0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

ทุเรียน:หลังเก็บเกี่ยวบำรุงใส่ปุ๋ยช้าใบแก่ร่วง

วันนี้เราจะมาพูดคุยกันถึงเรื่องทุเรียนอีกซึ่งทางรายการเราอยากจะให้ความสำคัญ และก็พยายามเก็บรวบรวมเรตติ้งว่ามีเกษตรกรที่โทรศัพท์มาพูดคุยสอบถามในเรื่องหนึ่งเรื่องใดที่มากเป็นพิเศษเราก็อยากจะนำเสนอสิ่งนั้นๆกลับไปยังผู้ชมผู้ฟัง เรื่องทุเรียนถือว่ามีผู้ให้ความสนใจค่อนข้างมาก และก็ประจวบกับว่าตอนนี้ถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจอันดับต้นๆของประเทศเรา แม้ว่าราคาผลิตผลด้านการเกษตรในหลายๆตัวนั้นจะตกต่ำก็ตามวันนี้ก็ห่วงใยในเรื่องของการที่ว่าเราได้พูดคุยไปแล้วเกี่ยวกับสภาพต้นที่พร้อมสมบูรณ์ แต่ถ้าพี่น้องเกษตรกรและเพื่อนๆยังไม่ทราบว่าถ้าเก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว การดูแลใบแก่ในลำต้นก็มีความสำคัญ แล้วถ้าผิดพลาดไปในเรื่องหนึ่งเรื่องใด ก็จะส่งผลสะท้อนไปยังภาพรวมของต้นทุเรียนทั้งต้นและก็ไปสู่ความเสียหายแก่ผลผลิตได้ เดี๋ยววันนี้เราจะมาพูดคุยกัน

                ตอนนี้ทางจีนก็มีปัญหาเรื่องของอุทกภัย ระบบการขนส่งทุเรียนไปยังประเทศเขาก็มีปัญหาแล้วก็เรื่องของการตรวจพบโรคแมลงศัตรูพืช ที่ส่งเข้าไปในประเทศจีนก็มีความเข้มงวดมากขึ้น แล้วก็อาจจะเป็นเรื่องของสารพิษตกค้างด้วย ซึ่งในอนาคตก็ทุกเรื่องการค้าระหว่างประเทศที่มีการแข่งขันกันมาก รุนแรง ยิ่งขึ้นนี่ก็เราต้องเตรียมพร้อม เตรียมพร้อมในเรื่องของการลดต้นทุน ต้องมีความรู้เรื่องดิน เรื่องน้ำ เรื่องปุ๋ย เรื่องสภาพภูมิอากาศ เรื่องของฤดูกาล และก็วิธีการป้องกันกำจัดแบบปลอดภัยไร้สารพิษ คือควรจะเริ่มตั้งแต่ GAP ไปสู่เรื่องของออแกนิกส์ มิฉะนั้นเราผลิตอะไรมาได้ในอีก 10 20 ปี ข้างหน้ามันเป็น High Technology มันเป็นเรื่องของ IOT ทุกอย่างเป็นเรื่องของเกี่ยวกับเทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ตที่เขาเรียกว่าอินเตอร์เน็ตอ๊อกซิน ถ้าเรายังไม่พัฒนาระบบการผลิต เราก็จะสู้ประเทศต่างๆที่ผลิตสินค้าเหมือนกับเราไม่ได้โดยเฉพาะสินค้าเกษตร เวียดนามเขาก็แซงเราไปแล้ว ถ้าย้อนไปในอดีตพม่าเรื่องข้าวเขาก็นำ เขาก็ไปสู่ยุคของเผด็จการที่มีทหารสล็อคคุม ทำให้เขาถอยหลังแล้วเราก็ไม่แน่ใจว่าแซง แซงเพราะว่าเขาเดินถอยกลังจากการปกครองโดยรัฐบาลเผด็จการหรือป่าว พอเราเป็นประชาธิปไตยมาได้หน่อยก็สะดุดขาตัวเองในเรื่องของเผด็จการอีก ก็ทำให้เวียดนามแซง ต่อไปถ้าทุกอย่างมันคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นแล้ว ความพร้อมของเกษตรกรทั้งประเทศ ตอนนี้เรามีอาชีพเกษตรกรเหลือแค่ 15 ล้านราย เมื่อก่อนนี้เราอาจจะ 30% ของทั้งประเทศประมาณ 20-30 ล้านราย เดี๋ยวนี้อาชีพเกษตรกรลดน้อยถอยลง ความจริงอาชีพเกษตรกรที่เป็นสัดส่วนน้อย จะต้องร่ำรวยขึ้น แต่ประเทศไทยอาชีพเกษตรกรที่ลดน้อยถอยลงเพราะว่าเจ๊ง ล้มหายตายจาก เป็นหนี้ ถูกยึดที่ดิน นี่คืออนาคตเกษตรกรของคนไทย น้ำก็ไม่มี บรรพบุรุษเราเก่ง เรื่องการเกษตร แต่ประเทศชาติของเราไม่ได้ทำระบบโครงสร้างพื้นฐานหรือพวกอินฟราสตั๊คเจอร์ ที่สอดรับ คือน้ำก็ไม่มีใช้แต่น้ำใต้ดิน น้ำบาดาล จนเหือดแห้ง ทำให้กายภาพของดินเหมือนเป็นดินทราย กักเก็บน้ำไม่อยู่ การผันน้ำจากลุ่มน้ำสาลวิน ผ่านแม่น้ำยม มาใส่เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิต การผ่านน้ำโขง ชี มูล เพราะฉะนั้นตอนนี้เหลือพระเอก ราชาแห่งผลไม้ก็คือทุเรียน ก็ไม่อยากให้เกษตรกรที่ปลูกทุเรียนล้มหายตายจากไปอีก จึงเป็นที่มาว่ามีต้นทุเรียนอยู่ก็รักษาให้ดีๆ เหมือนมีทองคำ อยู่กับบ้าน โลละ 100  200 ในบางช่วง หรือ 150 บาท ตัวเลขกลมๆโลละ 100 บาท ลูกละ 2 โล ก็ได้เงิน 200 บาท มี 100 ลูกก็ 20,000 บาทต่อต้น มี 5 ต้นก็ แสนบาท เวลาเก็บเกี่ยวไปแล้ว ตอนนี้ทางชุมพรก็ทยอยเก็บขายขึ้นมาเรื่อยๆส่วนมังคุด ลำไย ไม่ต้องพูดถึงเละเป็นโจ๊ก ราคาผลผลิต จนมีข่าวทางช่องน้อยสี ชาวบ้านโกรธแค้น เอาไม้ไปฟาดต้นลำไย คือขายแล้วไม่เก็บเกี่ยวมันก็เน่าเสียผลผลิต ต้นทุเรียนก็เช่นเดียวกันครับว่าถ้าเราเก็บเกี่ยวแล้วการที่เราจะไปตัดแต่งกิ่งแล้ว การที่เราจะไปตัดแต่งกิ่งโดยที่ไม่รีบบำรุงให้ทันท่วงทีอย่างน้อยสัก 2-3 อาทิตย์แรก จะทำให้ใบเก่า ชุดเก่า ใบแก่ มันอาจจะขาดสารอาหารจะไม่สอดคล้องกับเรื่องของการเตรียมต้น การเตรียมใบ การเตรียมทรงพุ่มให้ต้นทุเรียนเขามีความอุดมสมบูรณ์ การที่ทุเรียนจะให้ผลผลิตติดดอกออกผลได้ดี ก็ต้องอาศัยทั้งอาหารจากดินเดิม ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากน้อยแค่ไหน อาหารที่น้ำมือมนุษย์จะเพิ่มลงไป และอาหารที่สะสมอยู่ในกิ่ง ก้าน ใบ และอาหารที่มากับน้ำฝน สายลม แสงแดด อากาศ สิ่งต่างๆนี้ล้วนเกี่ยวข้องสำพันธ์กัน แต่ถ้าใบของทุเรียน ถ้าเกษตรกรมือใหม่ไม่รู้ไม่เข้าใจ ใบคือแม่ครัวตัวสำคัญ แม่ครัวไม่มี ถ้าโรงแรมหรือภัตตาคารไหนแม่ครัวลาออกไปหมด ท่านจะซื้อหมู ซื้อเนื้อ ซื้อผักอะไรมาต้มยำมันแกงแค่ไหน ท่านมีปุ๋ยเยอะมีดินสมบูรณ์แต่ใบโก๋น ใบร่วง แม่ครัวไม่ปรุงอาหาร