วันนี้เราจะมาพูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องของภัยแล้งที่ตอนนี้ในพื้นที่โซนภาคกลางซึ่งเป็นเขตพื้นที่ของไทยกรีนอะโกรและชมรมเกษตรปลอดสารพิษก็ทราบว่าตอนนี้ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในการทำเกษตรกรรมเป็นอย่างมากมีพี่น้องชาวไร่ชาวนาจำนวนมาก
ตอนนี้แปลงนาข้าวก็กำลังตั้งท้องแต่ปรากฎว่าขาดน้ำก็ทำให้ได้รับความเสียหายและก็ส่งผลมาถึงรายได้จึงอยากจะนำวิธีการที่จะมาช่วยเหลือผ่อนหนักเป็นเบาเกี่ยวกับเรื่องภัยแล้งต่างๆ
การที่จะเอาเรื่องของภัยแล้งมาเป็นตัวตั้งนั้นก็ทราบว่าอยากจะเรียนให้เพื่อนๆทุกท่านได้รู้ว่า
การทำการเกษตร หัวใจสำคัญ ปัจจัยหลักเลยคือน้ำ
เพราะว่าถ้าไม่มีน้ำ ต่อให้ฝีมือดี ความรู้ดี วิชาการดี
ก็ไม่สามารถที่จะประสบความสำเร็จในการทำอาชีพเกษตรกรรมได้
ตอนนี้ในพื้นที่ภาคกลางแม้ว่าจะอยู่ในเขตชลประทาน อาศัยน้ำจากเขื่อนภูมิพล จ.ตาก
เขื่อนสิริกิต จ.อุตรดิตถ์ และเขื่อนเจ้าพระยา ในสิงห์บุรี อ่างทอง
จ.ที่อยู่หน้าเขื่อนลงมา ใต้เขื่อนลงมา
จะมีหลักการที่ได้เคยเอามานำเสนอนั่นคือเรื่องของการเตรียมสระน้ำประจำฟาร์ม
เป็นสระน้ำแบบขนาดเล็กๆ
เพื่อเอาไว้พี่น้องเกษตรกรที่เวลาช่วงหน้าแล้งจะได้มีน้ำไว้อุปโภค บริโภค แต่เนื่องด้วยว่าสถานการณ์ปัจจุบันนั้นมีการใช้น้ำใต้ดินในปริมาณมหาศาลมีงบประมาณในการให้ไปขุดเจาะบ่อบาดาลทั่วทั้งประเทศ
ใช้งบเป็นหมื่นล้านบาท ปรากฎว่าขุดลงไปแล้วเจอประสบปัญหานานาชนิด
ไม่ว่าจะเป็นสูบน้ำลงไปไม่เจอน้ำแต่งบประมาณได้ถูกใช้แล้ว ขาดประสิทธิภาพ ทำให้การทำสระน้ำของเกษตรกรนั้นได้รับผลกระทบ
บ่อที่เคยกักเก็บน้ำดีเนื่องด้วยปริมาณน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาลนั้นมีแรงดัน
มีความชื้น อย่างสมดุลกัน พอน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาลถูกสูบขึ้นมาใช้อย่างมากมายมหาศาลทำให้สระน้ำที่เคยกักเก็บน้ำได้ดีแม้ว่าจะอยู่พื้นที่ที่เหมาะสมมีน้ำตลอดปีเดี๋ยวนี้ไม่มี
จึงเป็นที่มาว่าเราเคยเผยแพร่เรื่องของการใช้สารอุดบ่อที่ใช้สารอุดบ่อ 2 กิโลกรัม
กับ สเม็คไทต์ 100 กิโลกรัมเตรียมพื้นบ่อ เพื่อนๆสามารถไปดูวิดีโอย้อนหลังได้ที่ THAIGREENAGRO
CHANNAL ทางช่องยูทูปได้ ลักษณะการทำงานของเขานั้นไม่ได้เน้นในเชิงอุตสาหกรรม
ต้นทุนต่อไร่เพียงแค่ 1,500 บาท ถ้าต้องการหวังผลแบบเชิงวิทยาศาสตร์
หรือเป็นอุตสาหกรรมเปะๆ ว่าใช้แล้วต้องเหมือนแผ่นพลาสติก PE
มีต้นทุนเป็นแสนๆ หรือเป็นล้านๆ คงจะไม่เหมือนกัน
อันนี้หลักการคือเราไปทำให้ดินพื้นบ่อนั้นมีสภาพที่เหนียวหนึบมากขึ้น และก็จะแตกต่างจากแผ่นพลาสติก
PE เวลาเราไปปูที่พื้นระบบนิเวศใต้ดินและบนดินจะถูกตัดขาด
แต่ตัวสารอุดบ่อกับสเม็คไทต์ จะทำให้ดินนั้นมีสภาพที่เหนียวกักเก็บน้ำได้ดี สารอุ้มน้ำโพลิเมอร์
เป็นกลุ่มของคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านเทคโนโลยีในการบีบอัด ให้สามารถเก็บโมเลกุลเป็นเกร็ดแห้งๆเหมือนเกลือแต่จะมีลักษณะน้ำหนักที่เบากว่าแต่ปริมาตร
1 ส่วนเมื่อเอามาแช่น้ำจะสามารถดูดน้ำเข้ามาไว้ตัวของเขาเองมากถึง 200-400 เท่า
สารอุ้มน้ำ โพลีเมอร์ของ THAIGREENAGRO เรานำเข้าจาก
สหรัฐอเมริกาเป็นตัวที่เอามาใช้ในการเพาะกล้าไม้ เอามาผสมสีใส่ในขวดแก้ว ขวดโหล
สีส้ม สีฟ้า เมื่อเอาไปปลูกไม้น้ำ พลูด่าง ไม้ประดับต่างๆ
ในสมัยก่อนเวลาเราปลูกกฤษณา ปลูกสักทอง ปลูกปาล์มยาง เขาก็ใช้โพลีเมอร์รองก้นหลุม
บางทีปลูกป่าเป็น 100 ไร่ 1,000 ไร่
จะเอาไปอุ้มแช่น้ำในถังก็ไม่สะดวกจะใช้สารอุ้มน้ำโพลีเมอร์ตัก 1 ช้อนชา ต่อ 1 หลุม
แต่จะปลูกไม้ป่าเหล่านี้ช่วงต้นฝน
คือรองก้นหลุมแบบแห้งเอาไว้และใส่ต้นกล้ารอให้ฝนตก
พอฝนตกสารอุ้มน้ำโพลีเมอร์เหล่านี้ก็จะดูดซับน้ำเอามาอุ้มอยู่ในตัวได้ 200 เท่า
หมายความว่าถ้าใครไปเผลอกัน เด็กๆไปกิน 1 ช้อนแกง พุงอาจจะแตกตายได้เพราะมันจะบวม
200-400 เท่า น้ำ 200 ลิตรถ้าใส่สารอุ้มน้ำโพลีเมอร์ 1 กิโลกรัม หรือ 1 ลิตร
จะบวมได้เต็มถัง 200 ลิตร เพราะฉะนั้น สารอุ้มน้ำ โพลีเมอร์เหล่านี้มีประโยชน์มาก
ในการเอามาปลูกแตงกวา มะระ บวบ ฟักทอง รวมถึงพืชไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น
ทำให้เราไม่ต้องรดน้ำบ่อย อาจจะรดน้ำอาทิตย์ละครั้ง ครึ่งเดือนครั้ง
หรือเดือนละครั้ง ในการรดน้ำ คือต้องสอดคล้องสัมพันธ์กับต้นไม้ ต้นไม้ใหญ่
ต้นไม้ขนาดกลาง ต้นไม้ขนาดเล็ก ก็ดูดและคลายน้ำ ไม่เหมือนกัน
จะช่วยประหยัดเวลาในการรดน้ำได้เป็นอย่างดี
สารอุ้มน้ำโพลีเมอร์สมัยก่อนเราเคยนำไปหว่านตอนเตรียมเทือก ส่วนข้าวที่แล้งระยะ
2-3 เดือน อาจจะหว่านไปถึงโคนต้นนั้นลำบากหน่อยครับ หากเกษตรกรท่านใดสนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บริษัทไทยกรีนอะโกรหรือชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปอลดสารพิษ www.thaigreenagro.com
