0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

ป้องกันโรคและศัตรูทุเรียนด้วยจุลินทรีย์ชีวภาพมาตรฐานระดับโลก

วันนี้เราจะมาพูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องของจุลินทรีย์ เป็นจุลินทรีย์สายพันธุ์ไทยผลิตโดยคนไทยและได้รับการจดทะเบียนจากกรมวิชาการเกษตร และมีมาตรฐานในระดับยุโรป สหรัฐอเมริกา ที่เรียกมาตรฐานนี้ว่า ไอฟ่ง ความจริงแล้วมีอีกหลายหน่วยงาน หลายองค์กรที่สร้างมาตรฐาน แต่ก็รู้แบบคร่าวๆ แบบกว้างๆว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เอาไปกันรันตีในระดับเมืองนอกได้ และได้รับเลขทะเบียนจากกรมวิชาการเกษตร หลายคนคงรู้จัก 5 เสือ จุลินทรีย์ชีวภาพนี้เป็นอย่างดี เพราะว่าทางไทยกรีนอะโกร มีการเอามาเผยแพร่ เอามาประชาสัมพันธ์ น่าจะประมาณ 3-4 ปีได้แล้ว ก็เกิดการยอมรับเป็นการพัฒนาต่อยอดจากของตัวเดิมที่ชื่อ ไตรโคเดอร์ม่า บีเอส บีที อะไรต่างๆเหล่านั้น ก็พัฒนาจนมีมาตรฐานที่สูงและดียิ่งขึ้น

            การที่เราจะป้องกันกำจัดรักษาโรคและศัตรูทุเรียน ด้วยจุลินทรีย์ชีวภาพที่เป็นมาตรฐานระดับโลก ดังที่ได้เรียนกันไปแล้ว สาเหตุช่วงนี้ก็ต้องยอมรับว่าพืชที่มาแรงมากๆในขณะนี้ เป็นราชาแห่งผลไม้ ก็ต้องยกให้ทุเรียน เพราะว่าทุเรียนนั้นราคาดี เป็นที่นิยมทั้งคนไทยและก็ต่างประเทศ ดังนั้นการที่เอาเรื่องทุเรียนเข้ามพูดคุยกันก็จะเป็นการทำให้เพื่อนๆที่สนอกสนใจใคร่รู้ในเรื่องของทุเรียนก็จะได้มีโอกาสในการที่จะนำเอาไปใช้ประโยชน์ ลูกของทุเรียนถ้าเราจะพูดกันจริงๆมีเยอะแยะมากมาย แต่โดยรวมแล้วก็ไม่พ้นสาเหตุหลักๆก็เป็นพวกกลุ่มของพวกเชื้อรา แบคทีเรีย ที่จะมีหนักๆก็เป็นพวก ไมโตพลาสมา เป็นพวกไวรัส ซึ่งเป็นจุลินทรีย์หรือสิ่งมีชีวิต ของการเกิดโรคในระดับที่แก้ไขค่อนข้างยาก หรือจะเรียกง่ายๆแทบจะไม่มียารักษาก็ว่าได้ การที่เราจะดูแลรักษาสภาพต้นของทุเรียน แล้วไม่ให้มีสารตกค้าง อันนี้เป็นสาเหตุหลักๆที่อยากจะนำมาพูดคุยกับเพื่อนๆ ว่าการที่เราจะดูแล บำรุง รักษาทุเรียนให้มีคุณภาพแล้วมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ตั้งแต่เริ่มปลูกบางทีก็เจอพวกรากเน่าโคนเน่า ที่มีสาเหตุมาจากพวกเชื้อไฟทอปธอร่า เป็นส่วนใหญ่ เชื้อไฟทอปธอร่านี้ก็ทำให้ทั้งลำต้น โคนอะไรต่างๆนี้ก็เน่า แล้วถ้ามีความเข้มข้น หรือมีช่องทางในการระบาดอากาศในห้วงช่วงที่ติดดอกออกผลก็จะมีไฟทอปธอร่า อีกสายพันธุ์หนึ่งที่ทำให้ผลของทุเรียนนั้นก็เน่าได้เช่นเดียวกัน ก็คือพวก พามิโวร่า เป็นไฟทอปธอร่าเหมือนกัน สิ่งต่างๆเหล่านี้ที่เพื่อนๆจะประสบพบเจอหลายคนใช้พวกสารเคมีที่ปราบพวกเชื้อราต่างๆเยอะแยะมากมายหลายยี่ห้อ ซึ่งเชื้อราเหล่านี้บางทีก็ใช้สารเคมีเยอะมากมาย บางทีใช้ไป การใช้เคมีที่เข้มข้นและก็รุนแรง บางทีทำให้กลุ่มโรคพวกนี้ดื้อยาสารพิษเหล่านี้สะสมบ่มเพาะอยู่ในผลผลิตของทุเรียน หลายคนอาจจะบอกทุเรียนเปลือกมันหนาอาจจะไม่มีสารพิษ อันนี้ก็ไม่แน่เสมอไป