ทุเรียนก็ไม่สามารถที่จะมีสภาพต้นที่สมบูรณ์พร้อมต่อการผลิดอก ออกผลได้ และวันนี้ไม่ได้มาพูดว่าใบโดยรวม พูดว่าหลังเก็บเกี่ยวไปแล้ว ถ้าไม่รีบปรับปรุงบำรุงดินดูแลให้ดี ใบแก่ก็จะหลุดร่วง อ่าวทำไมแล้วไปห่วงทำไมใบแก่ เพราะใบแก่จะเก๋า ใบแก่ที่ไม่แก่แบบกะโหลกกะลา คือเอามือไปจับจะต้องเหนียว หนึบ นุ่ม หนา แต่ถ้าไปจับแล้วกรอบ อันนี้เขาเรียกแก่แบบกะโหลกกะลา ไม่มีประโยชน์ เหมือนที่เขาว่าแก่เพราะกินข้าว เข้าเพราะอยู่นาน ไม่มีประโยชน์ไม่ได้มีอะไรให้ลูกหลานเลย การที่จะให้ใบนั้นเหนียว หนา หนึบ แน่น นุ่ม นั้นต้อง ก็ต้องมีอาหารมาเสิร์ฟ อาหารที่เสิร์ฟช่วงวัยชราก็ต้องเน้นในเรื่องของอ่อนหน่อย ของอ่อนก็คือปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว จะใส่ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกไปเลยก็ได้ถ้าคนงานหายาก เพราะว่าไปรอให้ตัดแต่งกิ่งเสร็จ เดี๋ยวจะลำบาก ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกก็ใส่เข้าไปที่ใต้ทรงพุ่ม โคนต้น เพื่อให้ไนโตรเจน ไนโตรเจนเขาพวกปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก เขาจะเป็นพวกกลุ่มของพวกอะมิโนโปรตีน แตกตัวเป็นอะมิโนเป็นไนไตรท์ ไนเตรท ไนโตรเจน ไนโตรเจนไม่ได้เร่งเฉพาะเรื่องของใบอย่างเดียว ความจริงแล้วมันเลี้ยงตั้งแต่ กิ่ง ก้าน ใบ ดอก ผล ลำต้น เพียงแต่ว่าช่วงระยะเวลาอย่างไร ใบจึงมีความสำคัญ แต่กลายว่าใบที่อยู่เก่าคนละเรื่องกับกิ่งที่ไม่เหมาะสม กิ่งกระโดง กิ่งน้ำค้าง กิ่งใต้ทรงพุ่ม ดูแล้วเกะกะตา ไม่โดนแซง อันนี้เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ใบแก่ตรงนี้คือใบที่อยู่ กิ่งที่เราจะเลี้ยงไว้ในระยะยาว เหมือนคนที่จะตัดแต่งกิ่งทุเรียนแบบใจร้อนด่วนได้ ตัดๆไป พอต้นทุเรียนอายุ 10 ปี 20 ปี มันไม่มีกิ่งอยู่ใกล้กับลำต้นเลย มันจะกลายเป็นหมาพุดเดิล อย่าไปตัดแต่งกิ่งแบบหมาพุดเดิล ที่เป็นพุ่มๆอยู่ปลายช่อปลายยอด เพราะที่เป็นแบบนี้ส่วนใหญ่แล้วตอนทุเรียนอายุ 3 4 5 ปี เรียกว่า 100 วิชา ตัดแต่งกิ่งเอาสวยอย่างเดียว กิ่งที่จะวางแผนว่าในอนาคตตัดไปแล้วมันยื่นออกไปตรงข้างนอกหมด พออายุมากเข้ามันไม่มีกิ่ง ใกล้โคนต้นให้เลี้ยงไว้สำหรับที่จะวางแผนการติดลูกในอนาคตก็จะมีปัญหา ตรงกิ่งพวกนี้ที่พูดถึงคือใบของชุดเก่าที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว จะต้องดูแลบำรุง มิฉะนั้นแล้วถ้าเก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้วอาหารมันไม่พอ ดินโทรม