0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์

วันนี้เราจะมาพูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องของปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งปุ๋ยอินทรีย์นั้น เราจะมาดูว่ามีประโยชน์อย่างไรบ้างในปัจจุบัน เนื่องด้วยว่าการนิยมชมชอบในเรื่องของการหันมาใช้ปุ๋ยที่เป็นเรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อม ปุ๋ยที่ไม่ได้มาจากการสังเคราะห์เป็นปุ๋ยที่หาได้ง่ายๆใกล้ตัวโดยเฉพาะพ่อ แม่ พี่ น้อง เกษตรกรที่ทำการเกษตรแบบในครัวเรือนกินกันเองในครัวเรือนหรือแบบพอเพียง ก็จะมีการหมักปุ๋ยจากหอยเชอรี่จากข้าวสวยข้าวสุก เศษผัก ก้างปลา อาหารต่างๆเอามาใช้กันเยอะแยะมากมาย ซึ่งเดี๋ยวเรามาคุยกัน ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ ต่างๆเหล่านี้มีแง่มุมใดบ้างที่เราน่าจะมาคุยมาฟังกัน หรือเพื่อนๆท่านใดที่อยากจะมาสอบถามแลกเปลี่ยนกันทางกระทู้ก็ยินดี ถือว่าเป็นกันเอง เป็นครอบครัวไทยกรีนอะโกรหรือครอบครัวชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ที่เราต้องสรรหาเรื่องราวต่างๆที่ดีและมีประโยชน์ในการทำเกษตรแบบไม่ใช้สารพิษเอามาพูดคุยเพื่อให้เกิดการแตกกอต่อยอด ให้ลูกหลานของเราในอนาคตมีองค์ความรู้พื้นฐานเพื่อพัฒนาให้เกิดความรู้เป็น Wisdom เพื่อพัฒนาให้ประเทศของเรานั้นเป็นประเทศที่สะอาดปลอดภัยไร้สารพิษ

                จากที่กล่าวไปสถานการณ์การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในบ้านเรานั้นก็ได้รับความสนอกสนใจเพิ่มมากขึ้นเนื่องด้วยว่ามีความสนใจในเรื่องของ Food safety เรื่องของอาหารปลอดภัย เรื่องของอาหารการกินความมั่นคงมันลดน้อยถอยลงและเกี่ยวในเรื่องของเกษตรในเมืองที่มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพในรูปแบบต่างๆเยอะแยะมากมายประกอบกับเรามีการนำเข้าปุ๋ยเคมีปีหนึ่งเป็นล้านๆตัน มูลค่าการนำเข้าไปดูจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ก็หลายหมื่นล้านบาท ถ้าเราเรียนรู้ที่จะศึกษาพัฒนาการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เองแล้วถ้ายิ่งรู้เรื่องของการนำจุลินทรีย์มาใช้ร่วมกับการผลิตปุ๋ยก็จะเกิดประโยชน์มากมายมหาศาล ปุ๋ยอินทรีย์มีคุณสมบัติเป็นพื้นฐานเลยในการที่ทำให้ดินดำน้ำชุ่มและต้นทุนหรือเพื่อนๆพี่น้องเกษตรกรนั้นต่ำลง เพื่อนๆที่อยากจะรู้เรื่องปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ที่วิเคราะห์เจาะลึกต้องไปดูเอกสารเล่มนี้ เรื่องปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งจัดทำโดยกลุ่มงานวิจัยอินทรีย์ดิน กองปฐพีวิทยา เล่มนี้รายละเอียดเยอะแยะเรื่องของปุ๋ยชีวภาพ การพัฒนาปุ๋ยร่วมกับพวกจุลินทรีย์ย่อยพวกฟอสฟอรัส ฟอสเฟต ไนโตรเจน การตรึงไนโตรเจน เยอะแยะมากมายอยู่ในเรื่องของปุ๋ยชีวภาพถือว่าเป็นเล่มที่ดีมากๆและก็ได้พูดถึงพวกไมคลอไรซ่าและก็พวกเอนไซม์จากพวกไรโซเบียม พวกแหนแดง สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินก็เอามาฝากเพื่อนๆจะได้เอาไปดู ทีนี้มาดูว่าประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์ถ้าเราไปดูหนังสือเรื่องธาตุอาหารพืชหรือปฐพีวิทยาเบื้องต้นหรือเรื่องดินและปุ๋ยเราจะเห็นจุดเด่นของอินทรีย์วัตถุซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งถ้าเราสามารถบริหารจัดการปุ๋ยอินทรีย์ของเราให้ไปอยู่ในส่วนประกอบของดินเพียงแค่ 5% จะทำให้ดินนั้นดึงเอาอิทธิพลต่างๆ คุณสมบัติของดิน น้ำ อากาศ ความชื้น อินทรีย์ หินแร่ต่างๆมาให้ครบองค์ประกอบได้โดยมีโมเมนตั้มหรือตัวแรงถ่วงจากตัวอินทรียวัตถุนี้ทำให้ดินที่ไม่เผาตอซังฟางข้าว ดินที่ตัดแต่งกิ่งมะม่วง ลองกอง ทุเรียน ลำไย มังคุดแล้วไม่เผา เอาไปสับ หั่น บด ย่อย แล้วก็เอามาหมักกองคืนไปสู่ดินจะทำให้ดินนั้นเป็นดินที่ไม่ต้องเสียเงินซื้อปุ๋ยเคมีเยอะหรือมากเกินควร จะเป็นดินที่ในอนาคตมีองค์กระกอบตามที่ตำราวิชาการหนังสือเรื่องปฐพีวิทยาเบื้องต้นหรือดินและปุ๋ย ที่ท่านรองศาตราจารย์ ดร.ยุงยุทธ โอสถสภา ท่านเขียนตำรา พิมพ์ที่สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เขาจะบอกว่าเป็นดินที่พร้อมต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยไม่ คืออาจจะไม่ได้เขียนว่าใช้ปุ๋ยเคมี แต่ดินที่มีองค์ประกอบพร้อมแบบนี้คือปลูกพืชอะไรก็งามเหมือนดินที่ชาวเขาชาวดอยหรือกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหลายเขาถางป่า และก็หยอดพริก มะระ บวบ แตงกวาและก็ไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีแม้แต่เม็ดเดียวก็เจริญเติบโตงอกงามได้เพราะปุ๋ยอินทรีย์เขาไม่ได้มีแต่อินทรียวัตถุ พวกออแกนิกส์เมทเตอร์อย่างเดียว เขายังมีเพื่อนบ้านเพราะว่าตัวเขาเองเปรียบเสมือนเป็นโฮสต์ หรือเปรียบเหมือนเป็นโฮสต์ซิ่งแบคทีเรีย เป็นบ้านของสิ่งมีชีวิต ใครที่ใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกท่านจะได้จุลินทรีย์ ถ้าปลูกพืชตระกูลถั่ว หางนกยูง กระถิน ปอเทือง ไม้ที่เป็นพืชตระกูลถั่ว แหนแดง สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน แหนแดงจะมีพวกไรโซเบียมอยู่ ตัวนี้เป็นจุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจน กระบวนการของจุลินทรีย์เหล่านี้ถ้าย่อยสลายในพื้นที่ที่มีออกซิเจนดีอะไรดีเขาก็จะทำประโยชน์ในการสร้างพวกปุ๋ยที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชของข้าวได้โดยที่ไม่ต้องเติมปุ๋ยเคมีพวกคาร์บอนไดอ๊อกไซต์ พวกไนโตรเจนแต่ถ้าไปย่อยในดินที่เหนียวแน่นน้ำท่วมขัง ออกซิเจนน้อย เขาก็จะมีก๊าซพวกไฮโดรเจนซัลไฟต์ มีเทนไฮด็อกไซด์ ก๊าซมีเทนสมัยก่อนเขาเรียกว่าก๊าซบั้งไฟพญานาค ก๊าซที่เกิดจากการหมักของซากพืชซากสัตว์ใต้แม่น้ำโขงและเกิดการลอยตัวนักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าเกิดบั้งไฟพญานาคจากก๊าซมีเทนที่ติดไฟเร็ว แต่ยังให้เหตุผลไม่ได้ว่าไฟหรือประกายไฟมาจากไหนอันนี้ก็พูดแยกออกไปให้พอคลายเครียดเล็กๆน้อยๆว่าก๊าซมีเทนติดไฟง่ายเขาเลยจึงเอาไปทำพวก โรงหมู โรงเลี้ยงสัตว์แล้วก็สร้างก๊าซมีเทนทำแก๊สชีวภาพ ใครมีถังขยะอะไรต่างๆแล้วก็ไปทำไบโอแก๊ส ก็ใช้หลักการนี้ย่อยสลายโดยออกซิเจนน้อยและก็เกิดแก๊สมีเทนลอยและปล่อยไปตามท่อ PVC หรือสายให้ไปลงในถังย่อย 4-5 ถังหรืออยู่กับสต็อคของแก๊สตัวไบโอแก๊สนี้สามารถไปดูแบบจำลองที่ไทยกรีนอะโกรฟาร์มจังหวัดอ่างทอง ตรงนั้นเจ้าหน้าที่เขาพยายามทำก็อาจจะทำไปแล้วก็ทิ้งไว้อาจจะดูไม่สวยแต่ก็ไปดูหลักการได้ ไบโอแก๊สที่ได้จากการหมักปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ การที่เรามีเศษตอซังฟางข้าว เศษกิ่งไม้ใบหญ้า เอามาเข้าเครื่องปั่นให้มันเป็นเศษชิ้นเล็กชิ้นน้อยแล้วก็ทำเป็นปุ๋ยหมัก หมักเนี่ยเราจะส่งเสริมให้ใช้จุลินทรีย์ชีวภาพ เรียกว่าจุลินทรีย์สัตว์เคี้ยวเอื้องหรือจุลินทรีย์ขี้ควายเพื่อย่อยสลายเพราะเรารู้ว่าวัว ควาย มีกระเพาะ 4 ห้อง มีผ้าขี้ริว รังผึ้ง 30 กลีบ และก็กระเพาะจริง วัว ควาย สัตว์เคี้ยวเอื้องทั้งหลาย เขาจะต้องให้จุลินทรีย์ ยีสต์ รา โปรโตซัว สายพันธุ์พิเศษที่ย่อยสลายพวกเฮมิเซลลูโลส ลิกนิน เซลลูโลสได้ดี ย่อยให้จุลินทรียื ย่อยก็ให้ขย้อนออกมา เคี้ยวเอื้องแล้วก็กลับไปย่อย อาศัยจุลินทรีย์พวกนี้ย่อยเซลลูโลส ย่อยหญ้า ย่อยฟางให้ดีเสียก่อน ได้ที่แล้วจึงส่งไปกระเพาะจริง เวลาขับถ่าย จุลินทรีย์ ยีสต์ รา โปรโตซัวดีเหล่านี้ก็จะติดมากับมูลของ วัว ควาย แพะ แกะ เก้ง กระโจง จิงโจ้ ยีราฟ อูฐ ก็ใช้สัตว์เคี้ยวเอื้องได้ทุกชนิด มาเป็นหัวเชื้อในการย่อยสลายปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ เพราะว่าปุ๋ยหมักปุ๋ยอินทรีย์ช่วยมีประโยชน์ทำให้เราลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี การใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวทำให้ดินแน่น แข็งเป็นกรด ใช้ซ้ำๆทุกปีๆดินจะแน่นแข็งเป็นกรด ถ้าใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยชีวภาพ ชาตินี้ทั้งชาติดินก็ไม่แข็ง ดินก็ไม่เสีย ไม่ต้องไปซื้อปูนมาปรับปรุงดิน