคแมลงรบกวน และอาจจะรวมไปถึงหน้าแล้ง หน้าหนาว จะทำยังไงให้ชะอมเรามีผลผลิตได้ทั้งปีเดี๋ยวเราก็จะพูดคุยกัน
 กระบวนการที่จะทำให้ชะอมมียอดอ่อนอย่างมากมาย

ความจริงแล้วไม่ใช่เรื่องวิเศษมหัศจรรย์ใดๆเป็นเรื่องที่ต้องทำให้ชะอมนั้นมีความอุดมสมบูรณ์พร้อมเขาก็สามารถที่จะผลิตยอดออกมาให้เราได้อย่างเป็นที่พึงพอใจเพียงแต่ว่าเราปลูกชะอม

เรารู้หรือยังว่าชะอม ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อเขามีอะไรบ้าง ธาตุหลัก ธาตุรองธาตุเสริม ธาตุพิเศษ เพื่อนๆรู้กันหรือยัง เพราะว่าถ้าเราให้แต่ปุ๋ยยูเรียปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกอย่างเดียว บางทีก็ใช่ว่าจะมีแต่ยอดออก

มาได้ ถ้าให้ปุ๋ยยูเรีย46-0-0 เป็นอาจินไม่แน่ดินที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างเปลี่ยนแปลงไปก็ชะอมก็ไม่ได้ไนโตรเจนจากดินที่เป็นกรดหรือให้ปุ๋ยให้น้ำให้อะไรต่างๆ แต่ความชื้นไม่พอ อย่างเช่น

ช่วงหน้าแล้งให้ปุ๋ยอย่างเดียวแต่เรื่องระบบน้ำไม่ดี อันนี้ก็เป็นปัจจัยเหมือนกันส่วนสำหรับใส่ทั้ง 46-0-0 ใส่ทั้ง 15-15-15สูตรเสมอก็ยังไม่แตกใบอ่อนอันนี้ก็ต้องมาเรียนรู้ธาตุรองกับธาตุเสริมคืออะไร
เพราะฉะนั้นเทคนิคต่างๆเหล่านี้ต้องหมั่นศึกษาแล้วก็เรียนรู้การที่เราจะใส่แต่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวไม่ใช่เรื่องที่จะตอบโจทย์หรือตอบโจทย์แต่ไม่ตอบรายได้คือขายไปได้เยอะจริงแต่ต้นทุนหรือ

กำไรหดไปกับต้นทุนที่สูงเกินควรการให้ปุ๋ยเคมีจึงมีความสำคัญโดยเฉพาะปุ๋ยยูเรียเขาค่อนข้างสูญเสียง่ายละลายเร็วการที่เอาปุ๋ยที่ละลายง่ายไปหว่านโคนต้น รดน้ำ เขาก็จะระเหิดไปในอากาศ
ชะอมเราก็กินได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ใส่ไป 100
% กินแค่ 20-30%แล้วเขาก็ต้องการพลังงานในการแตกช่อเยอะเพราะฉะนั้นตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญถ้าเราสามารถทำให้ปุ๋ยที่ละลายสูญเสียได้ง่ายเหล่านี้
เป็นปุ๋ยละลายช้า ด้วยการทำแบบง่ายๆคนไทยทำเอง
Made in Thailand มันจะช่วยทำให้ประสิทธิภาพในการเก็บรักษาปุ๋ยให้ชะอมดูดกินมีคุณค่ามีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยที่สูญเสียน้อยลง
เพื่อนๆที่เริ่มต้นใช้พวกนี้คือลองเอาปุ๋ยเคมี 5 ส่วน พรมน้ำพอชื้นให้เป็นเม็ดเยิ้มๆ แฉะๆหน่อยแล้วก็เคลือบด้วยภูไมท์ หรือภูไมท์ซัลเฟตถ้าเป็นภูไมท์ก็ 1 ต่อ 5 ถ้าเป็นภูไมท์ซัลเฟตก็เป็น 2 ต่อ 5
ก็จะช่วยทำให้ปุ๋ยของเรา จะสังเกตได้เลยว่าเขียวนาน เขียวทน เพราะว่าเป็นปุ๋ยคำว่าเป็นปุ๋ยละลายช้าไม่ได้ปุ๋ยละลายยาก แล้วถ้าไนโตรเจนจากปุ๋ย 46-0-0มันทำให้ต้นอวบอ้วน แล้วชาวบ้านโดยทั่วไป

