0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

บาซิลลัสMT กับ สเม็คไทต์ ใช้ในการเลี้ยงสัตว์น้ำดีอย่างไร

วันนี้เรามาพูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องของการเลี้ยงสัตว์น้ำโดยอาศัยตัวช่วยหรือเครื่องมือในการที่จะดูแลแก้ไขปัญหาบ่อกุ้ง บ่อปลา ที่เราเอาปริมาณของกุ้งและปลามาเลี้ยงไว้ในบ่อของเราที่ฝืนความเป็นธรรมชาติ เพราะว่า ปลาที่อยู่ในห้วย หนอง คลอง บึง ทั่วไปแบบธรรมชาติมันไม่ได้อยู่หนาแน่น ประชากรต่อตารางเมตรไม่ได้เยอะ เหมือนเราเอาแหไปหว่านในบ่อในคลองที่เราเลี้ยงปลากันอยู่ดังนั้นตัวช่วยที่พวกเราพยายามจะไม่ให้พี่น้องเกษตรกรและเพื่อนๆที่เลี้ยงสัตว์น้ำไปใช้ปูน ใช้ยา ใช้เคมีในการเลี้ยง เราก็เลยจึงต้องเอาเกี่ยวกับเรื่องของตัวช่วยที่ชื่อว่า บาซิลลัส MT กับ สเม็คไทต์ ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ใช้ในการย่อยสลายขี้เลน ขี้กุ้ง อาหารปลาที่ตกค้าง รวมถึงตัวหินแร่ภูเขาไฟที่มีรูพรุนจากการหลอมละลายใต้เปลือกโลกที่เรียกว่าแมกมาแล้วก็ระเบิด พอง ขยายตัว ทำให้มีรูพรุนมหาศาลจับพวกแก๊สแอมโมเนีย ไนไตรท์ ไฮโดรเจนซัลไฟต์ และก็มีเทนในบ่อกุ้ง บ่อปลาที่มันขี้ ขับถ่ายของเสีย ของเหลวที่มันทับถมอยู่ที่พื้นบ่อ เดี๋ยวมาคุยมาเล่าให้ฟังกัน

                เพื่อนๆที่เลี้ยงปลา ปลาดุกที่เลี้ยงแบบวงซีเมนต์ บ่อซีเมนต์หรือเลี้ยงในหลุม แผ่นพลาสติก แล้วก็คิดว่าปลาดุกนั้นอดทนอยู่กับน้ำขุ่น น้ำเน่าได้ดี ต้องบอกว่า เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องมากนัก คือสิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะไม่ชอบสิ่งที่แออัดมีมลพิษเหมือนเราไปอยู่ในสลัม อยู่ริมน้ำโดยเฉพาะน้ำที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะคลองแสนแสบนี่ก็เรียกว่าเหมือนน้ำคำ มีกลิ่นเหม็นเพียงแต่ว่ามันไม่มีที่ไป เมื่อไม่มีที่ไปก็ต้องทำใจทนอยู่จนชิน แต่สุขภาพจิต สุขภาพกาย ระบบทางเดินหายใจถ้ารับพวกแอมโมเนีย พวกกลิ่นเหม็น ก๊าซไข่เน่า อะไรต่างๆทุกวันก็ทำให้สมอง การเจริญเติบโต ทั้ง IQ EQ ความเครียดก็จะต่างกับคนที่อยู่ในสวนสาธารณะ หรืออยู่ใกล้ปลอดกรุงเทพ หรืออยู่ในบรรยากาศที่มีโอโซนดี การเลี้ยงปลา หรือปลาดุกที่เราคิดว่ามันแออัด เบียดเสียด ตกคลักอยู่ในนั้นแล้วมันก็ยังโตได้ กินรสชาติของเนื้อก็จะมีกลิ่น มีกลิ่นทั้งคาวของอาหาร กลิ่นโคลน เพราะเราคิดว่ามันชอบหรือมันอยู่ได้ แต่จริงๆแล้วมันจำใจอยู่ ควรจัดสรรประชากรของ ปลา กุ้ง หรือสัตว์น้ำอื่นๆ ให้มันพอเหมาะพอดี จะได้ผู้เลี้ยงก็สบายใจ ผู้ถูกเลี้ยงก็ไม่ทรมาน ความเครียดจากการแออัดยัดเยียดและก็บวกกับน้ำเสียน้ำเน่าก็ทำให้ปลา กุ้ง หอย เครียด เมื่อเครียดก็กินอาหารได้น้อย ภูมิต้านทานก็น้อยก็มีโอกาสตาบอดเจ็บป่วย ลอยหัว หงายท้อง เมื่อมีปลาเน่า 1 ตัว ก็จะมีปลาทยอยตาย เพราะฉะนั้น ปลาควรปล่อยไม่ควรหนาแน่นเป็นหลายแสนตัวต่อไร่ อาจจะปล่อย 30,000 50,000 d6h’ก็ไม่ควรเกินแสนตัว เดี๋ยวนี้กุ้งกาวก็ ร้อยตัวโลก็กิโลละ 100 กว่าบาท ก็มีตั้งแต่ 100 ไปจนถึง 500 ขึ้นอยู่กับไซต์ว่า ถ้าเป็น 500 700 จะเป็นพวกกุ้งก้ามกราม กุ้งน้ำจืด ส่วนกุ้งขาวก็ทนกว่ากุ้งกุลาดำ โตเร็ว เมื่อก่อนปล่อยเป็น 300,000 500,000 ตัวต่อไร่ ทั้งๆที่อินเดียปล่อยกันอยู่ประมาณ 50,000 เต็มที่ก็ 80,000 ตัว ไม่ปล่อยจนหนาแน่นมากเกินไป การที่ประชากรของกุ้งและปลา ใครเลี้ยงปลานิลก็โลละ 40-50 บาท ปลาดุกก็แพงขึ้นมาหน่อย ปลาทับทิมก็แพงขึ้นมาอีกนิด เลี้ยงปลาดุกส่วนใหญ่อยากจะได้กำไรก็ต้องให้อาหารพวกเครื่องใน ส่วนใหญ่เกษตรกรจะลดอาหารสำเร็จรูป อาหารที่เป็นเครื่องในไก่ สัตว์ปีก การบูดเน่าเสียก็เยอะเช่นเดียวกัน ตามมาด้วยการเน่าเสียไปใช้จุลินทรีย์พวกที่หมักกากน้ำตาล จุลินทรีย์ที่หมักกับกากน้ำตาลไม่ใช่จุลินทรีย์โดยตรง โดยเฉพาะ เปรียบเหมือนเอากุ้ย เอาจิกโก๋โนเนม มาช่วยในการย่อย คือมากิน มาเที่ยว มาเล่น มีเพื่อนก็เหมือนมีเพื่อนกินเพื่อนเล่นมากกว่า แต่เพื่อนที่มาทำงานน้อย เพราะฉะนั้นการใช้ตัวช่วยที่ผ่านการวิเคราะห์ วิจัยโดยเฉพาะอย่างบาซิลลัสซับทิลิส MT ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษหรือไทยกรีนอะโกร ตัวนี้เป็นจุลินทรียืที่เขาวิเคราะห์วิจัยว่าให้ย่อยพวกปลาป่น กระดูกป่น โปรตีนต่างๆโดยเฉพาะเนื่องด้วยว่าอาหารปลาเขาก็มีปริมาณโปรตีน เปอร์เซนโปรตีนในเนื้อของอาหารสูง กุ้งกับปลาลำใส่ยาวไม่กี่ขดไม่น่าจะถึง 10 เซนติเมตรด้วยซ้ำ หรือไม่เกินฟุตนึง ขดไปขดมา เพราะฉะนั้นกินอาหารผ่านกระบวนการย่อยสลายที่เรียกว่าเมธาบอริซึม ให้ย่อยยังไงก็โปรตีนไม่หมด คำว่าย่อยโปรตีนไม่หมดก็คือเอาโปรตีนย่อยไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายเขาแล้วก็ยังเหลือโปรตีนเพราะว่าบริษัทที่ขายอาหารนี้ก็แก่งแย่งตัวเลขที่สูงเอามาโชว์ อวดลูกค้า ยี่ห้อ A มีโปรตีน 90% ยี่ห้อ B ก็ต้อง 95% ยี่ห้อ C ก็ 97% หรือ 98% 99% เพราะโปรตีนยิ่งสูงบ่งบอกถึงว่า คุณภาพ ปริมาณที่ทำให้ปลาโตเร็วได้ด้วย แต่จริงๆแล้วมันก็เกินความต้องการของตัวปลา หรือกุ้ง หรือสัตว์น้ำต่างๆนั่นเอง การที่เราใช้บาซิลลัส MT อย่างเดียว บาซิลลัสหรือจุลินทรีย์ย่อยพวกขี้เลน ขี้กุ้ง ขี้ปลา อาหาร ที่มันตกค้าง บูดเน่าอยู่ที่ก้นบ่อแล้วก็ก่อให้เกิดกลิ่นมลภาวะกระจายฟุ้งกระจายไปทั่วพื้นแล้วก็ไปกับน้ำ ของเสียพวกแอมโมเนีย ไนไตรท์ที่ เข้มข้น หนาแน่น อยู่ในเนื้อน้ำ ถ้าแอมโมเนียมากหนาแน่นเกินบางทีกุ้ง ปลา มันขับของเหลวออกมาไม่ได้คือของเหลวหรือฉี่ปลา ฉี่กุ้ง ก็ขับถ่ายออกมาอยู่ในรูปของแอมโมเนีย ตัวแอมโมเนียถ้าอยู่ในตัวปลา เบาบางกว่าอยู่ในน้ำ เวลามันจะถ่ายมันก็เหมือนมีแรงดันจากภายนอก ทำให้ขับถ่ายไม่ออก ฉี่ไม่ออก ก็เป็นผลทำให้ปลาไม่โต ตายง่าย เครียด อ่อนแอ บาซซิลลัส MT ก็จะย่อยพวกเนื้อที่เป็นขี้เลน ขี้กุ้ง ขี้ปลา แล้วทำไมต้องมาสัมพันธ์กับตัวสเม็คไทต์ หรือ สเม็คโตไทต์ หรือไคลน็อพติโลไลท์ จะใช้ตัวใดตัวหนึ่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับจุดคุ้มทุนหรือคุ้มค่าของเกษตรกร ถ้าเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ปลาคาร์ฟแพงๆ ก็อาจจะใช้ไคลน็อพติโลไลท์ได้ ไคลน็อพติโลไลท์จะมีค่า C.E.C สูง ค่าความสามารถในการจับแก๊สพิษ แก๊สพิษก็คือพวกแอมโมเนีย ไนไตรท์ ไฮโดรเจนซัลไฟต์ มีเทน แต่ถ้าเป็นแบบกลางๆมาตรฐานทั่วไป ส่วนใหญ่ที่เป็นที่นิมยมมากที่สุดก็จะชื่อว่าสเม็คไทต์เกรดที่อยู่ระหว่างกลางๆ สเม็คไทต์กับไคลน็อพติโลไลท์ ก็คือสเม็คโตไทต์ อันนี้ก็เอาไว้เพื่อนๆศึกษาเพิ่มเติมทางเว็ปไซด์ไทยกรีนอะโกรหรือสอบถามฝ่ายวิชาการของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ การที่เราใช้บาซิลลัสซับทิลิส MT ร่วมกับสเม็คไทต์เพราะว่าเราไม่ต้องการให้ในบ่อกุ้ง บ่อปลาเรามีความเสี่ยงเลยต้องให้มีความเสี่ยงน้อยที่สุด เท่าที่จะทำได้ จุลินทรีย์ถ้าเราจะพูดให้เห็นภาพก็คือเหมือนเราขับรถไปทำงานเช้า เย็น ไป-กลับ ถ้าเราเจอหมาถูกรถชนเน่า ตายอยู่ข้างทาง ถ้ามีจุลินทรีย์ตามธรรมชาติ ถ้ามันตายอยู่บนถนน บนคอนกรีต บนราดยาง สังเกตได้เลยว่าเนื้อ พอจะย่อยจนเป็นกระดูกจะนานกว่าหมาที่เขาดึงแล้วเอาไปไว้บนดินข้างทางหรือตรงเกาะกลางถนนที่เป็นดิน เพราะว่าตรงดินอุณหภูมิจะเป็นกว่าบนถนนถ้าเป็นสายเอเชียหรือบนถนนที่เป็นคอนกรีต หรือราดยาง อุณหภูมิร้อน จุลินทรีย์มาช่วยย่อยก็น้อย แต่ถ้าเราเอาซากของสุนัขยิ่งฝังดินกลบแป๊บเดียวจะเหลือแต่โครงกระดูกอันนั้นที่หายไปคือจุลินทรีย์ เหมือนที่เราได้คุยกันเมื่อคลิปตอนก่อนว่าสรรพสิ่งจะถูกย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์หรือสิ่งมีชีวิตในดินนั่นเอง ไม่ว่าคุณจะเอาหิน เอาแร่อะไรต่างๆผ่านไป เพียงแต่ว่าย่อยช้าหรือย่อยเร็วเท่านั้นเอง พวกขี้กุ้ง อาหารกุ้ง พวกขี้ปลา อาหารปลาที่ตกค้างเช็คยอแล้วเหลือก็ต้องมีจุลินทรีย์ ถ้าเราให้จุลินทรีย์ในธรรมชาติมันไม่ทันเหมือนกับสุนัขที่ตาย เพราะว่าในบ่อกุ้งมันมีประชากรกุ้งหรือในบ่อปลามันมีหลายหมื่น หลายแสนตัว มันขับถ่ายมาทีเป็นแสนๆตัว เหมือนคนไปเที่ยวงานมหรสพ งานภูเขาทองกินลูกชิ้นแล้วทิ้งไม้เสียบลูกชิ้น ถุงพลาสติก ตื่นเช้ามาถ้าเป็นหนังกลางแปลงแบบต่างจังหวัด เศษขยะเต็มไปหมด บ่อกุ้งบ่อปลามันกินทุกวันมันขับถ่าย ขยะของเสียเต็ม น้ำก็เน่า ก็เสีย บูด น้ำเสียน้ำเน่า ปลา กุ้ง ก็มีปัญหาเพราะฉะนั้นจึงต้องเติมจุลินทรีย์ที่แต่เราไปเอาจุลินทรีย์ที่หมักกับพวกกากน้ำตาลที่มันเอาไปทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ เอาไปราดรดตอซังฟางข้าวให้ย่อยสลายเร็วมันก็คนละเรื่อง จุลินทรีย์ย่อยเซลลูโลส ลิกนิน เฮมิเซลลูโลส มันคนละเรื่องกับจุลินทรีย์ที่ย่อยโปรตีนปลาป่น กระดูกป่น อาหารสัตว์ที่เป็นพวกเมล็ดธัญพืชแข็งๆ มันจึงจำเป็นที่ 7 วันต้องมีพวกบาซิลลัสซับทิลิสใส่ลงไปครึ่งกิโลผสมน้ำสาดกระจายให้ทั่วบ่อ ใช้แค่ครึ่งกิโล ต่อบ่อ 1 ไร่ ต้นทุนก็ประมาณ 100 กว่าบาท โลละ 250 บาท ครึ่งโลก็ 125 บาท ก็ใช้ 7 วันครั้งเพราะมันกินทุกวัน ทีนี้มันย่อย สมมุติว่าซากหมาตาย สุนัขตาย มันย่อยเร็วถ้าย่อยไม่เร็วกลิ่น แก๊สต่างๆ ก็ระเหยโชยอยู่อย่างงั้นในหมู่บ้านก็ไม่ไหว เพราะฉะนั้นตัวที่จะมาจับกลิ่นจับแก๊สร่วมด้วยเพื่อให้กุ้งอยู่เหมือนอยู่ในโอโซน อากาศที่ดีก็ต้องมีตัวพวกหินภูเขาไฟ เพราะฉะนั้นเมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว เขาจึงใช้พวกหินแร่ภูเขาไฟพวกนี้ควบคู่กับจุลินทรีย์ พอจุลินทรีย์ย่อยเกิดแก๊สแอมโมเนีย ก๊าซไนไตรท์ ก๊าซไข่เน่า หรือไฮโดรเจนซัลไฟต์ ก๊าซมีเทน ในจุดที่ไม่มีออกซิเจน มีเทนก็จะเกิด ก็เอาพวกสเม็คไทต์ สเม็คโตไทต์ ไคลน็อพติโลไลท์ หว่านจับ กลิ่นก็ แก๊สก็น้อยลง มูลเหตุก็คือเนื้อของขี้ปลา อาหารปลา ขี้กุ้ง โปรตีนที่ตกค้างก็ถูกจุลินทรีย์ แต่ถ้าเราไปเอาจุลินทรีย์ที่หมักกับกากน้ำตาล ก็เหมือนเอาจิ๊กโก๋โนเนม เอาเพื่อนกิน เพื่อนเที่ยวมาแต่ไม่ทำงาน นึกภาพง่ายๆเวลาเรือโป๊ะน้ำตาลล่ม ที่เป็นข่าวอยู่บ่อยๆ แถวป่าโมก