0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

บำรุงผลให้หวานต้องเติมแป้งกับน้ำตาลเยอะๆ

วันนี้เราจะมาคุยเกี่ยวกับเรื่องบำรุงให้หวานต้องเติมแป้งกับน้ำตาลเยอะๆ มันเป็นยังไง หมายความว่า เราต้องไปซื้อแป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวจ้าว ซื้อน้ำตาลปี๊บ น้ำตาลทรายมาใส่ ในช่วงที่ผลมันใหญ่ใช่ไหม ต้องตอบก่อนว่าไม่ใช่ และที่เพื่อนๆปลูกเมล่อน ปลูกลองกอง มังคุด ทุเรียน ลำไย แล้วมักชอบใช้คำว่าปุ๋ยหวาน ไม่แน่ใจว่าหวานในที่นี้คือไปชิมหรือป่าว หรือมันมีหน้าตาเหมือนน้ำตาลทราย พวกโพแทสเซียมซัลเฟต โพแทสเซียมคลอไรด์ อะไรอย่างงี้ ชาวนา ชาวไร่ สมัยโบราณก็มองดูว่ามันเป็นปุ๋ยหวาน ก็ต้องบอกว่าจริงๆแล้วในโลกนี้ไม่มีปุ๋ยหวานหรือที่เราไปเรียกปุ๋ย 16-20-0 ว่าเป็นปุ๋ยนาจริงๆแล้วในโลกใบนี้ไม่มีปุ๋ยนา แต่ชาวนาเกษตรกรผู้ปลูกข้าวใช้ปุ๋ย 16-20-0 จนเคยชิน จริงๆแล้วถ้าเป็นอเมริกาเขาจะใส่พวกถั่วเหลือง ในญี่ปุ่น ในมาเลเซียเขาก็ใส่พืชอื่นๆเยอะแยะมากมาย แต่เราเรียกติดปากเป็นปุ๋ยนา เราก็ต้องมาดูว่ามันควรจะปลูกมะม่วง ปลูกผลไม้ที่อยากจะให้มันหวาน ความจริงแล้วสายพันธุ์มีความสำคัญ จะบอกว่าปุ๋ยสำคัญกว่าสายพันธุ์ก็ไม่น่าใช่ ทำไมสายพันธุ์ก็สำคัญลองดูมะขามหวาน กับมะขามเปรี้ยว ถ้าพันธุ์เปรี้ยวใส่ปุ๋ยที่ว่าหวาน ยังไงก็ไม่ค่อยหวาน แต่มะขามหวานถ้าดูแลไม่ดี มันก็เปรี้ยว ก็มีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ถ้าสารอาหารต่างๆนั้นมีอิทธิพลต่อรสชาติของผลไม้ที่สุก รวมถึงกลิ่น หวาน สีสันด้วยเหมือนกัน การให้ปุ๋ยถ้าไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ทั้ง 5 หมู่ ของพืช