และเทคนิคอีกอันหนึ่งพวกอินทรีย์เขาจะมีบาซิลลัสทับซิลิสเป็นแบคทีเรียที่ทำงานได้เร็ว ไม่ว่าจะเป็นบาซิลลัสพืช หรือจะเป็นกลุ่มบาซิลลัสMT อะไรต่างๆท่านสามารถเอามาประยุกต์ใช้ในการทำปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก เขาจะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้อุณหภูมิในกองปุ๋ยหมักร้อนหรือสูงขึ้น พวกแบคทีเรียพวกนี้ย่อยพวกฟอสฟอรัส ฟอสเฟตที่ค่อนข้างละลายได้ยาก ออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ จุลินทรีย์ที่ย่อยฟอสฟอรัสความจริงก็เยอะ ถ้าเอาแบคทีเรีย พวกบาซิลลัสซับทีลิสผสมน้ำราดไปก่อนอาจจะใช้ 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ราดไปบนกองมันจะกระตุ้นให้อุณหภูมิ ทำไมจึงต้องให้ความสำคัญกับอุณหภูมิเพราะตัวนี้มันย่อยพวกซากพืช พวกคาร์บอนได้ดีอยู่แล้ว พออุณหภูมิสูงมันไปกระตุ้นพวกราต่างๆให้เจริญเติบโตและก็ทำงานต่อกันเป็นห่วงโซ่ทำให้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกของเราย่อยทั้งตรึงไนโตรเจนได้ ย่อยไนโตรเจนดี แล้วก็ย่อยฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ได้ทั้งประโยชน์จากจุลินทรีย์จากกระเพาะสัตว์เคี้ยวเอื้องแล้วกระตุ้นด้วยแบคทีเรียบาซิลลัสต่างๆ ก็จะได้กลุ่มเชื้อราที่ทำหน้าที่ต่อก็สร้างเอนไซด์ ในการย่อยสลายพวกอินทรียวัตถุ เพราะฉะนั้นปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกถ้าท่านไม่ซื้อเองก็ควรใช้ระบบหรือวิธีการผลิตโดยใช้จุลินทรีย์ขี้วัวขี้ควายหรือสัตว์เคี้ยวเอื้อง อย่างน้อยก็เป็นการอนุรักษ์กลับไปสู่แนววินเทส คือทำให้เรือกสวนไร่นาเรา ใครที่ทำโฮมสเตย์ ทำรีสอร์ท จะมีนักท่องเที่ยวไปเที่ยวเขาก็จะเห็นวัว ควาย นึกถึงหนังสมัยขวัญเรียม พวกนี้ถ้าเลี้ยงไว้ในเรือกสวนไร่นามันก็ขับถ่ายมูลมาเป็นแบบธรรมชาติ ดินที่มีปุ๋ยอินทรีย์ ไม่ขาดปุ๋ยอินทรีย์ ก็เหมือนดินตามป่าเขาลำเนาไพร หลายคนอาจจะแปลกใจทำไมป่าเขาลำเนาไพรใครไปใส่ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกปุ๋ยอินทรีย์ เขาใส่ให้กันและกัน ต้นไม้ที่สูงใหญ่แก่ ใบไม้เหี่ยวแห้ง ก็ร่วงหล่น กิ่งแห้งก็หล่น พืชระดับกลางระดับล่างใต้ดินก็ใช้พอโตก็เหี่ยวแห้ง สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนไปตามแต่ละชนิดของพืชเพราะฉะนั้น ในป่าดงดิบ ป่าดิบชื้น ป่าลึกๆเขาจะไม่มีการขาดสารอาหาร เขาจะมีการเติบเต็ม เว้นเสียแต่ว่าเราไปเผาป่าเพื่อเก็บเห็ด เราไปบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า เมื่อนั้นระบบนิเวศเขาจะขาดบิ้นจากน้ำมือของพวกเราเอง หรือปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกปุ๋ยอินทรีย์ ของเราจะได้ผลช้า เห็นผล