ปัจจุบันปัญหาทางดินที่พบมากในประเทศไทย
โดยส่วนใหญ่เกิดจากการใช้ปุ๋ยเคมีมาป็นระยะเวลานาน
จนเกิดการตกค้างและมีการปนเปื้อนสะสมอยู่ในดินและน้ำ
ทำให้ดินเสื่อมสภาพลงส่วนใหญ่ดินที่มีปัญหาจะเป็นดินที่ทำการเกษตรในส่วนของพืชไร่
อาทิ พื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง อ้อย ข้าว และข้าวโพดปัญหาทางดินที่พบ ได้แก่
ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ปัญหาดินแน่นทึบ ( ดินดาน ) อีกทั้งปัญหาดินกรด-ดินด่าง
ทั้งหมดนี้เป็นปัญหาที่เกษตรกรไม่ควรมองข้ามและควรมีการจัดการบำรุงดินเพื่อที่จะส่งเสริมผลผลิตที่มีคุณภาพและยั่งยืน
ดินเปรี้ยวจัดหรือดินกรดกำมะถัน
(Acid sulphate soil) เป็นปัญหาที่เกษตรกรพบเจอกันบ่อยมาก
แต่แค่ไม่รู้สาเหตุว่ามันเกิดอะไรกับดินเรากันแน่ มาค่ะวันนี้ทาง TGA (
Thaigreenagro) จะมาคลายข้อสงสัยและแนวทางการแก้ปัญหา โดยไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและโครงสร้างของดินแถมยังช่วยบำรุงดินและเสริมเสถียรภาพให้กับผลผลิตทางการเกษตรได้อีกด้วยน๊า…
แอบกระซิบนะคะว่าชมรมเกษตรปลอดสารพิษของเรามีผลิตภัณฑ์ตัวเด็ดตัวดังที่จะมาช่วยแก้ปัญหานี้ได้
ราคาสบายกระเป๋าแถมยังปลอดภัยไร้กังวลเรื่องสารเคมีตกค้างอย่างแน่นอน!!แต่..ก่อนอื่นเลยนะคะเราต้องมาทำความรู้จักเกี่ยวกับข้อมูลและลักษณะดินเปรี้ยวจัดหรือดินกรดกำมะถันกันก่อนน๊า…...
ดังคำที่ว่า “ถ้าเราไม่รู้สาเหตุของปัญหา เราก็จะไม่สามารถแก้ปัญหานั้นได้อย่างตรงจุดและยั่งยืนได้”
เข้าสู่บทความสาระดินกันเลย
ดินเปรี้ยวจัดหรือดินกรดกำมะถันโดยลักษณะของดินที่เราสามารถสังเกตและมองเห็นได้ด้วยตาเมื่อทำการขุดหรือไถลึกลงไป
ดินจะมีวัสดุซัลฟิวดิก (Sulphidic materials: FeS2) สะสมอยู่ภายใต้สภาพน้ำขังถาวรส่วนใหญ่เกิดในสภาพที่เป็นน้ำกร่อย (
Brackish water conditions ) แต่เมื่อมีการระบายน้ำออก FeS2 จะถูกออกซิไดซ์เปลี่ยนไปเป็นกรดซัลฟิวริก ซึ่งส่งผลทำให้ค่าพีเอช (pH)
ของดินลดลงกว่า 3.5 จุดสังเกตของดินลักษณะนี้จะพบจุดประสีเหลืองฟ่างข้าวของแร่จาโรไซต์
แร่จาโรไซด์เป็นยังไงกันนะ… นี่เลยเดี๋ยวทางเราจะแปะภาพประกอบไว้ให้นะคะแล้วอย่าลืมไปสังเกตดินในพื้นที่ของตัวเองกันนะคะ
โดยดินลักษณะนี้จะเป็นปัญหาในส่วนของธาตุอาหารเสริมที่มีสภาพเป็นพิษต่อพืช
ได้แก่ เหล็ก (Fe) แมงกานีส
(Mn) อะลูมิเนียม (Al) เป็นต้น ส่งผลให้เกิดกระบวนการตรึงฟอสฟอรัสในดิน
(Phosphorus fixation) ในสภาพที่ดินเป็นกรดเหล็กและอะลูมิเนียมทำปฏิกิริยากับฟอสเฟตไอออนเกิดเป็นสารประกอบฟอสเฟตที่ไม่ละลายน้ำ
และไม่ส่งผลดีต่อพืชอีกทั่งดินในลักษณะนี้ยังบ่งชี้ถึงธาตุอาหารพืชบางตัวยังมีไม่เพียงพออีกด้วย
ได้แก่ ไนโตรเจน (N) แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม
(Mg) และโมลิบดีนัม (Mo) ส่งผลให้เกิดการยับยั้งการทำงานของกระบวนการย่อยสลายจุลินทรีย์ในดิน
ทำให้รากพืชได้รับอันตรายโดยตรงจากความเป็น “กรด” ของดินนั้นเอง
โดยมีแนวทางในการจัดการดินสำหรับสภาพดินที่ไม่เหมาะสมโดยการใช้วัสดุปรับปรุงดิน
สำหรับดินที่มีค่าความเป็นกรด ค่าพีเอช ( pH )
จะน้อยกว่า 7 แนะนำให้ใช้ ปูน
แคลเซียม โดโลไมท์และฟอสเฟต
ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้คือวัสดุปูนที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
หากจะนำมาใช้กับดินควรมีการตรวจวัดค่าพีเอช ( pH ) ให้ดีเสียก่อน
เพราะโดยทั่วไปแล้วดินที่มีความเป็นด่างจะแก้ค่อนข้างยากกว่าดินที่เป็นกรดนั้นเอง
แต่หากเรารู้แล้วว่าดินของเรามีฤทธิ์เป็นกรดสามารถใช้ หินฟอสเฟต ( Rock Phosphate ) ซึ่งมีสารประกอบของแคลเซียมฟอสเฟต
และ โดโลไมท์ ( Dolomite ) มีประสิทธิภาพในการช่วยปรับสภาพความเป็นกรดของดินช่วยในการปลดปล่อยธาตุอาหารในดิน
เนื่องจากใช้ปุ๋ยเคมีมาเป็นระยะเวลานานปุ๋ยเคมีเกิดการสะสมปนเปื้อนอยู่ในดิน ซึ่งตัวโดโลไมท์
( Dolomite ) สามารถตอบโจทย์ช่วยแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยไร้สารตกค้างอีกด้วย
จะดีกว่าไหมหากเราหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์และใส่ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่ลดลง
เพียงเพื่อใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อส่งเสริมปุ๋ยอินทรีย์ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นนั้นเอง
“หากเรารู้จักวิธีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์กับปุ๋ยเคมีควบคู่กันให้เหมาะสม” สามารถลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้อย่างแน่นอน
หากมีข้อส่งสัยสามารถสอบถามข้อมูลได้
จันทร์-เสาร์ ตั้งแต่เวลา 08:00-17:00 น.
ช่องทางติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม www.thaigreenagro.com Tel.0-2986-1680,092-774-4905
บทความโดย คนึงนิจ
หอมหวล
ตำแหน่งนักวิชาการเกษตรบริษัท
TGA
(อดีตนักศึกษาภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)