ถ้าเป็นแฟนคลับของไทยกรีนอะโกรหรือชมรมเกษตรปลอดสารพิษจะคุ้นชินว่าเราเรียกการกินอาหารของพืชว่า 5 หมู่ ก็หมายถึงว่าต้องครบทั้ง 16 ธาตุ ไม่ว่าจะเป็นออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียมแมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก ทองแดง แมงกานีต สังกะสี โบรอน โมริบดินัม ต้องครบ ถ้าขาดตัวหนึ่งตัวใดเหมือนถังไม้โอ๊ค ประสิทธิภาพต่อให้ใส่ N P K สูตรเสมอเยอะแค่ไหนแต่ถ้าขาดแมกนีเซียม โบรอน เหมือนเติมน้ำใส่ตุ่ม ใส่ถังไม้โอ๊ค มันจะอยู่ก้นโอ่งหรือก้นถัง พืชก็ไม่สามารถระดมมาเลี้ยงได้ มาแปลงรูปจากกระบวนการสังเคราะห์แสงที่เขาใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศและจากน้ำ และก็ไปผ่านกระบวนการกระตุ้นจากแสงและคลอโรฟิลด์เพื่อสร้างตัวน้ำตาลหรือกลูโคส และก็บวกกับพวกน้ำกับออกซิเจนเพื่อเปลี่ยนแปรรูปไปเป็นโปรตีน วิตามิน อะมิโน ไขมัน กรดอินทรีย์ เอนไซม์ต่างๆ ไปเปลี่ยน หล่อเลี้ยง สรีระต่างๆของเขา ที่อยู่ในรูปของคาร์โบไฮเดรตโครงสร้างต่างๆที่เราเคยคุยกันในคลิปก่อนๆ คาร์โบไฮเดรตโครงสร้างหลักก็จะได้พวกเซลลูโลส  ลิกนิน เฮมิเซลลูโลส ก็จะไปหล่อเลี้ยงสะสม แต่ผู้ฟังวันนี้คงอยากจะฟังว่าทำยังไงให้หวาน ถ้าไปดูในบางตำราของปราชญ์ชาวบ้าน บางท่านดูแล้วก็ปวดหัว ใช้กากน้ำตาล ใช้น้ำตาลทรายไปโรยรอบโคนต้น แล้วจะทำให้ต้นผลไม้นั้นมีรสหวานอันนั้นไม่ได้บอกว่าถูกนิดหน่อย อันนั้นผิด แต่ถ้าใส่ปุ๋ย 0-0-50 ปุ๋ยคลอไรด์ โพแทสเซียมซัลเฟต หรือ 0-0-60 โพแทสเซียมคลอไรด์ หรือโพแทสเซียมไนเตรท 13-0-46 อันนี้ก็ต้องตอบว่าถูกอยู่บ้าง ถูกให้หมดต้องถูกยังไง ถูกให้หมดมันต้องดูแล บำรุง รักษา การสะสมอาหารต้องให้ใบของผลไม้ของเรามีความเขียวเข้ม เขียวเข้ม เต่งตึง ทั้งกิ่ง ก้าน ใบ เพื่อให้สะสมอาหารแป้ง น้ำตาล อะมิโน อะไรต่างๆมากเพียงพอ พอเขาติดดอกออกผล ผลอ่อนๆ กระบวนการตรงนี้น้ำตาลกับแป้งยังน้อย เขาก็จะเคลื่อนย้ายจากใบกิ่งก้านมาให้ลูกหรือผลของเขา ส่วนโพแทสเซียม ความจริงแล้วมันมีอีกตัวหนึ่งคือโบรอน ตัวนี้ทำหน้าที่ขับเคลื่อน ท่อน้ำท่ออาหารเป็นเหมือนถนน เป็นเหมือนเลน ส่วนตัวโพแทสเซียมกับโบรอนจะทำหน้าที่เหนี่ยวนำเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาลไปสู่ผลได้ดีนั่นคือเป็นที่มาว่าใส่ปุ๋ย 0-0-50 , 0-0-60 หรือ 13-0-46 แล้วจึงทำให้ผลไม้มีรสหวานดี แต่ถ้าทุเรียน มะม่วง ลองกอง มังคุด เงาะของเพื่อนๆมีใบเยอะจริงแต่ใบมันเขียว สด หนา ไม่เขียวเข้ม ไม่กรอบ อาจจะไม่กรอบพูดให้เห็นภาพ ใบก็เขียวสด ตัวนี้ท่านใช้ปุ๋ย 0-0-60 , 0-0-50 , 13-0-46 ก็จะไม่ได้รสชาติที่หวานดั่งใจ หรือ ตามที่เกษตรกรผู้บริโภคหรือลูกค้าท่านต้องการ เพราะอะไรเพราะว่าเขาไม่มีแป้งและน้ำตาลที่มากเพียงพอ เพราะฉะนั้นในช่วงที่ติดผลถ้ามีฝนตก หรือใครไปใส่ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก คำว่ามีผล คือมีผลแล้วใกล้จะเก็บเกี่ยวเอาไปจำหน่าย รับรองได้ว่าถ้ามีฝนหลงฤดู มีการสะสมอินทรียวัตถุที่โคนต้นยังตกค้างอยู่มากจนเกิดใบอ่อน ถ้ามีเพียงพอ พอเหมาะ พอดี เพราะผลเขาก็ต้องการไนโตรเจนในการขยายผลให้ใหญ่ตั้งแต่ผลอ่อนอยู่เหมือนกัน ผลระยะต้น ระยะกลาง แต่ถ้าแต่จะเก็บเกี่ยวอีกประมาณ 10-15 วัน

