หน้าแล้งไปหน้าฝนมาเรียกได้ว่าชาวนา
ชาวสวน ชาวไร่
อยากเราๆได้ยิ้มออกกันเลยที่เดียวหลังจากประสบปัญหาภัยแล้งกันมาอย่างยาวนาน
เช่นเดียวกับปัญหาต่างๆในโรคพืชที่เกษตรกร
ชาวสวน ชาวไร่ จะต้องพบเจอในช่วงหน้าฝนซึ่งจะพบบ่อยๆคือโรครากเน่าโคนเน่าวันนี้ผู้เขียนจะมาพูดถึงปัญหาโรคเน่าโคนเน่าที่เกิดกับเกษตรกรปลูกพริกขี้หนูซึ่งโรคนี้ถือว่าเป็นปัญหาหลักๆของเกษตรกรกันเลยที่เดียวครับทางผู้เขียนจะมาแนะนำวิธีการป้องกันและกำจัดเจ้าโรคเน่าโคนเน่าแบบฉบับชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
โรครากเน่าโคนเน่าหรือที่รู้จักกันดี
คือโรคเหี่ยวเขียว ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา
โรคนี้จะพบมากในดินที่มีสภาพเป็นกรดมากๆ หรือที่รู้กันว่าดินเปี้ยว
ดินชื้นมากเกินไป อาการของพริกที่ถูกโรคนี้ทำรายจะแสดงอาการมีใบเหลืองซีดๆ
หรือจะแสดงอาการจากยอดโดยตอนกลางวันต้นจะเหี่ยวคล้ายขาดน้ำ รากนะเน่ายืนต้นตายไม่รับปุ๋ยหรือยา จากนั้นจะค่อยๆเหี่ยวใบจะหลุดร่วงและแห้งตายในที่สุด
การป้องกันหากเป็นการทำพริกในพื้นที่ซ้ำแนะนำให้
ไถพรวนดินและตากดินทิ้งไว้3-5วัน
หลังจากนั้นให้ปรับสภาพดินด้วยกลุ่มหินแร่ภูเขาไฟ(ภูไมท์-ซัลเฟส ภูไมท์
พูมิชซัลเฟอร์)เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับเจ้าต้นพริกเพราะกลุ่มหินแร่ภูเขาไฟมีสิริก้าช่วยทำให้พืชแข็งแรงมีภูมิต้านทานกับโรคร้ายต่างๆได้
หลังจากนั้นให้ฉีดป้องกันด้วยอินดิวเซอร์(ไตโคเดอร์ม่า) ในอัตาส่วน 30-50
กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดให้ชุ่มโชกทั้งรากใบ โคนต้น ลำต้น ช่วงระบาดแนะนำให้ฉีด 3-5
วันครั้ง หากอยู่ในช่วงฉีดป้องกัน 7-10
วันครั้งครับเท่านี้ปัญหาเรื่องโรคเน่าโคนเน่าในพริกก็จะหมดไปหากเกษตรกรท่านใดสนใจหรือต้องข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
เขียนและรายงานโดย
ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
สอบถามเพิ่มเติมที่
02-9861680-2 หรือผู้เขียนพรพรรณ
ยิ้มสาระ
084-5554210
Hotline สายด่วน 084-5554205
-9 หรือ @thaigreenagro
เสนอติชมได้ที่ Email : thaigreenago@gmail.com