เพราะว่ามีเชื้อยาฆ่าเชื้อราชนิดรุนแรงที่ใส่ทางรากแล้วให้ดูดซึมไปตามท่อน้ำท่ออาหารไปตาม กิ่ง ก้าน ใบ แล้วมันก็เข้าไปสู่ผลบางทีผู้บริโภคอย่างเรา รบประทานเข้าไปแล้ว มันทำให้ร่างกายเรามีการดื้อยาโดยไม่ทราบสาเหตุได้ เพราะฉะนั้นการที่เราจะหลีกเลี่ยงการใช้สารพิษที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ก็น่าศึกษา น่าค้นคว้า น่าทดลอง ยิ่งในยุคปัจจุบันข้อมูลข่าวสารเทคโนโลยีเราหยิบฉวยเอาเข้ามาศึกษาไม่ยาก แล้วในปัจจุบันถ้าย้อนไปในเมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว เพื่อนๆพี่ๆน้องๆทุกคนจะไปศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับจุลินทรีย์ที่ใช้ในการปราบปรามโรคศัตรูพืชต่างๆ บางทีก็ไม่มีเป็นตัวอย่างที่จับต้องได้ อยู่ในตำรา อยู่ในห้องทดลอง อยู่ตามมหาวิทยาลัย แต่ในปัจจุบันเราสามารถเอาจุลินทรีย์พวกไตรโคเดอร์ม่า บาซิลลัสทับซิลิส เมธาไรเซียม บิวเวอร์เรีย บาซิลลัสทูริงเยนซิส 5 เสือ จุลินทรีย์ชีวภาพ ที่หลายคนคุ้นเคยในชื่อของ อินดิวเซอร์ ไบโอแทค ไบโอเซนเซอร์ คัทอ๊อฟ ฟอร์แทรน เป็น 5 เสือ จุลินทรีย์ชีวภาพสายพันธุ์ไทย ได้การรับรองการจดทะเบียนจากกรมวิชาการเกษตร ได้รับใบเซอร์ออแกนิกไทยแลนด์ และมาตรฐานระดับไอฟ่ง คือท่านจะปลูกเห็ด ปลูกทุเรียน ลองกอง ลำไย พืชไรไม้ผล นาข้าว อ้อย ปาล์ม ยาง อะไรต่างๆก็สามารถเอาผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานในระดับสากลไปอธิบายกับเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร นักวิชาการชำนาญการด้านเกษตร หรือสมัยก่อนเรียกว่าเกษตรตำบลหรือเกษตรอำเภอ เพื่อให้เขารับรองฟาร์มว่าฟาร์มของเรามีความปลอดภัย ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานไม่ใช่เป็นจุลินทรีย์ที่เราหมักกับตัวนู้น ตัวนี้ แล้วก็ไม่รู้ว่าเลี้ยงแล้วมันได้ผลหรือไม่ได้ผลอันนี้เราพูดถึงการที่เป็นฟาร์มเกษตรปลอดสารพิษ เกษตรอินทรีย์ที่มีมาตรฐาน ก็สามารถที่จะเอาไปโชว์ เอาไปแสดง ไปสร้างความมั่นใจให้กับเจ้าหน้าที่รัฐในการอนุมัติ ในการจด GAP ในการจด Q ได้ง่ายกว่าจุลินทรีย์ที่โนเนมแล้วก็ไม่มีมาตรฐานกำกับข้างกระป๋องว่าเชื้อจำนวนเท่านี้ เท่านั้น ก็จะไม่มีเลย คือต้นทุนของจุลินทรีย์ที่ไม่ได้รับการจดทะเบียน ต้นทุนเขาจะต่ำ แต่จุลินทรีย์ที่ต้องให้กรมวิชาการเกษตรรับรอง ต้นทุนการผลิตต่อ 1 ชนิด เช่นเราจะผลิตไตรโคเดอร์ม่า เราต้องทำแปลงทดสอบ ทำ Photocal ลงทะเบียนหลายๆอย่าง เอาไปทดสอบความเป็นพิษ กับ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ไปทำแปลงทดสอบ ทำระบบทดสอบความเป็นพิษ LD fifty คือทดลองให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมากิน อย่างน้อยตาย 50 % จะต้องมีจำนวนตาย 50 % และดูว่าชนิดไหนที่ตายน้อยกว่าหรือมากกว่า 5 เสือ จุลินทรีย์ชีวภาพของเรา เราไปทดสอบเปรียบเทียบกับน้ำปลา บางตัวมีความปลอดภัยกว่าน้ำปลา 10 เท่า บางตัว 5 