0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

อัลคาไลน์ไฮโดรไลซิท ทำให้ฉีดยาไม่ได้ผลต้องแถม

วันนี้เราจะมาพูดคุยกันถึงเรื่องของ อัลคาไลน์ไฮโดรไลซิท คือเป็นปฏิกิริยาอย่างหนึ่งของการทำละลายหรือการผสมสารเคมีที่พี่น้องเกษตรกรใช้ในการฉีดพ่นไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืช หรือการผสมสารในเรื่องของการเอาไปกำจัดวัชพืช หรือบำรุงเร่งการเจริญเติบโตของพืช

                ทำไมต้องคุยกันถึงเรื่อง อัลคาไลน์ไฮโดรไลซิท ชื่อดูงงๆ เป็นทางการ คำๆนี้อาจจะได้ยินในช่วงหนึ่งประมาณ 30 ปีที่แล้ว ที่ท่านอ.ดีพร้อมไชยเกียรติเคยพูดถึงเรื่องนี้ว่าพฤติกรรมของชาวบ้านเวลาฉีดพ่นปุ๋ยยาฮอร์โมนต่างๆมีนิสัยชอบแถม แถมแบบดูแล้วเหมือนดื้อรั้นคือข้างขวด ข้างฉลาก คำแนะนำของเจ้าหน้าที่ บอกให้ใช้เท่านี้ ใช้ 2 ช้อนแกง แต่ชาวบ้านกลับใช้เป็น 4 ช้อนแกง 5 ช้อนแกง คือแถม เจ้าหน้าที่หรือนักวิชาการเขาก็มองว่าทำไมถึงไม่เชื่อกันว่าใช้แค่ 2 แล้วใช้ over dose เดี๋ยวมันจะทำให้ต้นทุนสูง แล้วก็อาจจะมีการไหม้ หรือ burn เพราะความเข้มข้น แต่ก็ไม่มีใครที่จะรู้จริง เข้าใจได้เท่ากับเกษตรกรเอง เพราะว่าตัวเกษตรกรนั้นเขาจะรู้และเข้าใจในงานของเขาเป็นอย่างดีเพราะเขารู้ว่าการที่ใช้ตามอัตราที่กำหนดโดยมันไม่ค่อยได้ผล คือฉีดพ่นไปแล้วตามอัตราข้างฉลาก มันฉีดไปแล้วเหมือนไม่ได้ฉีด เหมือนไม่มีอะไรเหมือนฉีดน้ำเปล่า เพราะฉะนั้นการเติมเพิ่มแถมเข้าไปจึงเป็นวิถีของเกษตรกรโดยที่ตัวเองก็ไม่รู้เรื่องของหลักการอะไรหรอก แต่เข้าใจว่าการเพิ่มแล้วถึงแม้ว่าจะดูแพงหน่อยแต่มันไม่ต้องมาฉีดซ้ำ เพราะว่ามันได้ผล จนมีนักวิชาการโอยเฉพาะท่านอ.ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ ได้เอาเรื่องของการแถม เรื่องของอัลคาไลน์ไฮโดรไลซิท ไฮโดรคือน้ำ การทำละลายของน้ำ คือถ้าตัวสารละลายด่าง กรดอ่อนๆ หรือกรดบางๆ ไม่ใช่กรดเข้มข้น กรดแก่ หรือด่างแก่จัด โดยเฉพาะน้ำที่มีความกระด้าง เหมือนน้ำบาดาล น้ำท้องร่อง ที่เกษตรกรมีการเติมปูน เติมความเป็นด่างลงไปในท้องร่อง บางคนก็ไม่ได้ตั้งใจเติม หว่านปูนโดโลไมท์ ปูนขาว ฟอสเฟตหว่านไปบนสันร่อง