วันนี้เราจะมาพูดคุยกันถึงแร่ บางคนก็เรียกว่าปูน บางคนก็เรียกวัสดุปรับปรุงดินที่ชื่อว่าโดโลไมท์ โดโลไมท์เป็นอีกแร่ชนิดหนึ่ง แต่ไม่ใช่หินแร่ภูเขาไฟ เป็นกลุ่มวัสดุปูนที่มีองค์ประกอบของตัวแร่ธาตุแคลเซียมเหมือนกับตัวฟอสเฟต เหมือนกับภูไมท์ซัลเฟตหรือภูไมท์หรือกลุ่มพวกหินแร่ภูเขาไฟด้วยเหมือนกันแต่ความแตกต่างของตัวโดโลไมท์กับหินแร่ภูเขาไฟ ตัวนี้เขามีความเป็นด่าง มีคุณสมบัติเอาไว้แก้ดินกรด ดินเปรี้ยว
มาดูในเรื่องขององค์ประกอบของโดโลไมท์
ที่จะใช้ยังไงให้เขียวและสังเคราะห์แสง
จุดเด่นของโดโลไมท์คือเขามีองค์ประกอบของแมกนีเซียมเข้ามาร่วมกับตัวแคลเซียมด้วย
แมกนีเซียมก็เนธาตุรองตัวหนึ่ง
ธาตุรองตัวนี้ก็ทำหน้าที่ในการทำให้ใบเขียวเหมือนฉีดพวกแมกทางใบแมกนีเซียมเหมือนฉีดสังกะสี
เหมือนฉีดปุ๋ยพวกไนโตรเจน มีปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยไนโตรเจน
ที่พ่อค้าปุ๋ยชีวภาพสมัยก่อนเวลาเขาจะขายปุ๋ย ขายอะไรต่างๆ
เขาจะเอาปุ๋ยยูเรียไปสเปรย์ ไปพรม พวกปุ๋ยต่างๆก่อนจะไปขาย ทำไมต้องไปใส่
หรือเวลาทำปุ๋ยน้ำขายก็แอบใส่ยูเรีย ใส่ยูเรียเพื่อเวลาชาวไร่ชาวนาชาวสวนฉีดปุ๊บเขียว
ชาวไร่ชาวนาในสมัยก่อนถ้าฉีดไม่เขียวไม่ซื้อ ทั้งๆที่เป้าหมายและวัตถุประสงค์ไม่ได้เหมือนปุ๋ยไนโตรเจนทางใบ
เอาไปฉีดเพื่อ ทำติดดอกออกผล ผลใหญ่ ต้องมีความเขียว ดังนั้นตัวที่ทำให้เขียวในโดโลไมท์
โดโลไมท์ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ เป็นที่นิยมมากในขณะนี้เพราะว่าราคาไม่แพง น้ำหนัก
20 กิโลกรัม ราคาแค่ 80 บาท
จริงๆแล้วคณสมบัติของโดโลไมท์ช่วยในเรื่องของการแก้ดินเปรี้ยว ดินกรด ดินที่มีค่า pH ความจริงแล้วกรดที่มีคาน้อยกว่า 7 ลงมา เรียกว่ากรด คือค่าเวลาไปวัด
ค่าตัวชี้วัด หรือตัว KPI หรือมาตรฐาน ถ้าเอาน้ำยาไปหยด
เอาเครื่องมือวัดที่เป็นเข็มไปจิ้มหรือใช้กระดาษลิสมัสอะไรต่างๆที่เป็นอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์คือตรงเลข
7 คือเป็นกลาง มากกว่า 7 ก็เป็นด่างหรือเป็นเบสน้อยกว่า 7 ก็มาเป็นกรดเป็นพวกแอซิด
แต่ทำไมผมบอกไม่พูดว่าน้อยกว่า 7 แล้วใช้โดโลไมท์ เพราะว่าน้อยกว่า 7
แต่ถ้าไม่ต่ำกว่า 5.8 ถือว่าดินยังดี
เขาเรียกว่ากรดเล็กน้อยแต่ถ้าเป็นภาษาชาวบ้านเขาเรียกว่ากรดอ่อนๆ
แต่เป็นภาษาวิชาการต้องเป็นกรดเล็กน้อย ช่วงระหว่าง 5.8-6.3 เขากำลังดี เวลารดน้ำดินเปียกแฉะ
ละลายแร่ธาตุสารอาหารในดิน รากพืชก็จะดูดซึมขึ้นไปหล่อเลี้ยงกิ่งก้านใบต่างๆ
เพราะว่าลำไส้พืชลำเลียงแร่ธาตุและสารอาหารต่างๆได้ดีในรูปของกรดอ่อนๆ
แต่ถ้าต่ำกว่า 5.8 มาเป็นกรดจัด กรดมาก มากที่สุด ตรงนี้ชักไม่ดีแล้ว
ดินเริ่มละลาย แร่ธาตุบางตัวที่มันชอบละลายในกรดจัดๆมันก็จะละลายออกมาเยอะ
