0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

แก้ปัญหาข้าวเหลืองเน่าเพราะเมาหัวซัง

แก้ปัญหาข้าวเหลืองเน่าเพราะเมาหัวซัง

เวลาทำนาแล้วข้าวเหลืองบริเวณเสาอินทรีย์เศษตอซังที่ย่อยสลายไม่หมดนั้นเขาเรียกว่าข้าวเมาหัวซัง หรือเมาตอซัง การดูแลปัญหา ไม่ใช่ข้าวเหลืองเพราะขาดปุ๋ยแต่เป็นเมาหัวซัง เวลาที่เราเก็บเกี่ยวไปแล้ว หน้าตอซังฝางข้าว จะทำให้มันเรียบ เพื่อจะล่อน้ำ บางทีก็ใช้จุลินทรีย์ขี้ควาย จุลินทรีย์หน่อกล้วย ปล่อยลงไปหน้าท่อระบายน้ำประมาณ 5 ลิตรต่อไร่ ล่อให้ท่วมให้เต็ม แล้วก็จะฉีดจุลินทรีย์ ฉีดฮอร์โมนไข่ ฉีดซิลิโคเทรซ ไคโตซานเพื่อกระตุ้น ในซิลิโคเทรซ จะมีพวก โมลิตินั่ม มีพวก ตัวที่ช่วยในการบำรุงให้เมล็ดเหล่านี้