ส่วนใหญ่ก็จะแก้ด้วยปุ๋ยสูตรคือเอาเงินเติมเงินปุ๋ยยูเรียก็ใช้เงินอยู่แล้ว ไปซื้อปุ๋ยสูตรเสมอมาใส่อีกจริงๆแล้วไม่จำเป็นใช้แค่อาจจะเอาพวกหินภูเขาไฟ ภูไมท์หรือภูไมท์ซัลเฟตพรมสัก 1
หรือ 2 กำมือ ความจริงแล้ว 2-3 ช้อนแกงก็ได้ เมื่อเทียบกับปุ๋ยสูตรเสมอ ฟ้ากับเหวในเรื่องของต้นทุนแต่คุณค่าทางสารอาหารมหาศาลเพราะว่าลาวาภูเขาไฟหลอมละลายพวกหินและแร่ธาตุ แร่ธาตุรอง
ธาตุเสริมที่พร้อมต่อการให้ชะอมเขาแตกยอดการแตกยอดอ่อนชะอมไม่ใช่ไนโตรเจนอย่างเดียว ต้องใช้พวกเหล็ก ทองแดง แมงกานีสสังกะสี ถ้าเป็นกลุ่มลูกค้าดั้งเดิม หรือเป็นสมาชิกของเราเก่าแก่
จะใช้ซิลโคเทรชกับพวกไคโตซาน
MT ฉีดพ่นทางใบก็เติมจุลธาตุแต่ถ้าเราไม่ต้องการจะฉีดหรือไม่มีเวลาฉีดก็อาจจะต้องลองมาเป็นเอาปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก
ปุ๋ยอินทรีย์ทำดินให้เป็นดินที่มีชีวิตชีวาเพราะปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์แต่เปอร์เซ็นต์ปุ๋ยก็ แม้ว่าไนโตรเจนจะไม่มากไม่เยอะเหมือนกับปุ๋ยเคมีแต่ในระยะยาว ทางกายภาพของดิน ดินจะดี
อันนี้เป็นเรื่องของเทคนิค เป็นเรื่องของการให้ปุ๋ย แต่การใช้ภูไมท์ ภูไมท์ซัลเฟตมันมี 2 กรณี คือเอาไปผสมปุ๋ย วัตถุประสงค์อย่างเดียวคือให้ปุ๋ย
เหมือนเก็บเนื้อเก็บหมูไว้ในตู้เย็น ถ้าใส่ยูเรียอย่างเดียวปุ๋ยสูตรเสมออย่างเดียว รดน้ำมันอาจจะกินเต็มที่ก็ 3-4 วัน 5 วันหรือกินเขียวไปได้สักพักหนึ่งแล้วก็หายหมดแล้ว แต่ถ้าใส่ 5 ส่วนผสมกับภูไมท์ 1
ส่วน เขาจะเขียวเขาจะเขียวได้เป็นเดือนหรือ 2เดือนขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของดินคืออยู่นาน แต่ถ้าต้องการให้ใช้ยูเรียและใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกปุ๋ยอินทรีย์ แล้วเฝือใบ งามใบ แต่ไม่ง่ายต่อการเข้า