พวกคอปเปอร์ ทองแดง แมงกานีส พวกนี้ก็จะละลายมาก มากที่สุด มากจนรากพืชดูดขึ้นมาและก็ไปส่งผลกระทบที่ใบทำให้ใบไหม้ได้
ดินที่เป็นกรดจัดมากเกินไปก็ทำให้ไนโตรเจน บางทีก็ถูกตรึงฟอสฟอรัส ถูกกัก
กินไม่ได้ เมื่อมีปัญหาดินที่ pH ต่ำกว่า 5.8 ลงมาเป็น 5.0 ,
4.5 , 4.0 , 3.5 ตัวนี้แหละครับโดโลไมท์ช่วยเพื่อนๆได้
ไม่ใช่โดโลไมท์ใช้แล้วดินโปร่งฟู ร่วนซุย อันนั้นเป็นผลพลอยได้เรียกว่า Out
come มันมีกระบวนการที่เรียกว่า Input คือใส่ปัจจัยการผลิต
Process แล้วได้ Output , Outcome เป็นผลพลอยได้อีกทีหนึ่ง
แต่ถ้าใส่แล้วดินโปร่งฟูร่วนซุย
จริงๆแล้วประหยัดเงินที่สุดต้องเป็นปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก เศษไม้ใบหญ้าต่างๆ เพราะฉะนั้นใช้อะไรต้องรู้ให้จริง
ดินทรายดินที่ถ้าปลูกพืชและก็ดินเปรี้ยวแต่ใบซีดจาง ใบไม่มีคลอโรฟิลด์
อันนี้ควรแก้ดินเปรี้ยวแล้วใช้โดโลไมท์
เพราะว่าโดโลไมท์ประกอบไปด้วยแคลเซียมและก็แมกนีเซียมในรูปคาร์โบเนต
โครงสร้างทางเคมี คือ Ca2 Camg2 และ Co3 เป็นโครงสร้างของกลุ่มวัสดุปูน
แต่ถ้าดินเปรี้ยวแล้วอยากจะให้รากของพืชงามดี เจริญเติบโตงอกงามดี
อันนั้นต้องเป็นฟอสเฟต แต่ถ้าดินเปรี้ยวแล้วมีเบี้ยน้อยหอยน้อย ปูนที่ถูกที่สุด
มากกว่าโดโลไมท์และฟอสเฟตก็ต้องเป็นพวกปูนมาน ปูนเปลือกหอย อันนี้ถูก
ถ้าสมัยก่อนแถวสี่คิ้ว แถวพระบาท เขาจะมีอุตสาหกรรมเป็นพวกเลื่อยหินอ่อน
ก็จะมีพวกขี้เลื่อยหินอ่อนก็เอามาใช้ ถ้าเป็นสมัยโบราณเลยก็ หอยกาบ หอยโข่ง
เอามาบด สมัยก่อนนี้ระบบนิเวศสมบูรณ์ ไม่มียาฆ่าหอย ไม่มียาฆ่าปลา
ไม่มีสารพิษเยอะไม่มีกุ้ง หอย ปู ปลา เก็บโกยหอยมาเป็นกระบุงๆก็กินเนื้อเสร็จก็เอาเปลือกไปสับโขก
ก็ไปปรับปรุงดิน ปลูกผักเล็กๆน้อยๆได้ เขาก็ใช้โดโลไมท์และฟอสเฟต
เมื่อกี้บอกไปแล้วว่าดินตรงนั้นจะไม่ค่อยมีแมกนีเซียม ปลูกแก้วเจ้าจอม ปลูกไม้นู้น
ไม้นี้ ใบโปร่ง ไม่เขียว ต้องการแมกนีเซียม ต้องแก้ดินเปรี้ยวและบวกตัวโดโลไมท์
โดโลไมท์มีแมกนีเซียมทำให้ใบเขียวเข้ม เพราะใบเขียวก็ซึมซับแสงแดด
ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสงที่เรียกว่าโฟโต้ซินทีซีส
เมื่อสังเคราะห์แสงได้ดีก็แสดงว่าแม่ครัวของพืชนั้นๆไม่ขี้เกียจ แอคทีฟ
เพราะว่าคลอโรฟิลด์เยอะ แม่ครัวก็เยอะ ก็มาปรุงอาหารสร้างคาร์โบไฮเดรต
สร้างสารอาหารต่างๆ ให้เกิดเป็นเซลลูโลส ลิกนิน เฮมิเซลลูโลส
สร้างไปเป็นกรดอะมิโนโปรตีน น้ำตาลต่างๆ ไปหล่อเลี้ยงแต่ถ้าใบพืชไม่เขียว ไม่เข้ม
มีแม่ครัวก็เหมือนแม่ครัวขี้เกียจ ไม่ทำงาน หรือเอาง่ายๆร้านอาหารร้านนี้เชฟไม่มี
เชฟที่ปรุงอาหารแบบขยันขันแข็งไม่พอ โดโลไมท์จึงมีประโยชน์ในเรื่องของการแก้ดินเปรี้ยวด้วย
แล้วก็ทำหน้าที่ในเรื่องของการสร้างคลอโรฟิลด์ แต่ปัญหาก็คือว่าถ้าดิน pH ของเราสวยงามอยู่แล้ว ค่า pH คืออยู่ระหว่าง 5.8-6.3
เป็นกรดเล็กน้อยแล้วจะใช้โดโลไมท์ไหม อยากได้แมกนีเซียม อยากได้แคลเซียมราคาถูก
จะใช้ไหมครับ เมื่อกี้บอกว่าถ้าดินไม่เปรี้ยว ดิน pH 7
หรือเป็นดิน pH ที่สวยอยู่แล้ว อยู่ระหว่าง 5.8-6.3
แต่อยากได้แมกนีเซียมก็ต้องตอบว่าถ้าใครใช้ได้ไม่คุ้มเสีย คือได้แมกนีเซียมจริง
ได้แคลเซียมจริง แต่ค่าความเป็นกรดและด่าง ค่า pH ดินมันจะเพิ่มขึ้นๆจากดินดีอยู่แล้ว
สวยอยู่แล้ว ค่า pH เป็นกรดเล็กน้อย 5.8-6.3 หล่อหลอมเลี้ยงดินอย่างดีอยู่แล้ว
pH ขึ้นมาเป็น 7 เป็น 8 เป็น 9 เป็น 10 ทีนี้ผลผลิตท่านจะหาย
ดินที่เป็นด่างมันจะไปไล่พวกแอมโมเนีย แอมโมเนียก็คือส่วนประกอบของปุ๋ยยูเรีย
ปุ๋ยยูเรียที่แตกตัวเป็นแอมโมเนีย เป็นไนไตรท์ ไนเตรท ไนโตรเจน พอดินที่เป็นด่าง
ปุ๋ยไนโตรเจนก็ได้รับน้อย สูญเสียไปมาก
ถ้าไม่ได้ทำเป็นปุ๋ยละลายช้าเอาไปเคลือบกับพวกภูไมท์ ไคลน็อพติโลไลท์ พูมิช พูมิชซัลเฟอร์
ยิ่งปุ๋ยตระกูลแอมโมเนีย ตระกูลไนไตรท์ ไนเตรท ก็จะยิ่งสูญสลายหายไปอย่างรวดเร็ว
เพราะฉะนั้นสำคัญมากว่าถ้าดินเป็นด่าง แล้วใส่ปุ๋ยแบบไม่รู้เรื่อง หลับหูหลับตาใส่
เงินซื้อปุ๋ยมา 100 บาท จะเป็นการทิ้งปุ๋ยไปกับอากาศ สายลม แสงแดด 30-40 หรือ 50% มากถึงขนาดนั้นทำให้เสียดายเงินว่าซื้อปุ๋ยมาแล้วพืชกินไม่ได้
จากการที่หวังอยากจะได้ตัวแมกนีเซียมกับแคลเซียมจากโดโลไมท์นั่นเอง
เพราะฉะนั้นถ้าเป็นกฎเหล็กของพี่น้องเราชาวเกษตรปลอดสารพิษ หรือไทยกรีนอะโกรเรา
กฎเหล็กคือ ถ้าดินไม่เปรี้ยวจัด ไม่เป็นกรดจัด เราจะไม่ใส่กลุ่มวัสดุปูนใดๆทั้งสิ้น
ไม่ใส่ปูนขาว ปูนเผา ปูนมาน โดโลไมท์ ฟอสเฟต แต่ดินด่างใส่ตัวอะไรได้
ใส่ตัวแคลเซียมซัลเฟต แคลเซียมซัลเฟตคือตัวยิปซัม ใส่กลุ่มโพแทสเซียมฮิวเมทได้
แก้พวกด่างในดินได้ นี่คือเรื่องราวของคู่หูคู่ซี้ของฟอสเฟตที่ชื่อว่าโดโลไมท์
อยากได้คลอโรฟิลด์ อยากได้ความเขียว ต้องโดโลไมท์แต่ดินต้องเปรี้ยว อยากได้การเพิ่มราก
รากเยอะ รองก้นหลุม ก็ต้องเป็นฟอสเฟต ทั้งฟอสเฟต ทั้งโดโลไมท์ ก็อาจจะมีเนื้อดิน
เนื้อหิน จึงเรียกว่าร็อคฟอสเฟต แต่ถ้าไปแถววิเชียรบุรี จะเป็นโดโลไมท์พวกเนื้อดิน
โดโลไมท์เนื้อดินก็จะละลายออกมาเป็นประโยชน์ต่อรากพืชได้ดี ได้ง่าย
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปอลดสารพิษ www.thaigreenagro.com
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมLine Official: https://lin.ee/3M1NXzfช่อง Youtube: https://bit.ly/3o1LAhKเพจ Facebook: Thai Green AgroCall Center: 084-5554205-9ไอดีไลน์: tga001-tga004เว็บไซต์: www.thaigreenagro.comTiktok: https://bit.ly/3vr5zdoTwitter: https://bit.ly/3q1DwQYShopee: https://shp.ee/kh94aiq