เท่า คือมันมีความปลอดภัยมากกว่าน้ำปลา เพราะฉะนั้นเพื่อนๆที่วิตกกังวลว่าการใช้สารชีวภัณฑ์ การใช้จุลินทรีย์ในการป้องกันกำจัดโรคและศัตรูพืชหรือทุเรียน มันจะมีผลข้างเคียงในระยะยาว อันนี้เรียกว่าหมดปัญหาและเบาใจได้เลย แต่การที่เราใช้สารเคมีกำจัดโรคพืช นำไปใช้ในเรื่อง สวน ไร่ นาต่างๆ ผมได้ยินข่าวคราวเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ไม่หยุดหย่อน คือ พออายุ 50-60 ปี ก็จะได้ยินข่าวเป็นมะเร็ง อันนี้เป็นเรื่องจริงไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เป็นเรื่องจริงว่าการใช้เคมีบางทีมันเป็นการตายผ่อนส่ง เราไม่รู้เคมีที่เราฉีดพ่นแล้วเราสูดดมแล้วมันซึมซับผ่านผิวหนัง ผ่านลมหายใจ ผ่านการซึมเข้าผ่านผิวเซลล์ ในช่วง 10-20 ปี เราไม่มีโอกาสรู้เลย แต่ในความที่เราอยู่ในวงการนี้มายาวนานเราก็จะได้ยินคนรู้จัก โดยเฉพาะแถวอ่างทอง แถวสุพรรณบุรี เพราะฉะนั้นโรคในทุเรียนที่เกิดจากไฟทอปธอร่า พวกรากเน่าโคนเน่า ผลเน่าหรือโรคใบติด อย่างพวกโรคเชื้อราไรซอปโทเนีย พวกที่มีความชื้นเยอะปลูกระยะชิดก็จะมีสาเหตุของโรคเชื้อรา โรคแอนแทรคโนสที่ในระยะดอกบานจะมีจุดดำๆ โรคราสีชมพู โรคราแป้งที่เกิดจากเชื้อราออเดียม อีกเยอะแยะมากมายที่เป็นเชื้อรา ที่เอามาพูดความจริงแล้วมันมีเยอะแยะโรคพืช เราอยากจะสื่อว่าการที่เราไม่จำเป็นที่จะต้องใช้สารเคมี ที่เป็นอันตรายรุนแรง เราก็สามารถที่จะบริหาร จัดการได้ หรือหลายท่าน หรือหลายคน หรือเพื่อนๆอาจจะบอกว่า การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูและโรคพืชมันก็มีการใช้อย่างถูกวิธี แน่ใจนะว่าใช้อย่างถูกวิธีแล้วมันจะ Safety ได้ 100 % สมมุติว่า Safety ตัวผู้ฉีด ผู้ฉีดอาจจะได้รับอันตรายน้อยในยุคปัจจุบันคลุมอย่างดี แล้วเจ้าของสวนเวลาเดินตรวจละป้องกันดีไหม ใส่แมสเดินชมสวนไหม แต่สารพิษยังคงตกค้าง สะสมอยู่ในสภาพภูมิอากาศ ลมก็ยังพัดเอากลิ่น เอาอะไร แล้วสารพิษยังตกค้างอยู่ในดิน ในน้ำไหม คนรับจ้างกลับไปเย็นนี้แล้วในดิน ในใบ ในกิ่ง ก้าน ลำต้น สารพิษยังอยู่ไหม มันอยู่อยู่กี่วัน เพื่อนๆจ้างมาฉีด 7 วันครั้งไหม หรือกี่เดือนครั้ง ในดิน ในน้ำ ในอากาศฉีดสะสมลงไปเรื่อยๆ มันอยู่ในผลไหม อยู่ในเมล็ดไหม เอาผลผลิต เอาเมล็ด เอาฝัก เอาอะไรไปให้ขายในตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง สารพิษก็ยังคงติดตามไปอยู่หรือไม่ ถ้าเรามีทางเลือก ตรวจดินให้เหมาะสม ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง โปร่ง ฟู ร่วนซุย ระบาย ถ่ายเทน้ำดี ดินดี ทำให้มันแข็งแรงจากกลุ่มซิลิก้า ซิลิคอน ใส่ปุ๋ยให้มันครบโภชนาการ หรือ ครบ 5 หมู่ ทั้งธาตุหลักไนโตรเจน ฟอสโฟรัส โพแทสเซียม ธาตุรองแคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน ธาตุเสริม เหล็ก ทองแดง แมงกานีส สังกะสี ใช้สมุนไพรเปลี่ยนแปลงรูป รส กลิ่น ให้มันฝาด เฝื่อน ขม แล้วขั้นตอนสุดท้าย ผมคิดว่าเพื่อนๆไม่ต้องไปใช้สารพิษได้ สามารถใช้อินดิวเซอร์ คือไตรโคเดอร์ม่า หรือไบโอเซนเซอร์ มังสามารถที่จะดำรงคงอยู่ที่โคนต้น กิ่ง ก้าน ใบ ได้อย่างยาวนานถ้าสภาพ ภูมิอากาศเขาเหมาะสม คำว่าเหมาะสม ไม่ได้พูดเข้าข้างจุลินทรีย์นิสัยดีเหล่านี้อย่างเดียว ถ้ามันมีความชื้นในสัมพัทธ์ มีความแฉะโรคพืชก็ชอบ ถ้าโรคพืชชอบเจ้าอินดิวเซอร์ ไบโอเซนเซอร์ ซึ่งเป็นบาซิลลัสทับซิลิสปราบโรคพืชทั้งหลาย มันก็สามารถที่จะเจริญเติบโตและอยู่ได้เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นการที่เราฉีดเจ้าสิ่งมีชีวิตเป็นเซลล์ เป็นสปอร์ จุลินทรีย์อินดิวเซอร์กับไบโอเซนเซอร์ ซึ่งเป็นตระกูลไตรโคเดอร์ม่า กับ บาซิลลัสทับซิลิส ในการทดแทนยาฆ่าเชื้อราเคมี เพราะว่าปีๆหนึ่งมีการนำเข้าสารพิษเหล่านี้มาหลายหมื่นตัน มูลค่าปีหนึ่งเกือบแสนล้านบาท เป็นหมื่นๆตัน คูณ 10 ปี 20 ปี มันกี่แสนตัน ลำไยผลิตออกมาเป็น 100 ตัน 1000 ตันขายหมดเกือบจะเต็มสนามหลวง และเคมีเป็นหลายแสนตัน ไปสะสมอยู่บนภูเขาต้นน้ำ พบพระ จ.ตาก เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน เขาก็ไปให้ชาวเขา ชาวดอย กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ไปใช้ปลูกกะหล่ำปี ปลูกอะไรต่างๆ เป็นผักเมืองนา สารพิษทั้งนั้นเลย สารพิษต่างๆเหล่านี้ไปอยู่บนดิบแล้วจบไหม ไม่ได้จบ ถูกฝนตก ชะล้าง ไหลลงสู่ห้วย หนอง คลอง บึง ลงมาสู่เขื่อน เขื่อนปล่อยต่อมาตามคลองชลประทาน ด้านล่างในจังหวัดภาคกลาง ภาคใต้ ก็ส่งต่อมาเป็นทอดๆ เพราะฉะนั้นสารพิษนอกจากจะมีโทษต่อตนเอง ภัยใกล้ตัว ก็ยังส่งผลลบต่อระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม และกระทบวงกว้างไปสู่ผู้ที่กินผลผลิตก็คือผู้บริโภค การใช้จุลินทรีย์ที่มีมาตรฐานตัวหนึ่งกว่าจะผลิตออกมาให้ได้มาตรฐานตามที่เจ้าหน้าที่รัฐกำหนดเรียกว่าเลือดตาแทบกระเด็น ต้นทุนต่อตัวผลิตเป็นล้านบาท แทนที่เราจะขายโลละ 100-200 แต่กระบวนการผลิตทำให้ต้นทุนสูงขึ้นไปมาก แล้วเขาก็กำหนดระยะเวลาในการหมดอายุเร็วอีก เรียกว่าถ้าไม่รักในแนวนี้จริงไม่อยากทำเลย คือทำไปก็ไม่คุ้ม ไม่ใช่ว่าไม่คุ้มทุน คุ้มแต่มันคุ้มแบบนิดเดียว แตกต่างจากการนำเข้าสารพิษ ซื้อมา ขายไป บวกกำไรได้มหาศาล แต่ทำแนวจุลินทรีย์ชีวภาพ เดี๋ยวหมดอายุก็ง่าย พอจะผลิตเสร็จ กว่าจะส่งไปจำหน่าย วางบนที่ขายแป๊บเดียว ตัวแทนจำหน่าย ร้านค้าก็วิตกกังวล กลัวจะขายไม่ทัน จะหมด ก็ทำธุรกิจทุกอย่างมันยุ่งยากซับซ้อนเหมือนโดนวางหมากกลเอาไว้จากบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกมาสร้างกฎเจ้าหน้าที่รัฐของไทยปฏิบัติ แล้วก็กดขี่ผู้จัดการไทยที่จะทำ เพราะฉะนั้นอยากเชิญชวนให้เพื่อนๆที่เข้าอกเข้าใจลองมาอุดหนุน มาใช้ปัจจัยการผลิตที่ปลอดภัยไร้สารพิษ ไม่เป็นอันตรายต่อตัวผู้ใช้และที่สำคัญก็ยังปลอดภัยต่อผู้บริโภคด้วย               

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปอลดสารพิษ www.thaigreenagro.com

×