ทำลายของหนอนเพราะว่าชะอมเมื่อมียอดอ่อนก็แน่นอนต้องมีหนอนแล้วก็แมลงมารบกวนตัวที่จะช่วยก็คือในเรื่องของหินแร่ภูเขาไฟที่เขามีซิลิก้าที่ละลายน้ำได้มากถึง 70%
ซิลิก้าจากหินแร่ภูเขาไฟ หินแร่ภูเขาไฟทางสากล หรือในระดับโลกก็หมายความว่าเป็นพวกซีโอไลท์ ตัวเลขนี้ไม่ได้เป็นตัวเลขที่ขึ้นมาลอยๆ
สามารถไปค้นคว้าที่ห้องสมุด กรมทรัพยากรธรณีได้ หรือ ในอินเตอร์เน็ตเว็ปไซต์ได้โดยสากลเลยถ้าเป็นหินแร่ภูเขาไฟก็จะมีตัวเลขบอกเลยว่าซิลิก้าที่ละลายได้มีประมาณ
69
% หรือ 70% บางคนก็บอกว่าทรายก็มีหินก็มี แกลบก็มีตัวนี้มันมีซิลิก้าเยอะแต่มันไม่ละลายเพราะฉะนั้นเวลาดูสินค้าที่เลียนแบบ หรือใกล้เคียง หรือแอบอ้าง
ต้องดูใบเซอร์ว่ามีคำว่า
dissol ที่แปลว่าละลายได้หรือไม่หรือพวกโซโรบอนซิลิก้อนด้วยหรือเปล่า ถ้าไม่มีก็เหมือนเอาทรายไปถมที่ไม่ได้ช่วยให้ชะอมนั้นแข็งแกร่ง แต่ถ้าชะอมที่ใช้ยูเรีย ใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก
ปุ๋ยอินทรีย์ หรือใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพหมักเองแล้วไม่อยากให้เฝือใบงามใบจนอวบอ้วนอ่อนแอง่ายต่อการเข้าทำลายของโรคแมลงศัตรูพืชก็ต้องใช้ตัวพวกภูไมท์
ภูไมท์ซัลเฟต รองพื้นหรือพรมบนผิวดินหรือรอบโคนต้น ใต้ทรงพุ่มแต่มันยากขนาดนั้นไหมก็ไม่ง่ายก็ต้องสังเกตดูว่าใส่ทางดินแล้วการชู๊ตของยอดนั้นมีปัญหาอะไรหรือไม่
แต่ที่แน่ๆอุ่นใจได้เลยก็คือการใช้พวกหินแร่ภูเขาไฟ ซีโอไลท์ ซีโอแปลว่าเดือดไลท์มาจากคำว่าลิกโทส แปลว่าหิน หินที่เดือดแล้ว บางคนไปเอาดินขาวปราจีนที่ทำเซรามิก
ดินเบาลำปางที่ทำชามตาไก่ มันก็ไม่ได้ผลเหมือนพวกหินลาวาภูเขาไฟจริงๆเพราะฉะนั้นน้ำหนักของชะอมได้ดีเพราะซิลิก้า มันเป็นแบบหน่วง กรอบ แข็ง
เขาเรียกว่าแข็ง กรอบ ยากต่อการเข้าทำลายของหนอน แมลง แต่อร่อย รสชาติดีสำหรับมนุษย์ยูเรียก็ถือว่าเป็นแค่ปัจจัยหนึ่งแต่การเลี้ยงชะอมแม้ว่าเขาจะไม่มีดอกและผล
เขาก็ยังกิน
P และ K คือฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมและพวกธาตุรองแคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก ทองแดง แมงกานีส สังกะสี โบนอน
โมริบดินัม อะไรต่างๆเหล่านี้ ถ้าเราใส่ทางดินแล้ว ปุ๋ยอินทรีย์ส่วนใหญ่แล้วเขาเรียกว่ากระบวนการหมักที่ได้รูปแบบของแอมโมเนียมากที่สุด
แอมโมเนีย วงจรของแอมโมเนียก็จากยูเรียแตกตัวไปเป็นแอมโมเนีย ไนไตรท์ ไนเตรทไนโตรเจน เพราะฉะนั้น ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ก็จะมีแต่ไนโตรเจนค่อนข้างเยอะ
P
กับ K น้อย ถ้าเรานึกถึงถังไม้โอ๊คที่เป็นรูปหมักเบียร์เป็นซี่ๆถ้าเรามัวแต่มุ่งหวังว่าใช้ยูเรียเยอะๆ แต่ซี่ไม้ของ P และ Kต่ำ ยูเรียมันก็ขึ้นไปสูงไม่ได้ ที่จะกินดูดก็ตาม
ตามกับตัวที่ต่ำที่สุด เพราะฉะนั้นต้องใส่ช่องของถังไม้อย่าให้มันรั่วตามคำว่ารั่วตาม
P และ K ก็ต้องเพียงพอ รวมถึงแคลเซียมแมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก ทองแดง แมงกานีสด้วย
พูดแบบนี้หมายความว่าตัวที่ช่วยทดแทนปุ๋ยเคมีราคาแพงก็คือชื่อว่าภูไมท์ซัลเฟตและพูมิชซัลเฟอร์ถุงสีเหลืองๆ ในนั้นจะมีฟอสฟอรัส มีธาตุรอง ธาตุเสริม
ค่อนข้างเยอะ และกิโลละ 7-8 บาท ไม่แพง ดินจะโปร่ง ฟู ร่วนซุย ระบายถ่ายเทน้ำดีแล้วถ้าใส่ทางดินแล้วปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก มันจุลธาตุไม่พอเราต้องฉีดทางใบ
สมมุติได้ประมาณนี้แล้ว ตามที่ได้ฟังมา ในช่วงที่กระทบหนาวกระทบหนาวพืชที่ได้ซิลิก้า จะทนร้อนทนหนาวได้ดี ช่วงหน้าแล้ง หน้าหนาว
ในเรื่องของจุลธาตุที่ช่วยเขาคือพวกสังกะสี ซัลเฟอร์ เหมือนกินข่า กินขิง กินกระวาตรงนี้อาจจะต้องใช้พวกซิลโคเทรซ ทีจีเออะมิโน ไคโตซานซึ่งหรือบางคนถ้าดินขาดสังกะสีเยอะๆอาจจะเป็น

