วันนี้เราจะมาพูดกันถึงเรื่องของธาตุอาหารของพืชที่สำคัญมากๆ
โดยเฉพาะช่วงการติดดอกออกผล เพราะว่ามีส่วนช่วยในการทำให้
ดอกและผลนั้นไม่หลุดร่วงได้โดยง่าย ตัวธาตุอาหารที่สำคัญที่ได้พูดถึง คือ
ธาตุอาหารที่ชื่อว่า แคลเซียมกับโบรอน
ทำไมต้องเอามาพูดในประเด็นนี้ก็เนื่องด้วยว่าหลังจากที่เรามีการเผยแพร่และส่งเสริมให้พี่น้องเกษตรกรผลิตแคลเซียมโบรอนใช้กันเอง
ในครัวเรือน โดยได้แนวคิดมาจากท่านอ.สุวัฒน์ ทรัพยะประภา
เป็นผู้ที่พวกเราชาวไทยกรีนอะโกรได้อาศัย ได้แนวทางแนวคิดจากท่าน
เราก็เอามาเผยแพร่ แล้วเป็นที่นิยมมากๆในช่วงประมาณปี 2547-2548 ที่เอาไปให้กลุ่มผู้ปลูกมะนาว
ในสวนส้ม ในสวนมะนาว สวนส้มแถวรังสิต สวนส้ม
สวนมะนาวก็จะมีอีกที่หนึ่งแถวเพชรบุรีที่เป็นกลุ่มลูกค้าของเรา
เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องที่ดีว่า
วันนี้แคลเซียมของไทยกรีนอะโกรที่บอกว่าพร้อมใช้เป็นยังไงเดี๋ยวเรามาดูกัน
วันนี้เป็นเรื่องที่สำคัญโดยเฉพาะผู้ปลูกไม้ผลทั้งหลาย
ซึ่งถือว่าใช้แคลเซียมโบรอนเป็นยาสามัญประจำบ้านเลยก็ว่าได้
เพราะว่าตัวแคลเซียมโบรอน ตัวแคลเซียมอยู่ในหมวดธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารรองมีอยู่ 3
ตัว คือมีแคลเซียม มีแมกนีเซียม และมีกำมะถัน ธาตุอาหารหลักหลายคนก็ทราบดีอยู่แล้ว
พวกไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ธาตุเสริมพวกเหล็ก ทองแดง แมงกานีต สังกะสี โบรอน
ที่สำคัญทำไมแคลเซียมมักจะจับคู่กับโบรอน
เพราะเขาเป็นธาตุอาหารที่ไม่ค่อยเคลื่อนย้ายเองในกิ่งก้านใบ ในสรีระของพืช
หรือใช้คำว่าเคลื่นย้ายได้น้อย และแคลเซียมมีความสำคัญแม้กระทั่งในพืชพวกตระกูลบวบ
มะระ แตงกว่า อะโวคาโด อะไรต่างๆเหล่านี้ ถ้าขาดแคลเซียม
แรงดันภายในผลเขาดันยิ่งมีพวกปุ๋ยไนโตรเจน ฝนตกใหม่ๆ ฤดูฝน เขาจะเบ่งผล เบ่งดอก
เบ่งเซลล์ แคลเซียมเขาทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของเปปทีน ทำให้เซลล์มันยืดหยุ่น
ขยาย ไม่เกิดการฉีกขาด หรือแตก แต่ถ้าขาดแคลเซียมก็จะเป็นพวกโรคอีบุก โรคยุบ
โรคอะไรต่างๆ ก้นยุบ ผลยุบ ในมะเขือเทศ ในบวบ ในมะระ
