0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

รากปม (Root-Knot Disease) กับวิธีกำจัดไส้เดือนฝอยแบบชีววิธี

วันนี้จะมาคุยกันถึงเรื่องของไส้เดือนฝอย ไส้เดือนฝอยตัวนี้ไม่ใช่ไส้เดือนฝอยที่เอาไปใช้ในการเลี้ยงปลาสวยงาม ปลากัด แล้วก็ไม่ใช่ไส้เดือนฝอยที่นำไปใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ทางกรมวิชาการเกษตรเขาทำกัน อันนี้เป็นตัวไส้เดือนฝอยที่ทำลายระบบของรากพืช ถือว่าเป็นศัตรูพืชชนิดหนึ่งที่คอยบ่อนทำลายและสร้างความเสียหายให้กับพ่อแม่พี่น้องเกษตรกร จากสถานการณ์ที่เราประสบปัญหาเรื่องของปุ๋ยแพง น้ำมันแพง ค่าอาหารการกิน สิ่งของเครื่องใช้ในการที่ใช้อุปโภค บริโภค มีราคาแพง ทีนี้ก็จึงอยากจะมาพูดคุยถึงเรื่องของการที่เราจะมีวิธีการอย่างไร ในการดูแลป้องกันเกี่ยวกับเรื่องของไส้เดือนฝอย ไส้เดือนฝอยสามารถทำลายพืชเศรษฐกิจได้หลากหลายชนิด เดี๋ยวเราจะมาคุยกัน

