0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

ดินนาเป็นสนิม ปลูกข้าวตายหมด จะแก้ปัญหาอย่างไร?

ดินนาเป็นสนิม ปลูกข้าวตายหมด จะแก้ปัญหาอย่างไร?

วันนี้เราจะมาพูดคุยกันถึงเรื่องของปัญหาดินสนิมในแปลงนาข้าวที่ปลูกพืชแล้วต้นข้าวแห้ง เหี่ยว เฉา ใบไหม้ หรือตาย ก็มาดูกันว่าปัญหาหรือสาเหตุและวิธีการที่จะดูแลแก้ไขนั้นจะทำอย่างไร เดี๋ยวเราคงจะมาดูกัน

                เรื่องของการทำนาปลูกข้าวก็เพราะว่าเข้าสู่ฤดูฝนเต็มตัวแล้ว เพื่อนๆที่ทำไร่ ไถนา เพื่อนๆที่รอน้ำฝน แม้ว่าจะตกตรงกับพื้นที่เพาะปลูกบ้าง ไม่ตรงบ้างแต่โดยรวมทั้งประเทศไทยนั้น ก็ถือว่าเข้าสู่ฤดูฝนแบบเต็มตัว ที่เอาเรื่องนี้มาก็เพราะว่ามีปัญหาจากเกษตรกร ทำนาอยู่แถวจังหวัดอยุธยา พอดีคุณพี่เขามีปัญหาดินเป็นสีสนิม ปลูกข้าวไปส่วนใหญ่ไม่ประสบความสำเร็จ ตาย ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องด้วยว่าดินที่เป็นสีสนิมส่วนใหญ่แล้วเป็นดินที่มีองค์ประกอบของธาตุเหล็กค่อนข้างสูง ธาตุเหล็กนั้นเป้นกลุ่มของจุลธาตุ จุล แปลว่า เล็กๆ นิดเดียว พืชใช้นิดเดียวหรือใช้น้อย แต่ไม่ได้แปลว่าขาดได้ ดินที่เป็นกรดจัดก็จะละลายพวกเหล็ก พวกนี้ออกมามาก ถ้าไปดู ไปตรวจวัด นาที่ใช้ปุ๋ยเคมีเป็นระยะเวลานานๆ ส่วนใหญ่จะมีปัญหาดินเป็นกรด พอดินเป็นกรดแล้วบวกกับการสะสมธาตุเหล็กหรือมีธาตุเหล็กอยู่ในธรรมชาติเหมือนทุ่งรังสิตที่มีธาตุเหล็ก เวลาเราไปไถพลิกฟื้นหน้าดิน ธาตุเหล็กที่ปกติแล้วอยู่ในเนื้อแร่ดินเหนียว บางทีเราเอาจอบไปขุดดินที่เหนียวดำ จะมีรูบัง มีรูเหมือนตามด เป็นโพรงก็จะเจอสีแดงๆปะปลายในพื้นที่ปกติ แต่ถ้าเป็นดินกรดจัด อย่างทุ่งรังสิตหรือแถวจังหวัดอยุธยา หรือในบางพื้นที่ที่เป็นกรดจัดแล้วมีธาตุเหล็กสะสมอยู่ในพื้นที่เวลาเราไถพลิกฟื้นหน้าดินธาตุเหล็กมาทำปฏิกิริยากับอากาศ เขาเรียกว่าอ๊อกซิเดชันกับอ๊อกซิเจนกับเหล็กเจอกันก็เกิดสนิม เวลาเราไปไถดะ ไถพรวน สีสนิมก็เยอะเพราะว่าไปทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ดินต่างๆเหล่านี้แค่เป็นกรดจัดหรือด่างจัดก็แย่อยู่แล้ว ถ้ามีพวกธาตุเหล็กมากเกินไปอีกก็เป็นพิษต่อต้นข้าวเพราะวันนี้เราคุยถึงเรื่องของต้นข้าว การแก้ไขไม่แน่ว่าเวลาเราไถพรวนทำนามาชั่วนาตาปีหลาย 10 ปี การใช้รถไถนาคันใหญ่ๆ คันละ 3 ตัน 5 ตัน ไถพรวน ไถดะ ผาน 7 ผาน 8 ไถลึกลงไปแค่ 20-30 ซม. รถไถนาคันใหญ่กดให้น้ำหนักของหน้าดินไปอัดลึกลงไประดับเกินที่ผาน 7 ผาน 8 จะทำงานลึกลงไปได้ ทำให้ดินชั้นล่างแน่น ไหนไหนจะแก้ปัญหาให้เหล็กที่อยู่ในดินที่ลึกลงไปขึ้นมาอาจจะต้องใช้ ผาน 3 ผาน 3 เพื่อกดหน้าดินให้ลึกขึ้นแล้วก็พลิกเอาเหล็กข้างล่างหมั่นทุกรอบการผลิตแล้วใช้การไถพรวนผาน 3 พลิกให้เหล็กที่อยู่ในเนื้อดินหรือความเปรี้ยวขึ้นมาทำปฏิกิริยากับอากาศ สายลม แสงแดด ให้จุลินทรีย์เขาได้ช่วยบ้าง เหมือนที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 เคยพพูดว่าที่แกล้งดินเปรี้ยว ที่หล่อน้ำให้ดินป่าพลุทำปฏิกิริยาเป็นกรดจัดจ้านแล้วก็ปล่อยน้ำให้แห้ง แล้วก็เอาน้ำมาล่อใหม่ให้ทำปฏิกิริยาให้เป็นกรดแล้วก็ปล่อยน้ำแกล้งดินให้เดี๋ยวเปียก เดี๋ยวแห้ง การแก้ปัญหาโดยการทำให้เหล็กจืด หรือดินกรดจืดก็ใช้วิธีการนี้ได้ การใช้ผาน 3 ก็เป็นการระเบิดดินที่แน่นมาอัดอยู่ด้านล่างด้วยเช่นเดียวกันก็จะช่วยเหมือนยิงปืนนัดเดียวได้นก 2 ต่อ เพื่อนๆที่ศึกษาหาข้อมูลเชิงลึก อาจจะไปดูเกี่ยวกับเรื่องของดินเบื้องต้น เป็นหนังสือปฐพีวิทยาเบื้องต้น ของสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะผู้จัดทำนำโดยท่าน รองศาสตรจารย์ ดร.ยงยุทธ โอสถสภา