พวกซิงค์อะโกรโดยตรง เดี่ยวๆเข้าไปช่วย พวกสังกะสี พวกนิกเกิล เอามาเติมในช่วงหน้าหนาว แต่ถ้าพื้นมีภูไมท์ ภูไมท์ซัลเฟตช่วยได้เยอะเรียกว่าแก้ปัญหาได้เยอะ
แต่อย่างไรก็ตามในเรื่องของธาตุอาหารและจุลธาตุเราต้องดูและสังเกต การทำเกษตรไปเยี่ยม 100 สวน 100 ฟาร์ม ก็ได้ 100 สูตร มันไม่มีใครเหมือนกัน
ต้องหาลายเซ็นของตนเองให้ได้ ถ้าหาลายเซ็นของตัวเองไม่ได้ ทำเกษตรยังไม่สำเร็จยังยากจนอยู่แน่นอน เพราะฉะนั้นเพื่อนๆต้องดูสังเกตว่าดินของเรานั้น
ไนโตรเจนมากไปไหม ดินเหนียวโพแทสเซียมสูงอยู่ไหม ยังอ่อนแออยู่ไหม ต้องเติมต้องปรุง ให้ทางดินและทางใบมีมีก็ต้องดูพวกจุลธาตุ
ทีจีเออะมิโนจะมีอาหารที่สำเร็จรูปโดยตรง ช่วยในเรื่องของการต้านหนาวแต่หัวใจหลักอีกอย่างหนึ่งคือทำให้โคนต้นชะอมชุ่มแต่ไม่แฉะอยู่เสมอ
ตรงนี้เป็นเคล็ดลับเลยที่จะทำให้ชะอม แตกยอดอย่างสม่ำเสมอทำยังไงให้เขาชุ่มฉ่ำเพราะเราต้องการตัดยอดทุกวันไทยกรีนอะโกรของเรามีสารอุ้มน้ำโพลีเมอร์ สารอุ้มน้ำโพลิเมอร์กระป๋องละ 250 บาท
แต่ไปแช่ในถัง 200 ลิตร มันจะพองขยายตัวได้ 2-400 เท่า พองแล้วมันจะเป็นวุ้นใสๆเป็นเจล เราเอามาคลุกผสมกับปุ๋ยหมัก อาจจะ 1 ต่อ 10 หรือ 2 ต่อ 10เอาปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกมา 10 ส่วน หรือ 8 ส่วน