อันนี้มันต้องเตรียมดูแลในช่วงเดือนสุดท้าย อย่าให้ใบมีลักษณะการเขียวสด เขียวไม่เข้ม ไม่มีอาหาร ไม่เพียงพอ แต่ถ้าเพื่อนๆสามารถทำให้ใบของมะม่วง ทุเรียน ลองกอง มังคุด สละ ลิ้นจี่ มะขาม เมล่อน แคนตาลูป อะไรต่างๆ มีใบเขียวเข้มแล้วใส่ปุ๋ยตัวที่มีโพแทสเซียมเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวนำแป้งและน้ำตาล ไปสู่ผล ในช่วงนี้ถ้าเป็นเทคนิคของไทยกรีนอะโกร หรือ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ส่วนใหญ่เราจะแนะนำให้ใช้ร่วมกับแคลเซียมโบรอน บางคนก็ใช้สูตร 15-0-0 1.2 กิโลกรัม บวกกับ โบรอนพืช 4 ขีด ละลายน้ำ 1 ปี๊บ เอามาใช้ครั้งละ 100 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร แต่เดี๋ยวนี้ไทยกรีนอะโกรมีสำเร็จรูป ชื่อ ทีจีเอแคล เพื่อนๆใช้ตัวนี้ฉีดพ่น การกินอาหารสะสมของมะม่วง ทุเรียน ลองกอง มังคุด คนตาลูป เมล่อน อะไรต่างๆ ก็มีเทคโนโลยีเราจะให้กินปุ๋ยจากทางดินก็ได้ เสริมด้วยทางใบก็ได้ แต่ที่แน่ๆต้องให้ครบ 5 หมู่ ทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ถ้ารวมธาตุที่ไม่ต้องซื้อก็ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ด้วย เพราะฉะนั้นคนที่ทำเกษตรปลูกพืชไร่ไม้ผลไว้จำหน่าย ก็หลีกหนีไม่พ้นที่จะต้องอาศัยตัวช่วยคือเป็นปุ๋ยทางใบเข้ามาร่วมด้วยเพราะว่าให้ปุ๋ยทางดินอย่างเดียวบางทีก็ไม่เพียงพอ ต้องให้เขามีการกินให้อิ่ม สะสมอาหารให้มากเพียงพอ เลี้ยงให้มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นน้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญในยุคที่บ้านเรามีปัญหาเรื่องแล้ง ซ้ำซาก ฝนตกก็ท่วมซ้ำซาก สารอุ้มน้ำโพลิเมอร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้พืชเขาสามารถมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องเพื่อสะสมอาหาร คำว่าสะสมอาหารบางทีพูดไปแบบไวๆว่า แต่ถ้าท่านขาดตัวหนึ่งตัวใด ขาดแมกนีเซียม ขาดโบรอน ขาดแคลเซียม ที่ทำมา 100% หรือ 100 บาท มันจะเหลือ 20-30 บาท เพราะลักษณะการที่เขาจะต้องระดมสารอาหารทั้ง 5 หมู่ ถ้าเป็นคนก็โปรตีน วิตามิน ไขมัน เกลือแร่ คาร์โบไฮเดรต ถ้าขาดวิตามิน เดี๋ยวเลือดออกตามไรฟัน ผมร่วง ตาเหลือง แต่กินขาหมู กินนู่นกินนี่เยอะ แต่ขาด พืชก็เหมือนกัน เหมือนเราเอาน้ำใส่ในโอ่ง แต่บังเอิญโอ่งแตกเป็นรูปตัววีลงมา ความสูงจากปากโอ่งลงมา 70-80% น้ำมันก็บรรจุในตุ่มประมาณ 20% ต่อให้ด้านหนึ่งของตุ่มมันสูงก็จริง เพราะฉะนั้นต้องอย่าลืมใส่พวกจุลธาตุ พวกเหล็ก ทองแดง แมงกานีต สังกะสี โบรอน โมริบดินัม นิกเกิล ก็จะอยู่ในพวกซิลโคเทรซ พวกไคโตซาน อยู่ในปุ๋ยพวกธาตุรอง ธาตุเสริมต่างๆก็จะมีอยู่ ถ้าท่านดูแลสะสมอาหารให้ใบเขียวเข้ม กิ่ง ก้าน เต่งตึง รสชาติเมล่อน แคนตาลูป มะม่วง ส้ม ทุเรียน ลองกอง มังคุด สละ มะขามหวาน ก็จะมีสชาติสีสันที่สวยงาม หวาน รสชาติดีสีสวย เทคนิคนี้ยังเอาไปใช้ไม้ดอก ไม้ประดับ พวกโป๊ยเซียน พวกพังพวย พวกไม้สีอะไรต่างๆที่เล่นกัน ไม่เกี่ยวกับไม้ด่าง ไม้ด่างก็สวยทำให้ใบเขียวก็สวย สีขาวที่ด่างก็มีสีสันได้เหมือนกัน ตัวกลไกที่จะเคลื่อนย้ายแป้งจากใบกิ่งก้านไปสู่ผลคือโพแทสเซียมกับโบรอน ช่วงก่อนใกล้จะเก็บเกี่ยวควรใส่ปุ๋ยพวกตัวท้ายสูงกับแคลเซียมโบรอน ฉีดกระหน่ำในช่วงนี้รสชาติของท่านก็จะออกมาถูกปากถูกใจ แล้วถ้าใบไม่เขียวสด ไม่เขียวเข้ม อันนั้นเขาเรียกว่าบ้าใบ บ้าใบมาพร้อมกันกับความอ่อนแอ บ้าใบแสดงว่ามีไนโตรเจนสูง ใส่ปุ๋ยอาจจะผิดสัดส่วน เป็นพวกตัวหน้าสูงเกินไป หรือหลายคนบอกผมก็ไม่ได้ใส่ ก็แสดงว่ามีอินทรีย์วัตถุปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก อยู่ที่โคนต้นสูง หรือฝนตก ฝนหลังฤดูตัวนี้ต้องฉีดสูตรพวกยับยั้งใบอ่อนป้องกันผลร่วงไปดูได้ในเว็ปไซต์ไทยกรีนอะโกร   

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปอลดสารพิษ www.thaigreenagro.com

×