ในนี้จะมีอธิบายเรื่องดินกรด ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดินด่าง พวกแร่ธาตุสารอาหารต่างๆ เยอะแยะมากมาย ก็มาฝากเผื่อเพื่อนๆที่ อยากจะรู้ลึก เจาะลึกลงไปในเรื่องของการแก้ปัญหาเรื่องดิน การที่เราจะทำนาปลูกข้าว ดินถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ในหนังสือเรื่องปฐพีวิทยาเบื้องต้นเขาก็จะบอกในเรื่องของการองค์ประกอบของดิน ดินจะต้องมีอินทรียวัตถุ 5% น้ำ 25% อากาศ 25% อนินทรีย์หินแร่ 45% จึงจะเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์มีความพร้อมโดยที่ไม่ต้องไปใส่ปุ๋ยเลยแม้แต่เม็ดเดียวก็สามารถทำให้พืชเจริญเติบโต องค์ประกอบที่พูดไปสักครู่ก็คือดินป่าเปิดใหม่ ที่ชาวเขาชาวดอยชาวไร่เขาถางป่า ก็จะได้องค์ประกอบของดินแบบนี้ในการเพาะปลูกเพราะฉะนั้น ดินนาที่เป็นสนิมเบื้องต้น เราอาจจะต้องหยุดการใช้ปุ๋ยเคมีลงบ้าง ทำไมต้องบอกว่าหยุดที่บอกว่าหยุดเพราะว่าเราใช้ดิน เราใช้ปุ๋ยเคมีกับดินมาเป็นระยะเวลานาน ปุ๋ยเคมีก็สะสมกรดซัลเฟตทำให้ดินเปรี้ยว และแข็งแน่น รากข้าวจะแผ่อยู่บนผิวดินไม่ลงลึกเข้าไปในหล่ม ในเทือก ในเลน ทำให้พื้นที่การหาอาหารของต้นข้าว หาได้เฉพาะด้านบนแต่ถ้าเรารู้จักการใช้พวกปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก งดการเผาฟาง เผาตอซังฟางข้าว ในตอซังฟางข้าวโดยเฉลี่ยที่ศูนย์วิจัยข้าวนานาชาติที่เรียกว่าอีรี่จากประเทศฟิลิปปินส์ เขาวิเคราะห์ว่าในฟางข้าว 1 ไร่ ที่ให้ข้าวเปลือก 1 ตัน จะมีไนโตรเจนอยู่ 7.6 กิโลกรัม ส่วนฟอสฟอรัส ส่วนใหญ่เป็นปุ๋ยตัวกลางที่ศูนย์เสียยาก สะสมอยู่ในดิน ข้าวใช้ฟอสฟอรัสแค่ 7 กิโลกรัม ในดิน 1 ไร่ เพื่อให้ได้ผลผลิตข้าวคือใช้น้อยมาก ส่วนโพแทสเซียมมีอยู่ 28.4 กิโลกรัม หมายความว่าถ้าเราไม่ไปเผา เราจะมีปุ๋ยไนโตรเจน 7.6 กิโลกรัม ปุ๋ยโพแทสเซียม 28.4 กิโลกรัม 7.6 กิโลกรัม เทียบกับปุ๋ย 16-20-0 1 ลูก เพื่อนๆบอกแล้วทำไมปุ๋ย 50 กิโลกรัม 16-20-0 ทำไมมันมี 16 แล้วมาบอกมี 7.4 หรือ 7.6 มันเท่ากัน ก็มันร้อยละ 16  16-20-0 คือ 16% แต่ตัวมันมี 50 กิโลกรัม ก็เท่ากับ 8 กิโลกรัม ในฟางมีอยู่แล้ว 7.6 กิโลกรัม ก็เกือบ 8 กิโลกรัม เพราะฉะนั้นการไม่เผาฟางก็เท่ากับรักษาปุ๋ย ถนอมปุ๋ยเอาไว้ 1 กระสอบ 1 กระสอบก็ 400-500 บาท หรือ 600 บาท บางปีบางฤดูกาล 0-0-60 แพงหน่อย 700-800 บาท ปุ๋ยตัวกลางฟอสฟอรัสหยวนไปว่าอยู่ในดินเหนียว ถ้าเป็นนาดินเหนียวฟอสฟอรัสแทบไม่ต้องใช้ การเผาฟางก็ทำให้เผาสิ่งมีชีวิต บางคนบอกว่าเผาคือการฆ่าเชื้อโรค งั้นก็แสดงว่าชาวไร่ชาวนาภาคกลางที่ผมเห็นเผาฟางแล้วไม่ต้องฉีดยาฆ่าเชื้อโรคเลย จริงหรือไม่ คาดว่าไม่จริง