ในแตงกว่าถ้าจากการที่แคลเซียม มีไม่เพียงพอ โดยเฉพาะดินที่เปรี้ยวแคลเซียมก็เคลื่อนย้ายถ่ายเทไม่ดี
หรือบางทีแสดงอาการขาดเลย แต่ถ้าคลเซียมพอ ผนังเซลล์ ผิวเซลล์ก็จะบวม เต่งตึง
ไม่ยุบ บางคนบอกขาดแคลเซียมแล้วทำไมเป็นโรคเน่าก็เซลล์มันยุบ เซลล์มันปริแตก
ก็ง่ายต่อการเข้าทำลายของพวกเชื้อราและก็แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคพืชนั่นเอง
เพราะฉะนั้นการที่เวลาติดดอก ออกผล ตัวโบรอนช่วยทำหน้าที่เป็นตัวจุลธาตุ
ทำหน้าที่ในเรื่องของการขยายรังไข่ เวลามีดอก รังไข่ใหญ่ ดอกใหญ่ ผลก็จะใหญ่ตามมา
ส่วนแคลเซียมก็จะทำให้เกสรตัวผู้ยืดยาวทำให้เกิดการผสมกับเกสรตัวเมียได้ง่าย
ช่วงที่ติดดอกออกผลจึงมีส่วนสำคัญอย่างมาก
เขาเคลื่อนที่ได้ด้วยตัวเองน้อยเพราะฉะนั้นเวลาเราใส่ในดินแคลเซียมก็จะถูกดึงถูกดูดได้ตอนที่พืชคลายน้ำ
พืชคลายน้ำแคลเซียมก็จะทำงานได้ดี เขาจึงนิยมใช้ตัวแคลเซียม
แคลเซียมถ้าเป็นพืชในกลุ่มตระกูลปูนก็จะมีอยู่ในทั้งปูนเปลือกหอย ปูนมาน ปูนเผา
โดโลไมท์ ฟอสเฟต ถ้าใครเตรียมตั้งแต่โดยเฉพาะพวกดินเปรี้ยวก็จะใส่ปูนส่วนใหญ่ก็จะไม่มีปัญหาในเรื่องของการขาดแคลเซียม
แต่ถ้าคนที่มีความเข้าใจดินดีอยู่แล้ว บางทีไม่ได้เติมปูน
หรือจะเติมก็กลัวว่าดินจะเป็นด่าง เขาก็ใช้พวกหินภูเขาไฟ
พวกภูไมท์ซัลเฟตให้แคลเซียมทางดิน ภูไมท์ซัลเฟตถุงสีเหลืองเขาเป็นการผสมผสานกันระหว่างหินแร่ภูเขาไฟกับตัวฟอสโฟยิปซั่ม
เอามามิกซ์กันเพื่อเติมความชัดเจน
เด่นชัดเรื่องของฟอสฟอรัสและก็แคลเซียมแล้วก็ซัลเฟอร์หรือซัลเฟต ทำให้ตัวธาตุหลัก
ธาตุรอง และก็ธาตุเสริม ในหินภูเขาไฟมีความโดดเด่นเน้นในเรื่องของการบำรุงได้ดีแต่อย่างไรก็ตามการที่เวลาที่ไม้ผลเขาติดดอกออกผลเขายังจำเป็นที่ยังจะต้องใช้แคลเซียมโบรอนให้ขั้วดอกและขั้วผลเหนียว
ปกติแล้วเราจะตรวจเจอแต่ในใบ
ส่วนในดอกในผลส่วนใหญ่แล้วถ้าดูแลมาตั้งแต่ต้นไม่ดีอาการขาดแคลเซียมโบรอนจะมี
เพราะฉะนั้น 2 ตัวนี้ก็จะทำงานใกล้เคียงกัน ใช้คำว่าทำงานเป็นทีมเวิคดีกว่าแคลเซียมโบรอนจึงมีการนำไปใช้เป็นยาสามัญประจำบ้านถ้าใครทำเกษตรเมื่อก่อน
จะมีแคลเซียมโบรอน
ทำเกษตรถ้าเป็นประสบการณ์ของพวกเราไทยกรีนอะโกรก็คือพวกสวนส้มรังสิต
สวนมะนาวเพชรบุรี และสวนทุเรียนแถวชุมพร แถวตะวันออก พวกจันทบุรี ระยอง คือจะมีตัวแคลเซียมโบรอนและขายกันลิตรละแพงมากๆ
เพราะว่าพวกนี้ต้องฉีดทุก 3 วัน 7 วัน
พอฉีดเข้าไปแล้วไม่เคลื่อนที่แต่ถ้าไม่มีแคลเซียมโบรอนอย่างเพียงพอ เวลาฝนตกทุกวัน
ฝนมีส่วนประกอบของไนโตรเจนมาด้วย เวลาเราเห็นฝนตกในท้องทุ่งนาริมถนน ผ่านไป 2-3
วัน หญ้าจะเขียวขจีขึ้นมาจากไนโตรเจน เพราะฉะนั้นตัวไนโตรเจน ทำให้เซลล์ เบ่ง
เต่งตึงอย่างรวดเร็ว ถ้าแคลเซียม ถ้าโบรอน ที่เป็นส่วนประกอบของเปปทีน
มีไม่เพียงพอความยืดหยุ่น ความนุ่มเหนียวน้อยลงก็จะทำให้ผลแตกและก้านดอกหลุดร่วง
เพราะฉะนั้นช่วงนี้เขาจะต้องเร่งฉีดตัวแคลเซียมโบรอน
ในช่วงนั้นแคลเซียมโบรอนก็แพง เราจึงแนะนำให้เกษตรกรผลิตแคลเซียมโบรอนใช้เอง
ถ้าจะใช้ส่วนประกอบตัวแคลเซียมไนเตรท แคลเซียมไนเตรทเป็นปุ๋ยสูตร 15-0-0
เราจะให้เพื่อนๆพี่น้องเกษตรกรใช้แคลเซียมไนเตรท 1.2 กิโลกรัม ละลายในน้ำ 20 ลิตร
กวนละลายให้เข้ากัน บางคนไปเอาแคลเซียมทางดินมาใส่ ก็จะเกิดไขลอย
ตัวนี้ต้องไปสับเอาหญ้าขนมาหั่นเป็นท่อนสั้นๆ
แล้วก็มาโรยบนถังน้ำและก็ช้อนเอาไขออกให้ไขมันติดกับหญ้าขน
ก็จะได้แคลเซียมไนเตรทมา เราก็จะใช้ตัวโบรอนพืชอีก 400 กรัม หรือ 4 ขีด
เพื่อผสมกันให้เกิดเป็นแคลเซียมโบรอน ตอนหลังๆมาเรามีสูตรแคลเซียมโบรอนสูตรซุปเปอร์
คือเราจะเติมตัวซิลิสิคแอซิด ซึ่งเป็นองค์ประกอบของแร่ธาตุซิลิก้าหรือซิลิกอน
ที่ไปเสริมเพิ่มประสิทธิภาพร่วมกับตัวแคลเซียม ทำให้ผนังเซลล์แข็งขึ้นไปอีก บวบ
มะระ แตงกวาอะไรต่างๆ เหลี่ยมจะคม ไม่เปราะหักง่าย มะเขือเทศไม่เป็นโรคอีบุก
เราทำเป็นหัวเชื้อแคลเซียมโบรอน ต้นทุนไม่กี่บาท ต้นทุนอาจจะไม่เกิน 200 บาท
ต่อน้ำ 20 ลิตร ก็เอา 20 ลิตรหารด้วย 200 ก็ตกลิตรละประมาณ 10 หรือไม่ถึง 10 บาท
จากซื้อเขาลิตรละหลายร้อยบาท เหลือลิตรละไม่ถึง 10 บาท 1 ลิตร หัวเชื้อ 20 ลิตร
มีแคลเซียมไนเตรท 15-0-0 1.2 กิโลกรัม กวนละลายให้เข้ากับน้ำครั้งที่ 1