ก็ได้แล้วก็เอาโพลิเมอร์ 2ส่วนคลุกและคลุมต้น จะไม่มีปัญหาเรื่อรากแฉะ ขาดอากาศ ดินมันจะ Flow น้ำในรูปของวุ้นเป็นเจลลี่ชะอมได้รับความชื้นรับรองแตกใบอ่อนแล้วถ้ากระตุ้นพวก

ทีจีเออะมิโน สังกะสีซิงค์อะโกร ซิลโคเทรซ ถ้าได้เงินเยอะ ราคาดีก็ต้องบำรุงหน่อย ไม่ใช่เอาแต่ยอดเอาแต่กำไรแล้วไม่ลงทุนให้เขากินให้อิ่ม ให้เพียงพอ ก็ไม่มียอดส่วนจะฉีดเยอะ ฉีดน้อยไม่ว่ากัน
อยู่ที่ประสบการณ์ เราต้องสังเกตเองว่าถ้ามันแตกดีเราก็ไม่ต้องไปฉีดไปพ่นแต่ที่แน่ๆโพลิเมอร์ สารอุ้มน้ำซื้อไปโลเดียว กระป๋องละครึ่งกิโล 2 กระป๋อง 1 โล 500 บาท ถ้ามันพองขยายได้ 2-400
เท่า ก็ลองหารดู 100 เท่าก็เหลือโลละ 5 บาท 200 เท่าเหลือ 2.50 บาทต่อลิตร 2.50ต่อลิตรเอาไปผสมปุ๋ยคอก จะเป็น 1 ต่อ 10 หรือ 2 ต่อ 10 ก็ลองดูความชื้นทำให้เราไม่ต้องเสียเวลารดน้ำด้วยถ้าดินดำน้ำชุ่ม
แต่ช่วงหน้าแล้งทำให้ชะอมมียอดดีแน่นอน โดยที่ไม่ต้องรดน้ำบ่อยแล้วทำให้ชะอมไม่มีปัญหาในเรื่องของการช็อคจากการปิดปากใบที่อากาศมันร้อนจัดเพราะว่าน้ำที่อยู่โคนต้นอย่างสม่ำเสมอ เขาจะชิน

 สมูท หรือราบรื่นในการที่ไม่ช็อคแต่การรดน้ำรดเช้า แล้วมารดเย็นอีกทีบางทีมันช็อคแต่ถ้ามันเย็นอยู่ที่โคนต้นเหมือนเท่าเราจุ่มน้ำอยู่ตลอดทั้งวันแต่เป็นน้ำที่ไม่แฉะ มันคลุกปน ละมุน เนียน กับปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ก็มีน้ำกินอยู่ตลอดเวลา รากก็สร้างรากใหม่ได้ตลอดเวลา ยอดก็ชู๊ตได้ตลอดเวลาโดยรวมก็ร้อนแล้ง ตัวช่วยคือสารอุ้มน้ำโพลิเมอร์ จะพบหนาวจัด ร้อนจัด
จุลธาตุพวกสังกะสี พวกทีจีเออะมิโน พวกไคโตซานและก็มีภูมิในการสร้างส่วนพื้นฐานก็ใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์แต่ไม่ใช่เฝือใบงามใบจนหนอนแมลงมารบกวนก็ต้องมีพวกหินแร่

ภูเขาไฟเป็นตัวช่วยอันนี้ภาพรวมคร่าวๆให้เพื่อนๆไปปรับประยุกต์ใช้  

  มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปอลดสารพิษ www.thaigreenagro.com

×