                วันนี้จะมาคุยถึงตัวของไส้เดือนฝอยที่ก่อให้เกิดรากปม ที่เรียก Root Knot Disease ไส้เดือนฝอยนี่ก็สามารถที่จะทำลายไม่ว่าจะเป็นพริก ถั่วลิสง ถั่วเหลือง มันแกว มันสำปะหลัง พืชไร่ไม้ผล พืชหัว พืชกินผักกินเม็ด อะไรต่างๆ มากกว่า 2,000 ชนิด ซึ่งเชื่อแน่นอนว่าต้องกระทบกับภาคการเกษตรอย่างแน่นอนไม่ท่านใดก็ท่านหนึ่ง รู้กันไปพอสมควรแล้ว ว่าไส้เดือนฝอย ไม่ใช่ไส้เดือนตัวเล็กๆ แดงๆที่เอาไว้เลี้ยงปลาสวยงาม และก็ไม่ใช่ไส้เดือนฝอยที่เอามาปราบหนอน หรือศัตรูพืชอื่นๆได้ อันนี้เป็นกลุ่มของพวกนีมาโทส เป็นสายพันธุ์เมโล เมโลอินโดจีน SSP หรือ sub species ตัวนี้ก็คือเป็นตัวที่ทำลายพืชในระยะ 1 ระยะ 2 เราอาจจะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ช่วงนี้เขาจะมีปากแหลมๆที่เรียกว่าทรายเหล็ก พยายามที่จะเจาะแล้วก็ปล่อยน้ำย่อยไปตรงบริเวณของรากพืช ทำให้รากพืชอ่อนนิ่ม พอรากพืชอ่อนนุ่มนิ่ม นี่คือการจู่โจมและทำลาย เขาจะมุบเข้าไปฝังตัวอยู่ในระบบราก แล้วก็ไปกระตุ้นเซลล์ของรากพืชต่างๆ ให้เกิดการบิดเบี้ยว อุดตัน โปร่ง บวม นูน เกิดเป็นรากปม รากปมนี่ไม่ได้เหมือนรากปมของไรโซเบียมในพืชตระกูลถั่ว ปอเทือง กระถิน อะไรต่างๆ เป็นรากปมที่ไปขัดขวาง ท่อน้ำ ท่ออาหาร ของพืช เวลารากพืชจะดูดกินก็จะมาติดขัดอยู่ตรงเจ้าไส้เดือนฝอยตัวนี้ ทำให้มีอาการต้นเตี้ยและแกนก็เจริญเติบโตไม่ดีและก็บางครั้งก็เหมือนจะเหี่ยวเฉา เหี่ยวเฉาจะเป็นกล้วยเหมือนพวกโรคตายพราย เป็นพวกมะเขือเทศก็จะเป็นคล้ายๆกับพวกโรคเหี่ยวเขียวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย คือแบคทีเรียเขาทำลายอย่างรวดเร็วและก็เป็นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในท่อน้ำ ท่ออาหาร ทำให้เรามองไม่เห็นเหมือนกับเชื้อราที่ก่อให้เกิดลำต้นเน่า โคนเน่า เหมือนพวกไฟทอปธอร่า ใบจุด ใบด่าง ใบดำ เพราะฉะนั้นจึงพอไปเห็นพืชอีกทีนึงก็ตายและเหี่ยวเขียว แต่รากปมหรือกลุ่มไส้เดือนฝอยหรือกลุ่มนีมาโทส ที่ชื่อเมโลอินโดจีน ก็จะไม่ถึงกับตายทันทีทันใดแต่ผลผลิต การเจริญเติบโต การติดดอกออกผลคงจะให้ประสิทธิภาพที่ไม่ดี ในช่วงระยะที่ไส้เดือนฝอยลอกคราบ ถ้าลอกคราบไปแล้ว 3 วัน 3 ครั้ง เขาก็จะเข้าสู่เรียกว่า ช่วงเจริญเติบโตเต็มวัย เขาสามารถที่จะออกไข่ได้เป็น 100-250 ฟอง โดยที่ไม่ต้องมีการผสมน้ำเชื้อกับเพศผู้ เพราะฉะนั้นการกระจายขยายพันธุ์ก็ค่อนข้างเยอะพอสมควร แล้วก็ไปพักอาศัยอยู่กับพืช เยอะแยะมากมาย มี 2 ชนิดที่เขาไม่สามารถหรือไม่ชอบอยู่ก็คือพวกตระกูลดาวเรืองกับปอเทือง บางคนเขาก็ใช้วิธีการหยุดพัก แล้วก็ไปปลูกปอเทืองหรือดาวเรืองแทนในกรณีที่มีการระบาดของเจ้าไส้เดือนฝอยเยอะเกินไป เรามาดูวิธีการป้องกัน การป้องกันของไส้เดือนฝอยค่อนข้างยากลำบากมาในห้วงช่วงหลาย 10 ปีมานี้ แต่ปัจจุบันก็มีเห็ดชนิดหนึ่งชื่อเห็ด สิรินรัศมี เป็นเห็ดเรืองแสง เห็ดชนิดนี้ปรากฏว่ามีพิษ มีสปอร์หรือท็อกซินที่ทำลายพวกไส้เดือนฝอย สิรินรัศมี ทางกรมวิชาการเกษตรได้มีการเอามาทดลองและวิจัย ลักษณะการขยายพันธุ์เลี้ยงเหมือนเห็ด ถ้าเราได้ดอกของเห็ดเรืองแสงชนิดนี้มา เอาสปอร์หรือเอาเนื้อเยื่อ ถ้าเราได้ดอกเอาดอกมาฉีกกีดดอก แล้วก็เอาใบมีดตัดหรือใช้เข็มเขี่ย สะกิดเนื้อเบื่อ ไปเลี้ยงบนอาหารวุ้น pda เลี้ยงจนเชื้อเดินเต็มแล้วก็เอาวุ้นไปถ่ายบนข้าวฟ่างหรือข้าวโพดเลี้ยงต่ออันนี้จะไม่ลงรายละเอียดแต่ให้พอเห็นภาพ ว่ามันมีวิธีเลี้ยงคล้ายๆกับการเพาะเห็ดนางรม นางฟ้า แล้วก็เอาไปใช้ในเลี้ยงต่อบนขี้เลื่อยที่นึ่งเรียบร้อยแล้ว ไปดูคลิปวิธีการผลิตก้อนเชื้อเห็ดอย่างง่ายแบบไทยกรีนอะโกรที่ยูทูปไทยกรีนอะโกรชาแนลได้ สำหรับคนที่ต้องการขยายและเลี้ยงเห็ดเรืองแสง สิรินรัศมีนี่ก็เท่าที่ทราบก็คือเป็นพระนางของพระกนิษฐา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ท่านประทานชื่อนี้มาจากขั้นตอนเมล็ดข้าวฟ่างไปสู่ก้อนเชื้อตรงนี้ก็เลี้ยงไปประมาณ 45 วัน เราเอามาป่นบดขยี้ และโรย 1 