บวกกับโบรอนพืช 4 ขีดหรือ 400 กรัม บวกซิลิสิคแอซิดอีก 500 กรัม
กวนละลายให้เข้ากัน แล้วใช้สารจับใบใส่ลงไปอีก 1-2 ช้อนแกง จะใช้น้ำยาล้างจานก็ได้หรือจะใช้สารจับใบของชมรมชื่อแอดจั๊สท์ก็ได้
ตัวนี้ปรับให้เป็นสีชมพูอ่อนได้โดยตรง
นั่นคือตัวที่เราจะได้แคลเซียมโบรอนที่ใช้เอง เอาไปฉีดในบวบ มะระ แตงกวา
เราก็มีการส่งเสริมแคลเซียมโบรอนเหล่านี้มายาวนาน
ทุกๆปีก็มีคนมาถามว่ามันมีง่ายๆกว่าไหม อยากจะใช้เลยมีไหม ใครไม่อยากผลิตเองก็สามารถที่จะใช้แคลเซียมโบรอนสำเร็จรูปชื่อว่า
ทีจีเอ แคล ตัวนี้ลิตรละ 300 บาท ใช้เพียงแค่ 10 หรือ 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
ตัวนี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการจดทะเบียนรับรอง หรือเรียกว่า ทส จากกรมวิชาการเกษตร
ก็มีมาตรฐานที่สบายใจได้ เอาไปฉีดทุเรียนในช่วงที่
ความจริงแล้วใช้ได้ตั้งแต่ช่วงไข่ปลาตาปู แล้วก็เหยียดตีนหนู ช่วงกำไล
ยาวไปจนถึงหางแย้ และยาวไปจนระยะผลอ่อนไม่ให้ผลปริแตก
เรียกได้ว่าใช้กันแบบไม่ให้ทุเรียนบิดเบี้ยว หงิกงอ ในพืชตระกูลปาล์ม
เขาก็จะมีโบรอนใส่ทางดินเลยเพราะว่าพืชตระกูลปาล์ม มะพร้าว ถ้าขาดโบรอน ใบ ยอด
ตรงกลางจะเป็นหงิกงอ มะพร้าวที่ไม่สมบูรณ์ แคระ แกน เตี้ย แล้วขาดโบรอนอีก
จนใบทางยอดของมันโค้งหงิกงอเป็นพญานาคอันนี้คือขาดโบรอนอย่างรุนแรง
ก็จะมีคนไปขอหวย จุดธูป เยอะแยะมากมาย ดูแล้วถ้าพืชตระกูลปาล์ม ตระกูลมะพร้าว
ใบเป็นคลื่นลอนขาดแคลเซียมและคนที่ปลูกมะเขือ มะระ แตงกว่า บวบ อะไรต่างๆช่วงติดดอกออกผลหรือบำรุงผลอ่อนต้องการให้
บวบผลยืดยาว ถั่วฝักยืดยาว แตงดีไม่หงิกงอก็ลองใช้ ทีจีเอ แคล
หรือแคลเซียมโบรอนแบบสำเร็จรูปไปเลยก็ได้ อาจจะใช้ร่วมกันกับซิลิสิคแอซิด
ใช้ทีจีเอ แคล 10-20 ซีซีกับซิลิสิคแอซิดปลายช้อนชาเพื่อเสริมการทำงานกับแคลเซียม
ก็จะช่วยทำให้ลดการหลุดร่วงของดอกผลและช่วยผสมเกสร ผสมเกสรดีก็ดก ดอกดก ผลใหญ่
ได้น้ำหนัก ฝากไว้ด้วย ทีจีเอ แคล แคลเซียมโบรอนของบริษัทไทยกรีนอะโกร
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปอลดสารพิษ www.thaigreenagro.com
