ถ้าหากจะกล่าวถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือที่คนไทยเรียกกันว่า
“ภาคอีสาน”
แต่หากจะกล่าวให้ลึกลงไปแล้วนอกเหนือจากวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่นและงดงามสืบเนื่องกันมายาวนานตั้งแต่บรรพบุรุษแล้ว
ก็คงหนีไม่พ้นความเป็นอีส๊านน...อีสาน นั้นก็คือ ความแห้งแล้ง ของพื้นที่การทำการเกษตรนั้นเองสำหรับบทความในครั้งนี้เราจะมากล่าวถึงในหัวข้อเรื่องสาระของปัญหาดินเค็ม
(Saline soil) โดยทางบริษัทไทยกรีนอะโกร TGA (Thaigreenagro)
จะมาบอกเล่าพร้อมกับเนื้อหาสาระความรู้และวีธีการแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาดและยั่งยืนให้แก่
ลุง ป้า น้า อา พ่อ แม่ พี่ น้อง ชาวอีสานกันนะคะ
โดยส่วนใหญ่แล้วดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีศักยภาพทางการเกษตรอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างต่ำ
เนื่องจากพัฒนาการมาจากวัตถุต้นกำเนิดดินสลายตัวมาจากดินทราย (Sandy soil) หรือดินทรายแป้ง (Silt) ทำให้อนุภาคดินเป็นดินเนื้อหยาบความอุดมสมบูรณ์ต่ำ อุ้มน้ำได้น้อย
ดินมีโอกาสขาดแคลนน้ำได้ง่าย นอกจากนี้ดินในพื้นที่ภาคอีสานยังพบเจอกับปัญหา ดินเค็ม
(Saline soil) ในหลายๆพื้นที่ ส่งผลให้เสถียรภาพในด้านผลผลิตลดลงและไม่คุ้มทุนหรือได้กำไรน้อยจากการขายผลผลิตทางการเกษตรในแต่ละช่วงของฤดูเก็บเกี่ยวนั้นเอง
แต่อย่างไรก็ตามในยุคโลกาภิวัฒน์ที่มีการเชื่อมต่อสื่อสารกันอย่างกว้างขวางในมุมมองของการแลกเปลี่ยนความคิดและแบ่งปันวิธีการแก้ปัญหาอย่างปลอดภัยและยั่งยืนด้วยผลิตภัณฑ์ของบริษัทไทยกรีนอะโกร
“ก่อนอื่นเลยเรามาทำความรู้จักและทำความเข้าใจเกี่ยวกับดินเค็มกันก่อนนะคะ”
สาระดินเค็ม (Saline soil)
ดินที่มีเกลือที่ละลายได้ อยู่ในสารละลายดินปริมาณมากจนส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช
อาจจะสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า จะมีคราบเกลือสีขาวบนพื้นผิว เรียกว่า White
alkali ดังรูปภาพ

เกลือที่พบโดยทั่วไปในพื้นที่ดินเค็ม
ได้แก่ เกลือคลอไรด์ (NaCl) และซัลเฟตของโซเดียม
แคลเซียมและแมกนีเซียม โดยส่วนใหญ่แล้วเป็นดินเกลือ หากมีปริมาณโซเดียมที่มากเกินไปมีผลเสียต่อโครงสร้างของดิน
ทำให้อนุภาคดินฟุ้งกระจายและวัตถุต้นกำเนิดของดินเค็มภาคตะวันออกฉียงเหนือ คือ
เกลือหิน (rock salt) ส่งผลให้เกิดปัญหากับดินในทางสมบัติฟิสิกส์
อันเนื่องมาจากความเสถียรของเม็ดดิน (Aggregate stability) ค่อนข้างต่ำสาเหตุมาจากการฟุ้งกระจายของดิน
ทำให้ดินมีความหนาแน่นรวมสูง ดินมีปัญหาการระบายน้ำและอากาศ
มีการดูดยึดความชื้นสูง (moisture retention) ก่อให้เกิดชั้นดินดานดินเหนียวซึ่งมีโซเดียมสูง
และในส่วนของปัญหาที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชและความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ดินเค็มจะยับยั้งการเจริญเติบโตของพืช
เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของแรงดันออสโมซิสในสารละลายดินทำให้รากพืชดูดน้ำและธาตุอาหารพืชได้ยากขึ้น
หากมีแรงดันออสโมซิสมากเกินไป จะทำให้พืชเหี่ยวและตายได้ โซเดียมที่มีปริมาณสูง
อาจเป็นพิษต่อพืชได้ เกิดอาการใบแห้งไหม้ตาย อีกทั้งคลอไรด์ยังส่งผลให้ใบแก่ของพืชไหม้
และลามตามขอบใบ ทำให้กระบวนการทำงานของจุลินทรีย์ทำงานไม่ได้
“อย่างไรก็ตามในทุกปัญหาทางบริษัทไทยกรีนอะโกรได้เล็งเห็นและมีความใส่ใจในรายละเอียดที่จะช่วยให้เกษตรกรแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างปลอดภัย
เงินเหลือใช้สบายกระเป๋า และเอื้อต่อระบบสิ่งแวดล้อมธรรมชาติให้มีความยั่งยืน “
สำหรับวิธีการแก้ไขปัญหาดินเค็มและทำการปรับปรุงดินเค็มให้กลับมามีสภาพค่าพีเอช
(pH) อยู่ในระดับเป็นกลางและเหมาะสมต่อการปลูกพืช
สามารถทำได้โดย อาจจะมีการลดระดับน้ำใต้ดินโดยการปลูกพืช เช่น ยูคาลิปตัส
ปรับปรุงคุณสมบัติของดินโดยการใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสดอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มความสามารถในการแลกเปลี่ยนแคตไอออนประจุบวก
(CEC) ช่วยเพิ่มความสามารถในการดูดซับธาตุอาหารให้มากขึ้น การใช้น้ำชะล้างเกลือที่มีอยู่ในดินให้ละลายออกไปเพื่อทำให้ความเค็มในดินเจือจางลง
แต่เนื่องด้วยวิธีที่กล่าวมาข้างต้นนี้อาจจะใช้ระยะเวลาในการแก้ไข ทางบริษัทไทยกรีนอะโกรจึงขอแนะนำผลิตภัณฑ์ที่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วและปรับสภาพดินได้อย่างยั่งยืนด้วยการใช้
หินแร่ภูเขาไฟ ในการปรับปรุงบำรุงดิน พูมิชซัลเฟอร์ (ถุงสีเหลือง)
จะมีประสิทธิภาพในการไล่เกลือออกจากเนื้อดิน และภูไมท์ซัลเฟตแดง (ถุงสีแดง)
ใช้ในการปรับปรุงสภาพดินเค็มโดยค่าพีเอช (pH) ตั้งแต่ 7
ขึ้นไป หากใช้คู่กันจะช่วยส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพในการไล่เกลือออกจากเนื้อดินได้รวดเร็วขึ้น
เพิ่มอากาศในดิน และเพิ่มการอุ้มน้ำได้ดียิ่งขึ้นหากมีข้อส่งสัยสามารถสอบถามข้อมูลได้
จันทร์-เสาร์ ตั้งแต่เวลา 08:00-17:00 น.ช่องทางติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม www.thaigreenagro.com Tel.0-2986-1680,092-774-4905
บทความโดย คนึงนิจ หอมหวล ตำแหน่งนักวิชาการเกษตรบริษัทไทยกรีนอะโกร
(ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ) (อดีตนักศึกษาภาควิชาปฐพีวิทยา
คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)