ไร่ใช้ประมาณ 160 กิโลกรัม หรือ 1 กิโลกรัมต่อ 10 ตารางเมตร ก็จะช่วยลดในเรื่องของการป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอย เชื้อตัวนี้สามารถเก็บไว้อุณหภูมิปกติได้ถึง 12 เดือน แต่เชื้อที่เกิน 45 วันไปแล้ว เราอาจจะต้องมากระตุ้นเชื้อ บางทีมันเก่า สปอร์มันแก่เกิน บางทีต้องเอามาขยี้ ขยำๆแล้วก็พรมด้วยน้ำกลั่น และก็มันถุงพอให้อากาศออกซิเจนเข้าได้ และก็เลี้ยงเชื้อไปประมาณสัก 3-7 วันให้มีสีขาวๆของเส้นใยเห็ดขึ้นมาและก็ไปใช้ต่อได้ อีกช่องทางหนึ่งคือการใช้จุลินทรีย์ จุลินทรีย์พาซิโลมัยซิส เป็นเชื้อรา ชื่อการค้าในท้องตลาด ชื่อนีมาเคียว ตัวนี้ท่านผู้ชม หรือเพื่อนๆสามารถที่จะใช้เชื้อพาซิโลมัยซิส เป็นจุลินทรีย์ที่นักวิชาการเขาวิเคราห์ วิจัยว่า สามารถปราบพวก ตัวอ่อนไส้เดือนฝอย และก็ไส้เดือนฝอยโดยตรงในระยะที่ทำลายพืช นอกจากนี้เขายังทำลายพวกไข่เพลี้ย เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง หรือไรดีด ไรกระโดด ไรไข่ปลา ไข่แมลงหวี่ พวกเพาะเห็ดทั้งหลายก็ใช้ได้ สามารถใช้ตัวพาซิโลมัยซิส พาซิโรมัยซิสคือชื่อสามัญของเขา เหหมือนพวกไตรโคเดอร์มา เหมือนพวกบิวเวอร์เรีย หรือบาซิลลัส ทูริงเยนซิน หรือเมธาไรเซียม มันเป็นชื่อทับศัพท์ พาซิโลมัยซิสก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เพื่อนๆสามารถที่จะนำไปใช้ในการโรยไปที่ หรือ รองก้นหลุม อาจจะใช้ 1 ช้อนชา ต่อ 1 หลุมปลูก หรือพืชตระกูลพริกไทยจะใช้ 1 ช้อนแกงโรยรอบทรงพุ่มถ้าใช้การเตรียมหลุมร่วมกับพวกภูไมท์ ภูไมท์ซัลเฟต พวกหินแร่ภูเขาไฟด้วยก็จะดีเพราะว่าเห็นภูเขาไฟเขามีหินพวกเฟลสปา พวกควอส หินเขี้ยวแก้วหนุมาน เวลาไส้เดือนฝอยมันเคลื่อนย้าย เคลื่อนที่ผ่านพวกเศษหินเขี้ยวแก้วหนุมาน เหมือนผ่านเศษกระจก มันจะลดพวกเสี้ยนดิน พวกไส้เดือน และก็มีพวกพาซิโลมัยซิสตัวนี้เป็นตัวฆ่า เป็นตัวทำลายส่วนภูไมท์หรือหินแก้วภูเขาไฟพวกนี้จะเป็นตัวทำให้เขาอยู่อย่างมีทุกข์หรืออยู่อย่างลำบาก บางคนอาจจะใช้ในอัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร และก็ราดรดหรือฉีดพ่นกับพริก ข้าวโพด อ้อย ปาล์ม ยาง ถั่วลิสง และพืชใดๆก็ตามที่มีปัญหาพวกไส้เดือนฝอย แม้กระทั่งพวกขิง ข่า ฝ้าย ยาสูบ หรือผักเมืองหนาวอะไรก็ตาม สามารถใช้เจ้าพาซิโลมัยซิสตัวนี้ หรือบางคนอาจจะไปคลุก 1 กิโลกรัม คลุกกับรำ รำละเอียดก็ได้ 1 กิโลกรัม คลุกกับรำ 10 กิโลกรัม พรมน้ำพอชื้อและก็อันนี้เป็นหมักแบบชาวบ้านอาจจะมีการปนเปื้อน แต่เชื้อส่วนใหญ่ก็ยังอยู่ มันช่วยลดต้นทุนแล้วก็เอาไปโรย หรือบางคนเพราะเห็ด เพาะเห็ดนางรม นางฟ้า เป๋าฮื้อ ภูฐาน เห็ดแครง เห็ดอะไรก็ตามที่มีก้อนเชื้อหมักบ่มไปแล้ว 3 เดือน 5 เดือน ก้อนเชื้อเก่าเอามาตีป่นก็มาขยายกับเจ้าพาซิโลมัยซิสได้ ตีให้ป่นมากเท่าไรยิ่งดี เราเอาจจะเอาพาซิโลมัยซิส 1 กิโลกรัม จะคลักกับรำละเอียด 5 กิโลกรัม หรือ 10 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับต้นทุนหรือจะเอาไปคลุกกับขี้เลื่อย ก้อนเห็ดเก่า 50 กิโลกรัมเลยก็ได้ หรือจะบวกกับรำก่อนก็ได้ สูตรที่ 1 เอาพาซิโลมัยซิส 1 กิโลกรัม คลุกกับรำละเอียด 10 กิโลกรัม ให้เข้ากันเพื่อให้สปอร์มันอยู่กับรำหรือตรงนี้มันคือไทอะมีน ไทอะมีนคือวิตามินบี 1 จะเป็น 11 กิโลกรัมก็ให้เชื้อมันทั่วถึงและก็ไปคลุกของก้อนเห็ดเก่าที่ตีป่นอีก 50 กิโลกรัม หรือ 40 กิโลกรัม เพื่อให้มันได้ 1 ต่อ 50 หรือจะ 1 ต่อ 60 ก็ได้ มีความแตกต่างกันเล็กน้อย ยิ่งเข้มข้นมากเชื้อก็ยิ่งเจริญเติบโตมากแล้วหมักทิ้งไว้ 7-15 วัน อาจจะไว้ใต้โคนต้นไม้หรือใช้สแลนคุมก็ได้ แล้วก็เอามารด รองก้นหลุมก็จะลดต้นทุนได้เยอะพอสมควร      

 

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

Line Official: https://lin.ee/3M1NXzf
ช่อง Youtube: https://bit.ly/3o1LAhK
เพจ Facebook: Thai Green Agro
Call Center: 084-5554205-9
ฝ่ายวิชาการ : 02-9861680-2
ไอดีไลน์: tga001-tga004
เว็บไซต์: www.thaigreenagro.com

×