งอกได้ดี  ไคตีนไคโตซาน ก็จะเป็นสารเร่งโต จะทำให้ข้าวแดงข้าวดีดงอกออกมา ประมาณ 3วันจะงอกเป็นปากนกกระจิบนกกระจอก พอมันเขียวปุ๊บเราจะปล่อยน้ำจากคุกคลิก ให้มันท่วมไปเลยซัก 10 -15 เซนติเมตร ถ้าใครทำต่อซังฝางข้าวให้มันราบเรียบก็จะดี วันที่ 3 มันงอกมาเขียวๆ รำไรเป็นปากนกกระจิบนกกระจอก ปล่อยน้ำพร้อมกับจุลินทรีย์หน่อกล้วยหรือจุลินทรีย์ขี้ควาย เพื่อมาช่วยย่อยต่อซังฝางข้าว และก็มาช่วยมาสานฝักจากเปลือกกล้วยหน่อกล้วย ทำให้มาปิดตุ่มตาให้ข้าวแดงข้าวดีด หรือหญ้ามันงอกได้ ทิ้งไว้ 4 วัน ให้มันเน่านิดหนึ่งวันที่ 7หรือวันที่ 8 ก็ปั่นหญ้า หมักเลย ย่ำให้ราบเลียบ ช่วงที่ย่ำก็เอาขวดน้ำใหญ่ๆ ใส่จุลินทรีย์ขี้ควายเยาะลงไปด้วย ถ้าทำนา 5 ไร่ ก็ต้องเยาะให้ได้ ไร่ละ 5 ลิตร ก็ 25 ลิตร เป็นการใส่จุลินทรีย์ย่อยรอบที่ 2 ปั่นย่ำให้หญ้าที่ข้าวแดงข้าวดีดที่มันงอกออกมาแล้ว มันถูกใช้พลังงานอาหารในเมล็ด เราย่ำมันจะทำให้หญ้าและข้าวแดงข้าวดีดลดน้อยลง จะทำได้ดียิ่งขึ้นคือพื้นที่นาต้องราบเลียบแล้วทิ้งไว้ดูว่าหยิบตอซังฝางข้าวแล้วมัน ป่วยผุพังเหมือนกระดาษเช็ดชู ล่อน้ำทิ้งแล้วก็ปั่นย่ำ  จะมีช่วงหนึ่งตรงนี้ที่เกี่ยวดองหนองยุ่งกับการเมาหัวซัง บางทีใช้รถตีคุบรถแทร็กเตอร์ตีนา พื้นที่สี่เหลี่ยมเวลาตีวงจะมีมุมคันนา หรือไม่พื้นที่ตรงกลางก็เหมือนกัน ถ้ามันเป็นที่ที่มีดอน ย่ำๆไป พื้นที่ดอนไม่สามารถกดให้ ตอวังฝางข้าวลงไปจมน้ำได้ ก็จะมีเศษต่อซังฝางข้าวอยู่ในเนื้อดินที่ไม่เน่าไม่เปื่อย และก็ตรงมุมคันนา ถ้าคนทำนาขยันก็จะใช้จอบไปสับมุม พอจอบสับน้ำมันท่วม รถแทร็กเตอร์รถตีคุบเข้าไปไม่ถึง ตรงนี้และเวลาเราเตรียมเทือกไถ่น้ำออก หว่านไปตกตรงมุมคันนาหรือที่ดอนตรงนี้จะเกิดปัญหาข้าวเหลืองระยะเวลาที่เขาจะเติบโตหลังแตกก่อ หรือช่วงที่ข้าวอายุ 7 วัน หรือ 15 วัน คือจะมีผล กระทบช่วงใดช่วงหนึ่งก็แล้วแต่ถ้าลงไปเหยียบย่ำสำรวจ ตรวจสอบตรงมุมคันนา แล้วมีตอซังฝางข้าวสดๆ อยู่ อันนี้ไม่ได้เป็นโรค ไม่ได้เป็นแมลง ไม่ได้เป็นเชื้อรา ไม่มีเพลี้ยกระโดสีน้ำตาล เหลืองแบบนี้บางคนคิดว่าขาดปุ๋ย ก็เอายูเรียไปซ้ำ  มันหวานเพลี้ยจักกะจั่น เพลี้ยกระโดสีน้ำตาล ถ้าเพื่อนทำนามานานจะสั่งเกตุได้ว่า เพลี้ย จะเข้าทำลายข้าวที่เป็นหล่มลึก  ตรงข้าวที่เป็นหย่อมทีไม่อวบอ้วนสมบรูณ์ ตรงนี้เวลาเราอัดยูเรียไป ข้าวจะเขียว อวบอ้วนเฝือใบ งาม เพลี้ยกระโดดก็จะมา ข้าวนั้นเหลืองแดงไหม้ล้มตายไป การที่ข้าวเหลืองนั้นเป็นกระบานการอย่างหนึ่ง เป็นกระบวนการของระบบอินทรีย์ เขาต้องการไนโตรเจนย่อยพวก เศษต่อซังฝางข้าว เวลาที่ตอซังฝางข้าวสดอยู่ เขาจะมีจุลินทรีย์มาช่วยสร้างกิจกรรมอยู่ การที่เมล็ดข้าวไปตกอยู่ที่มุมคันนาที่มีต่อซังฝางข้าวหนาแน่นอยู่ตรงนั้นจุลินทรีย์ก็จะแย่งไนโตรเจนจากข้าว เพื่อมาย่อยสลายต่อซังฝางข้าว จุลินทรีย์พวกนี้ก็จะดึงไนโตรเจนมาด้วย  แล้วก็เกิดแก๊สแอมโมเนีย และถ้าดึงเป็นกรด  ก็จะเกิดปัญหารากดำ  รากเน่า เกิดก๊าซ เรือนกระจก  พอข้าวมันงอกตรงต่อซังแล้วมันเหลืองจะถูกจุลินทรีย์แย่ง วิธีการแก้ไขจริงๆ ต้องทำให้ต่อซังฝางข้าว เปื่อยยุยเป็นปุ๋ยให้เรียบร้อยแต่ถ้าไม่ได้ก็ต้องเติมปุ๋ยยูเรียได้ แต่ไม่มีองค์ประกอบของแคลเซียม กับซิลิก้า เลยมันกินอย่างมูมมามเวลาที่ทำให้ต่อซังฝางข้าวเน่ายุบเปื่อยเป็นปุ๋ยแล้วไปบวกยูเรียที่ชาวไร่ชาวนาใส่เสริมไปอีก กลายเป็น เพิ่มโอเวอร์โดสยูเรีย ทำให้ข้าวตรงนั้นอวบอ้วนอ่อนแอ และก็เป็นสาเหตุในการนำเพลี้ยจักกะจั่นเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมาลงดังแปลงนาเรา วิธีที่ถูกต้องนั้นต้องผสมปุ๋ยยูเรียของเราให้เป็นปุ๋ยละลายช้า  หรืออาจจะหว่าน ตัวภูไมท์ซัลเฟต ถุงสีเหลืองเป็นหินภูเขาไฟบวกกับฟอสโฟ ยิปซั่ม เขาจะมีแคลเซียมกับตัวซิลิก้า แคลเซียม กับซิลิก้าทำให้ข้าวแข็ง ส่วนเจ้าภูไมท์ จะมีรูพรุนช่วยในการจับตรึงปุ๋ยส่วนเกินทำหน้าที่ในการเหมือนตู้เย็นพืช เก็บอาหารไว้ ไม่กินแบบมูมมาม ข้าวกินไนโตรเจนไปแล้ว ก็ดึงซิลิก้า แคลเซียม จากภูไมท์ ซัลเฟต สีเหลืองทำให้แข็งแกร่งไม่มีปัญหา ในเรื่องการเฝือใบ หรือเพื่อนๆไม่อยากใช้ยูเรียเปลืองเงินเยอะ  อาจจะใช้เป็นปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก บวกกับ 10 โล 10 ส่วน บวกกับภูไมท์ ซัลเฟต 2 ส่วน ก็ได้ แต่ถ้าเป็นปุ๋ยยูเรียก็  5 กิโลกรัม ต่อภูไมท์ ซัลเฟต 2 กิโลกรัม  1 ต่อ 5 หรือจะใช้วิธีการฉีดพ่นปุ๋ยที่น้ำชีวภาพ ตัว ฮิวมิทแอซิค จะไปแลกเปลี่ยน อาหารจากจุลินทรีย์ ก็จะแก้ปัญหาการเมาหัวซัง เป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุดหากเกษตรกรท่านใดสนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ

เขียนและรายงานโดย ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ

สอบถามเพิ่มเติมที่ 02-9861680-2 หรือ โทร 084-5554210 Hotline สายด่วน 084-5554205 -9 หรือ @thaigreenagro

เสนอติชมได้ที่ Email : thaigreenago@gmail.com

 

จุลินทรีย์หน่อกล้วยช่วยเกษตรกรไทย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Line Official: https://lin.ee/3M1NXzf
ช่อง Youtube: https://bit.ly/3o1LAhK
เพจ Facebook: Thai Green Agro
Call Center: 084-5554205-9
ฝ่ายวิชาการ : 02-9861680-2
ไอดีไลน์: tga001-tga004
เว็บไซต์: www.thaigreenagro.com
Shopee: https://shp.ee/kh94aiq

My wishlist

Product name Unit price Stock status
No products added to the wishlist
×