พอฝนตกลงมาชะล้างเอาปูนลงไปในท้องร่องเวลาน้ำมันช่วงหน้าแล้ง หน้าร้อน น้ำมันนวดระเหยเร็ว น้ำมันก็น้อยลง ความเข้มข้นที่มันอยู่ในน้ำของปูนหรือด่างมันมากขึ้น เวลาเกษตรกรไปจ้วงน้ำในท้องร่อง ตักเอามาผสมกับปุ๋ยยาที่ ถ้าอ่านข้างฉลากจะลงท้ายส่วนใหญ่ก็จะมีความเป็นกรด เป็นกรดก็คือมักจะลงท้ายด้วยแอซิด เพราะฉะนั้นตัวยาที่แพงๆ ปุ๋ยยาฮอร์โมนแพงๆ เวลาตักไป 1-2 ช้อนแกง มาเจอกับน้ำด่าง เขาทำลายด้วยกัน เรียกว่า  ของอัลคาไลน์ไฮโดรไลซิท ทำให้มีผลลัพธ์ได้เท่ากับเกลือ และ น้ำเปล่า ตามหลักวิทยาศาสตร์เบื้องต้น คือได้เป็นเบสหรือเป็นกรดนั่นเอง จากตัวยามีสารตัวนู้นตัวนี้ มีปุ๋ยยาฮอร์โมนมีอะไรที่เน้นในเรื่องของประสิทธิภาพ ประสิทธิผล แต่พอมีความเป็นกรดกับด่างมาเจอกันได้เท่ากับน้ำเปล่ากับเกลือ จึงเป็นสาเหตุว่าเอาไปฉีดแล้วหนอนมันไม่ตาย หญ้าก็ไม่ตาย เพลี้ย โรคต่างๆ ก็รักษาไม่หาย ก็มันฉีดน้ำเปล่า ทีนี้จะทำยังไง ชาวบ้านก็เออมันไม่ได้ผล ก็ลองเติมเข้าไป ตัวยาที่มันเป็นกรดเติมลงไปในน้ำ 20 ลิตร หรือเป้หนึ่งมันก็ทำให้น้ำนั้นเริ่มเป็นกรดอ่อนๆ เริ่มเป็นพวกเดียวกันตอนแรกมันอาจจะ 7.5 เป็นด่างนิดๆ ใส่เข้าไป 2 ช้อนแกงแรก ตามฉลาก ตามฝอย ตามข้างขวดที่แนะนำใส่ไปปุ๊บมันเลยไม่ได้ผลเขาจึงต้องแถม ครั้งแรกลงมา สมมุติค่า pH น้ำมัน 7 คือกลาง ไปเจอน้ำบาดาลที่ขุดลงไปในน้ำในบ่อสาว บ่อโศก น้ำที่มีท้องร่อง มีปูน มันมีความกระด้าง มีความด่าง ใส่ 2 ช้อนแกงแรกลงไปตามโดสหรือ 2 ช้อนโต๊ะ มันก็จะ 7.5 7 ก็คือกลาง มากกว่า 7 เป็นด่าง pH มันก็ลงมา 7 หรือ 6.5 พอเติม 2 ช้อนแกงหลัง มันเป็น กรด+กรด เจอเป็นพวกเดียวกัน เขาก็เป็นเนื้อเดียวกัน เป็นผลึก เขาก็มีประสิทธิภาพ มีประสิทธิผลชัดเจน ทำให้ใช้ในการเกษตรแล้วได้ผล จึงเป็นที่มาของการแถม แต่ทีนี้ก็ไม่มีใครไปบอกว่า คุณลุง คุณป้า คุณน้า คุณตา คุณยาย มันไม่จำเป็นที่จะเอายาขวดละ 500 หรือเป็น 1,000 หรือหลายร้อยบาท เอาของแพงๆมาปรับสภาพน้ำเป็นกรดมันไม่จำเป็นเลย ใช้มะเฟือง ใช้มะนาว ใช้มะขามเปียก ใช้น้ำส้มสายชู ซึ่งมันมีราคาที่ต่ำกว่า ถูกกว่า ปุ๋ยยาฮอร์โมนที่ซื้อมาแพงๆตรงนี้คือสิ่งสำคัญเมื่อไม่มีเจ้าหน้าที่ นักวิชาการหรืออาจจะมีแล้วก็ ไม่ทั่วถึง จึงเป็นที่มาว่าชาวไร่ชาวนาพี่น้องเกษตรกรก็ต้องแถม เอาของแพงๆไปแถม แต่ถ้ามีคนบอกใช้มะขามเปียกก็ได้ ใช้มะเฟือง บีบมะนาว บีบน้ำส้มสายชู เพื่อเอาความเปรี้ยวไปกดความเป็นเบสหรือเป็นด่างให้ลงมาเป็นกรดอ่อนๆ สักประมาณ 5.5 ก็ได้ ถ้าน้ำลงมา 5.5 หรือ 6.0 ก็ได้ บางทีถ้าใช้มะนาวหน้าแล้งก็แพง หายากได้แต่ความเปรี้ยว หลายคนปัจจุบันนิยมตัวซิลิสิคแอซิด ซิลิสิคแอซิดเป็นกรดที่เปรี้ยวเหมือนกันกับตัวมะนาว เหมือนน้ำส้มสายชู เหมือนมะเฟืองต้องนึกถึงภาพในความเป็นจริงว่าถ้าปลูกกินกันเองในครัวเรือนมันใช้มะนาวบีบ แต่ถ้าทำนาเป็น 50 ไร่ 100 ไร่ มะนาวน่าจะหมดสวนน่าจะไม่พอ มีอีกหลายลูก น้ำส้มสายชูถัง 200 ลิตรก็หลายขวด แต่ถ้าเพื่อนๆใช้ซิลิสิคแอซิดมีความเปรี้ยวเป็นแอซิดเหมือนมะนาว ยังได้ซิลิกอน ซิลิก้าที่ทำให้เซลล์พืชแข็งแรงจน เพลี้ย หนอน แมลง รา และไร กัดไม่เข้า คือได้เปรี้ยวปรับสภาพน้ำให้เป็นเนื้อเดียวกับปุ๋ยยาฮอร์โมน หรือจะใช้มะนาวก็ไม่ว่าถ้าท่านมีมะนาวเยอะ มีอะไรเยอะ แต่ถ้าใช้กรดซิลิสิคแอซิด กรดเปรี้ยว จะได้ซิลิก้าไปสะสมที่ยอดอ่อน ใบอ่อน ทำให้ยอดอ่อนแข็ง และที่สำคัญปี๊บประมาณ 1 บาท ถ้า 200 ลิตร ก็น่าจะประมาณ 10 บาท ถ้าน้ำไม่เป็นด่างเยอะก็อาจจะเหลือ 5 บาท คือใช้แค่ 25 กรัม ไม่ต้องถึง 50 กรัม เหลือ 5 บาท ต่อ 200 ลิตร ได้เปรี้ยวเหมือนน้ำส้มสายชู เหมือนมะนาวแต่ได้ซิลิกอนจากหินแร่ภูเขาไฟ ทำให้เซลล์มันแข็งเหมือนที่เคยเล่าให้เพื่อนๆได้ฟัง ซิลิสิคแอซิดมันสกัดมาจากภูไมท์ พูมิช สเม็คไทต์ ม้อนท์โมริลโลไนส์ ไคลน็อพติโลไลท์ ฉีดตรงไหนก็แข็งตรงนั้น ข้อเสียมันอย่างเดียวคือฉีดโดนยอดแล้วมันไม่เคลื่อนที่ตามเพราะฉะนั้นทุกๆ 7 วัน ยอดอ่อนมันชู๊ดไปเรื่อยๆ ยอดอ่อนหนอนก็ชอบอะไรก็ชอบมันก็เลยต้องฉีดทุก 7 วันแต่ถ้าใส่ซิลิก้าหรือภูไมท์ ตัวนี้มันลำเลียงตามท่อน้ำ ท่ออาหาร ตามขึ้นไปได้ แต่ตามได้มันก็ช้าอีกบางทีสะสมไม่ทันมันจึง คนที่ทำเป็นอาชีพเขาเรียกว่าต้องใช้ 2 แรงแข็งขัน ร่วมด้วยช่วยกัน แต่ถ้าเพื่อนๆโชคดีใช้อย่างใดอย่างหนึ่งมันจบก็ได้ ซึ่งในวงการเกษตรหายากเหมือนกันในการที่จะใช้อะไรอย่างหนึ่งแล้วจบ นอกจากได้ความแข็งแรง ได้ความเปรี้ยวแล้ว มันยังทำให้การใช้ปุ๋ยยาฮอร์โมนของเพื่อนๆมีประสิทธิภาพ จากต้นทุนที่เหลือละ 50 สตางค์ ปี๊บละ 1 บาท หรือ ถัง 200 ลิตร เหลือ 10 บาท เหลือ 5 บาท มันทำให้ฉีดหญ้าหญ้าก็ตาย ฉีดหนอน เพลี้ย แมลง รา ไร สำหรับคอเคมี แต่ถ้าเป็นคออินทรีย์ชีวภาพหรือปลอดสารพิษจะได้เรื่องปุ๋ยยาฮอร์โมนบำรุง นี่คือเอามาสู้กับเรื่องของอัลคาไลน์ไฮโดรไลซิท หรือการทำลายฤทธิ์กันของกรดและด่าง ที่เอากรดกับด่างมาเจอกันมันได้เท่ากับเกลือและน้ำเปล่า แน่นอนว่าเพื่อนๆคงไม่ต้องการซื้อปุ๋ย ซื้อยา ฮอร์โมนแพงๆมาแล้วก็ฉีดให้มันเป็นเหมือนน้ำเปล่าก็ต้องสักนิดหนึ่ง ต้องตรวจวัด pH ของดิน ไปซื้อชุด Test kit ชุดวัดดิน ชุดวัดน้ำ ตรวจได้เป็น 100 ครั้ง น้ำยาหยดดีอย่างหนึ่ง มันดีกว่าดิจิตอลที่เป็นตัวเลข พวกนี้เวลามีเข็มมาจิ้ม 20 30ครั้ง ครั้งที่ 51 หรือครั้งที่ 101 ไม่รู้ว่าตัวเซนเซอร์มันสึกมันเสื่อมไหม ค่ามันไม่ตรง ต้องคอยแคนนิเบตตั้งค่ามันแต่ถ้าใช้น้ำยาหยดเหมาะกับเกษตรกรมากๆ เหมาะยังไง เราไม่ต้องการทศนิยมที่มันละเอียดลออขนาดนั้นเกษตรกร แต่ที่แน่ๆมันได้ความเสถียรคือน้ำยาหยดลงไปในดิน ในน้ำ แล้วเทียบสี ก็จะทำให้รู้ว่าน้ำเป็นด่าง ถ้าน้ำเป็นด่างต้องเติมกรดเปรี้ยว ถ้าปลูกกินกันเองในครัวเรือนก็บีบมะขามเปียกเข้าไปก่อน มะนาว มะเฟือง มะปลิง เติมไปก่อน พืชนี่ลำไส้เขา ลำไส้ ท่อน้ำ ท่ออาหาร โฟนเอ็ม ไซเร็ม เขาอยู่ในรูปกรด เพราะฉะนั้นเวลาจะป้อนอะไรให้เขากินถ้าไม่ปรับให้เป็นกรดเสียก่อน เขากินได้ไม่เต็มที่ คำว่ากินได้ไม่เต็มที่เหมือนเราไปเยี่ยมคนสูงอายุ ปู่ ย่า ไปถึงก็ชูแอปเปิล ฝรั่งให้กินเลย หลานซื้อมาให้ คุณตาคุณยายยิ้มมามีแต่เหงือกแดง กินไม่เข้า ต้องเอาไปปั่นเป็นน้ำผลไม้ ท่านถึงจะกินได้ เช่นเดียวกัน พืชผักผลไม้ ต้องปรับ pH ให้ได้เป็นกรดเสียก่อน

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

 

Line Official: https://lin.ee/3M1NXzf
ช่อง Youtube: https://bit.ly/3o1LAhK
เพจ Facebook: Thai Green Agro
Call Center: 084-5554205-9
ฝ่ายวิชาการ : 02-9861680-2
ไอดีไลน์: tga001-tga004
เว็บไซต์: www.thaigreenagro.com
×