เห็นประโยชน์จากการใส่ได้ไม่ดี ก็อีกทางหนึ่งคือการที่เราไปฉีดพ่น สารพิษกำจัดโรคแมลงศัตรูพืชมากเกินไป สารพิษเหล่านี้จะไปทำลายจุลินทรีย์พวกไมโคไลซ่า ถ้าเป็นพวกเอ็กซ์โตไมโคไลซ่ากินได้เพราะว่าเขาจะเจริญเติบโตเป็นพวกเห็เผาะ เห็ดทอง เห็ดไข่ เห็ดละโงก แต่ไม่ใช่เป็นเห็ดละโงกหิน เป็นพวกอมิลิตาที่มีพิษ ดอกจะสีสันสวยงามผิวกับดอกจะเป็นเมือก ตรงโคนก้านดอกจะตัน สปอร์หล่นลงมาสีจะไม่เปลี่ยน เป็นสีขาวและมีวงแหวน พวกนี้จะเป็นเห็ดอันตรายไม่ควรรับประทาน แต่เห็ดไมโคไลซ่าที่ท่านลงไปจะช่วยย่อยสลายปุ๋ยในดิน เขาจะสื่อสารกันเองทำหน้าที่เรียงลำดับ แบคทีเรียย่อยก่อน ส่งต่อมารา ราไปทางยีสต์ จุลินทรีย์พวกแอคตีโนไมซิส พวกสาหร่ายต่างๆ ทำให้ดินเราดีอย่างยั่งยืน เป็นดินดำน้ำชุ่ม แล้วทำให้อินทรียวัตถุครบองค์ประกอบของดินที่ไม่ต้องใส่ปุ๋ย ก็คือดินที่มีอินทรียวัตถุ 5% น้ำ 25% อากาศ 25% อนินทรีย์หินแร่ 45% ในช่วงปีแรกๆอย่าหวังว่าดินเรา คนที่ใช้แต่ปุ๋ยเคมีเผาอินทรียวัตถุมาตลอดกลับมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์และดีภายในปีเดียวไม่จริงไม่ได้นะครับ ท่านจะต้องหมั่นเติมอินทรียวัตถุให้ดินกลับมามีชีวิตชีวาอย่างน้อย 3 ปี เพื่อที่จะได้ให้กระบวนการทางธรรมชาติของจุลินทรีย์ย่อยสลายต่างๆสมบูรณ์ดีเสียก่อน การทำธนาคารปุ๋ยหมัก การเก็บเศษกิ่งไม้ใบหญ้า เศษหญ้า เศษตอซังฟางข้าว กองรวมทับถมราดรดด้วยจุลินทรีย์จะทำเป็นชั้นก็ได้ ชั้นละประมาณ 50 ซม. ราดด้วยจุลินทรีย์หน่อกล้วย ราดด้วยบาซิลลัสทับซิลัสก็จะทำให้กระบวนการย่อยดิน และทำเป็นแซนวิชชั้นที่ 2 ชั้นที่ 3 อาจจะใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกมาเติม สิ่งต่างๆเหล่านี้ก็จะช่วยทำให้เรามีปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้ หรือบางคนไม่มีเวลา ไม่สะดวก อยู่ในเมือง ชอบทำเกษตรแบบในเมืองปลูกไม้ดอก ไม้ใบ ไม้กระถางก็ใช้ปุ๋ยอินทรีย์สำเร็จรูปก็ได้ ปัจจุบันนี้ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ หรือไทยกรีนอะโกร เราบริการจำหน่ายกระสอบละ 50 กิโลกรัม กระสอบละ 350 บาท ตัวนี้ผ่านการจดทะเบียนรับรองจากกรมวิชาการเกษตร เป็นสูตรเป็นเทคโนโลยีที่ทางไทยกรีนอะโกรเราวิจัยและพัฒนา แล้วก็จ้างให้พันธมิตรของเราผลิตเนื่องด้วยว่าโรงงานเรานั้นก็ผลิตสารปรับปรุงดินอะไรต่างๆเยอะแยะมากมาย ปุ๋ยอินทรีย์ที่ต้องพัฒนาและนำมาเสนอบริการเพื่อให้เพื่อนๆได้มีปุ๋ยอินทรีย์ที่ดีมีคุณภาพไว้ใช้งาน และถ้าท่านไม่ต้องการซื้อก็หมักหรือเก็บหอมรอมริบเศษไม้ใบหญ้าดังที่ได้เรียนเพื่อนๆได้ทราบ

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปอลดสารพิษ www.thaigreenagro.com

×