เพราะฉะนั้นการเผาฟางไม่ได้ช่วยแค่เชื้อโรคแต่แต่บรรเทาเกษตรกรที่ใจร้อนคือเกี่ยวเสร็จเผาเพื่อให้ย่ำนาทำเทือกได้เร็วและง่าย บางทีเผาไปแล้วน้ำไม่มาก็รอเป็นเดือนก็มีแทนที่จะเกี่ยวเสร็จและก็กระจายฟางและก็นาบให้ติดพื้นแล้วก็อาจจะฉีดพวกจุลินทรีย์สัตว์เคี้ยวเอื้อง จุลินทรีย์ขี้ควาย สูตรก็ไปดูใน www.thaigreenagro.com หรือyoutube:thaigreenagochanalฉีดจุลินทรีย์จากขี้ควายเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องที่ย่อยสลายได้ดีที่สุดในโลก หรือดีที่สุดในประเทศไทย เพราะในนั้นประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ที่ย่อยเซลลูโลส ลิกนิน เฮมิเซลลูโลส เป็นโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต ที่พืชเขาสังเคราะห์แสง ที่ใช้ตัวคาร์บอนไดออกไซต์กับน้ำเอามาทำให้เกิดโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรตหรือเรียกว่าคาร์โบไฮเดรตเชิงโครงสร้างทำให้เกิดเนื้อไม้ต่างๆเหล่านี้ วัว ควาย กินหญ้าเข้าไป มันขับถ่ายมาเปื่อยยุ่ยเป็นผุยผง ขี้วัวขี้ควายเพื่อนๆลองไปดูเวลาไปขุดแมงกุดจี่ เพราะลำไส้มันมี กระเพาะของเขามีการย่อย 4 ห้อง เวลาขับถ่ายก็จะติดพวกยีสต์ รา โปรโตซัว แบคทีเรียที่เป็นสายพันธุ์ย่อย เขาจะทำหน้าที่ช่วย วัว ควาย หรือสัตว์เคี้ยวเอื้อง แพะ จิงโจ้ ยีราฟ อูฐ ย่อย เพื่อนฉะนั้นเวาลาเอามูลพวกนี้ 1 กิโลกรัม หรือ 2 กิโลกรัม มาละลายกับน้ำสอาด 20 ลิตร ใส่ลูกแป้งข้าวหมากฆ่าเชื้อตัวร้ายออก บวกยาคูลล์ 1 ขวด เราจะได้จุลินทรีย์ที่ย่อยสลายดีที่สูดเราก็มาฉีดพ่อหรือราดหล่อตอนเตรียมเทือก ตอนน้ำมา หมักฟาง 7 วันและปั่นสักทีนึง ก่อน 7 วันเป็นการล่อข้าวแดง ข้าวดีด แต่ที่แน่ๆช่วยทำปฏิกิริยาลดเหล็ก ลดการอ๊อกซิเดชัน ความเป็นพิษของกรดและธาตุเหล็กได้ด้วย ตอนเตรียมเทือกถ้าจะไม่ให้ข้าวตายก็มีตัวที่ช่วยในเรื่องนี้โดยตรงและดีก็คือหินภูเขาไฟที่ชื่อว่าภูไมท์ซัลเฟต ตัวนี้เป็นเกรดคุณภาพแบบไทยๆ แต่ถ้าเป็นตัวพูมิชซัลเฟอร์ มีการเอาหินแร่ภูเขาไฟที่มีค่าความสามารถในการจับตรึงหรือแรงเปลี่ยนประจุบวกสูงกว่าหินในไทยเราก็ขึ้นอยู่ เลือกให้เหมาะกับตัวเราคนที่เขาปลูกทุเรียน ลองกอง มังคุด มันกิโลกรัมละหลายบาทเขาก็ใช้ของแพง แต่ของถูกก็ไม่ใช่ว่าไม่ดีก็เป็น standard เป็นมาตรฐาน ก็ใช้ภูไมท์ซัลเฟตร่วมกับจุลินทรีย์ขี้ควาย เขาจะช่วยทำหน้าที่เป็นวาฟเฟอร์ เป็นกันชน เป็นตัวบาลานซ์ สร้างสมดุลให้กับระบบนิเวศ ที่ผืนดินได้ 2 ตัวนี้ช่วยในเรื่องของการ ลดการสร้างท็อกซิน ของเหล็ก กับ ดินเปรี้ยว แล้วยังไปช่วยลดการเกิดตะไคร่พันกอของต้นข้าวได้ดีด้วย ตะไคร่น้ำเป็นพืชที่มีคลอโรฟิลด์สังเคราะห์แสง การใช้ตัวภูไมท์ซัลเฟต กับ ตัวพูมิชซัลเฟอร์ หว่านกระจาย 20-40 กิโลกรัม ต่อไร่ ก็จะไปตรึงไนโตรเจนส่วนเกิน อุ้มน้ำ อุ้มปุ๋ย ไว้ที่รากของต้นข้าว แล้วปล่อยไนโตรเจนที่พอเหมาะพอดี มิฉะนั้นก็จะมีไนโตรเจนส่วนเกินละลายกระจายไปทั่วผืนนาก็ทำให้เกิดเมือก เกิดตะไคร่ พันกอข้าว ตัวนี้ ตัวที่ช่วยในเรื่องของการลดท็อกซินที่ทำให้ต้นข้าวตายเพราะว่าเขามีรูพรุนมหาศาลจากหินภูเขาไฟที่ระเบิดจากใต้เปลือกโลกที่เจอแรงอัดแรงต้านมหาศาล เคลื่อนย้ายถ่ายเท เจอรอยต่อของเปลือกโลกก็ระเบิดพ่นออกมา บวม พอง ขยาย ก๊าซกับไอน้ำระเหยออก เย็นตัวลงก็เกิดรูพรุน รูพรุนตัวนี้ทางภาษาวิชาการเรียกว่า C.E.C ค่าความสามารถในการจับตรึงหรือแลกเปลี่ยนประจุ ตัวนี้ทำหน้าที่เป็นตัวจับพิษหรือเรียกว่าท็อกซินไบเดอร์ จับพิษในแปลงนาใครที่มีสารพิษเยอะ เดินไปแล้วใบหญ้าบาดขา เป็นโรคเนื้อตายจกยาฆ่าหญ้า เอาพวกภูไมท์ซัลเฟต ภูไมท์ พูมิช พูมิชซัลเฟอร์ หว่านกระจายก็จะช่วยล้างดิน ทำให้ดินมีความสะอาด ลดการระคายเคืองต่อเซลล์พืช ลดทำให้รากของข้าวสีขาวไม่เป็นรากดำไม่เน่า แล้วก็ใบจะตั้งชูแสง ซิลิก้าที่ละลายน้ำได้ ในภูไมท์ซัลเฟตกับพูมิชซัลเฟอร์ มีโซโลบอนซิลิกอน หรือตัวแร่ธาตุซิลิก้าเหมือนทราย แต่ทรายเป็นซิลิก้าที่อยู่ในรูปไม่ละลายน้ำเป้นโครงสร้างทางเคมีก็ SIO2 ส่วนหินภูเขาไฟพวกภูไมท์ พูมิช ภูไมท์ซัลเฟต พูมิชซัลเฟอร์ก็มีซิลิก้า SIO2 เหมือนกัน แต่มันเป็นป๊อบคอร์น เป็นหินเดือด หินลาวา ละลายแตกตัวเป็นโมโนซิลิสิคแอซิด หรือกลุ่มของซิลิคอนที่มีโครงสร้างทางเคมีที่มีตัว H4SIO4 ก็จะทำให้ละลายได้ง่าย รากพืชดูดไปสะสมในผนังเซลล์ ตั้งแต่ราก ลำต้น ก้าน กาบใบ แล้วก็ใบ ไปเพิ่มเมล็ดในเปลือกของข้าวมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น เพื่อนๆที่อยากจะเจาะลึกจะมีหนังสือเรื่องซิลิคอน ของ RED DANOF ที่มีการเรียก DR.ทั่วโลกมาประชุมสุมหัว สามารถค้นหาใน GOOGLE ได้เลยเขาจะมีเรื่องราวต่างๆที่นำมาพูด ที่แน่แน่ทำให้ข้าวเรานั้นนอกจากปรับโครงสร้างทางกายภาพของดิน ระบบนิเวศ เป็นบ้านของจุลินทรีย์ยังทำให้ข้าวนั้นทนต่ออากาศที่ร้อนจัด หนาวจัด ทนต่อดินที่เป็นกรดและด่างหรือเค็มจัดได้ดีอีกด้วย

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปอลดสารพิษ www.thaigreenagro.com

ทุเรียน เยี่ยมร้อยสวน ได้ร้อยสูตรเคล็ดลับอยู่ที่ดิน

Line Official: https://lin.ee/3M1NXzf
ช่อง Youtube: https://bit.ly/3o1LAhK
เพจ Facebook: Thai Green Agro
Call Center: 084-5554205-9
ฝ่ายวิชาการ : 02-9861680-2
ไอดีไลน์: tga001-tga004
เว็บไซต์: www.thaigreenagro.com

My wishlist

Product name Unit price Stock status
No products added to the wishlist
×