ยิ่งดินที่ใส่พวกสารเร่งออกนอกฤดู อยากพวกแพคโคบิวทราโซน ถ้ามีตกหล่น ตกค้างอยู่ในดิน ในลำต้น มียาฆ่าหญ้า มีสารพิษต่างๆ ไส้เดือนจุลินทรีย์ไม่ได้มาทำหน้าที่ในการย่อยสลายพวกอินทรียวัตถุที่โคนต้น ยิ่งไม่มีกองทัพผลิตปุ๋ยจากทางดินก็ทำให้ใบแก่เหล่านั้น กรอบ ผุ แห้ง เหี่ยว หล่น ร่วง อย่าลืมนะครับพวกนี้เป็นแม่ครัวจอมเก๋า ยังทำงานอยู่ เขาเรียกว่าเป็นแบคอัพ คอยทำหน้าที่ซัพพอร์ต สนับสนุนใบอ่อน แต่ใบอ่อนนี่ก็ต้องตามที่เราเข้าใจกันดีว่าเทคนิคของการดูแลใบอ่อนในแต่ละช่วงของการปลูกทุเรียนก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญ ถ้าใบอ่อนออกมาหลังจากที่เกิดดอก คือต้องให้ออกพร้อมกับการออกดอกที่บอกคุยไปเมื่อวานว่าถึงจะดี หรือไปออกช่วงที่ระยะดอกบาน ออกช่วงที่ผลเท่ากับกระป๋องนมยังไม่เกิดเม็ดหรือเมล็ดข้างใน ทำให้ผลบิดเบี้ยว ผลเล็ก ผลไม่โต บางทีก็ไม่อยากให้มองว่ามันเป็นเรื่องสงครามระหว่างใบกับดอกและผล มันคือดอกกับดอกก็แย่งอาหารกันเองด้วย ผลกับผลก็บริหารจัดการให้ดอกผลมันเต็มต้นไปหมดไม่ดูกำลังต้น ไม่ดูกำลังใบ มันล้วนเกี่ยวดองหนองยุ่งกับเรื่องของความพร้อม ในการให้ต้นทุเรียนนั้น ติดดอกออกผลนะครับ ต้องระมัดระวัง คือโดยรวมแล้วใบแก่จะต้องดูแลเลี้ยงดูหลังเก็บเกี่ยวไปแล้ว ตัดแต่งกิ่งแล้วต้องรีบบำรุงปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกบำรุง ถ้ามันไม่ฟื้นจริงๆอาจจะต้องใช้ ทีจีเออะมิโน บวกพวกซิลโคเทรซ บวกไคโตซาน MT เข้าไปช่วย หรือบางคนก็จะโดฟด้วยอาหารจานด่วน เดี๋ยวนี้เรามีตัวที่สำเร็จรูปก็คือทีจีเออะมิโน ไคโตซานMT และซิลโคเทรซ ถ้าเอาแบบชีวภาพหน่อยจะเอาสูตรอาหารจานด่วนหน่อยก็น้ำ 20 ลิตร ไข่ไก่สด 2 ฟอง ตีให้เข้ากัน แล้วก็ใส่โพแทสเซียมฮิวเมท 10 กรัม ยูเรีย 20 กรัม จะบวกไคโตซาน บวกซิลโคเทรซ บวกทีจีเออะมิโน ร่วมไปก็ได้ อันนี้แล้วแต่ว่าท่านชอบแนวไหนก็ลองทำดู โดยรวมก็คือห่วงเรื่องของการเตรียมสภาพต้น ดินทราย ดินเหนียว ดินแห้งอะไรต่างๆ แต่โดยรวมใบแก่นั้นมีความสำคัญ ตัดแต่งกิ่งแล้วถ้าไม่บำรุงจะหลุดร่วง ทำให้กองทัพหรือแม่ครัวชุดแรกล้มหายตายจากตอนนี้ก็พึ่งแต่แม่ครัวมือใหม่ทันบ้าง ไม่ทันบ้าง ฉีดให้มันเล็กเรียว ควบคุมให้มันเป็นใบ ฝัก ดาบ มันก็ทำงานปรุงอาหารได้ไม่พอ ฉะนั้นต้องระมัดระวัง ก็อยากให้พี่น้องที่ปลูกทุเรียน ไม่อยากให้เป็นอาชีพที่ล้มหายตายจากไปอีกเพราะว่าเกษตรกรเราก็ลดลงเรื่อยๆ  

  มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปอลดสารพิษ www.thaigreenagro.com

×