พอเรือน้ำตาลล่มพลิกคว่ำ จุลินทรีย์ในธรรมชาติก็บูมมากินเพราะว่ามันไม่ได้เป็นอาหารคัดเลือกที่เรียกว่า Select media มันเป็นอาหารที่ใครก็ต้องการ มันเป็นจิ๊กโก๋โนเนม ยีสต์ รา โปรโตซัวต่างๆก็กินได้ เมื่อกินได้มันก็บูมโตขึ้น เพิ่มปริมาณจาก 1 เป็น 2 2 เป็น 4 เพิ่มเป็นล้านๆ ทำให้อ๊อกซิเจนตรงนั้นเวลาน้ำที่เน่าจากเรือน้ำตาลล่ม มวลน้ำที่มีของเสียกับจุลินทรีย์พอมันรวมกับออกซิเจนขาด จุลินทรีย์นี้ก็ตาย ดรอป พอดรอปก็มีจุลินทรีย์ตัวใหม่เกิด เกิดมาบูมมากก็ดรอปน้ำจึงเน่าๆ พอมันผ่านไปตรงบริเวณไหน ปลาที่ สิ่งมีชีวิตในน้ำขาดอากาศ ปลาจึงมึนและลอย ชาวบ้านก็จะมาจับปลา ถ้าเราไปเอาจุลินทรีย์ที่หมักกับกากน้ำตาลหรือกินน้ำตาลทรายแบบนี้มากเกินไปก็ทำให้ปลาในบ่อของเราขาดออกซิเจนจากการบูม แต่คนที่ใช้ได้ ใช้ดี ใช้เป็นก็มี ที่คนที่เป็นปราชญ์ชาวบ้านมีความรู้เขาก็จะใส่ทีละนิดละหน่อยก็อาจจะได้ แต่ก็มีความเสี่ยงสำหรับคนที่ไม่มีองค์ความรู้ด้านจุลชีววิทยา เพราะฉะนั้นเขาก็มีความเป็นมืออาชีพว่าให้ใช้จุลินทรีย์ที่มีความเฉพาะเจาะจง สามารถใช้บาซิลลัส MT ย่อยพวกเนื้อ เศษขี้ เศษอาหาร เศษเลนที่พื้นบ่อ แล้วพอเกิดแก๊สก็ใช้สเม็คไทต์ประมาณแค่ 10 กิโลก็คือครึ่งกระสอบ ทุกๆ 15 วัน แล้วก็อีก 15 วัน จุลินทรีย์ใส่ทุก 7 วัน คำนวณมาแล้วต้นทุนเดือนหนึ่ง อาจจะใช้ประมาณไม่ถึงพัน 700-800 บาท 4 เดือนก็ประมาณ 3 พันกว่าบาท 3 พันกว่าบาทใส่ทุก 7 วัน ทุก 15 วัน ถ้าน้ำดี น้ำโปร่ง น้ำสะอาด จะขยับจากจุลินทรีย์จาก 7 เป็น 15 สเม็คไทต์จาก 15 เป็นเดือน 30 วัน ก็ยิ่งลดต้นทุน การทำเกษตร หรือเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา ก็ต้องทำจากใจ สังเกตด้วยตา สังเกตสภาพแวดล้อม เราจึงจะมีเงินเหลือ สมมุติว่า 4,000 แต่ขายกุ้งไร่นึงได้เป็นหลายแสน เป็นแสนๆ อย่าไปรอให้เกิดปัญหาแล้วค่อยมาใช้ การใช้จึงควรใช้ควบคู่กันเพราะว่าเราฝืนธรรมชาติอยู่ เราเอากุ้ง เอาปลา เอาหอย เป็นหมื่นๆแสนๆตัวมาไว้ในบ่อรวมกัน มันกินอาหารทุกวัน วันละ 3 มื้อ 4 มื้อ 5 มื้อ มันมีของเสีย มีขยะ มีมูลฝอย ต้องเพิ่มหน่วยเก็บขยะ เพิ่มเทศบาลให้มันสอดคล้อง สมดุลกัน จุลินทรีย์ย่อยเนื้อของเสียที่พื้นบ่อ พวกหินแร่ภูเขาไฟ พวกสเม็คไทต์ สเม็คโตไทต์ ไคลน็อพติโลไลท์ก็จะเป็นตัวจับแก๊สไม่ให้มันฟุ้ง กระจัดกระจายไปทั่วบ่อ กุ้ง ปลา ก็อยู่สบาย น้ำโปร่ง ออกซิเจนเยอะ น้ำ pH ไม่แกว่ง กลางคืนไม่เป็นกรดจัด กลางวันไม่เป็นด่างจัด แก้เรื่อง pH น้ำโดดหรือแกว่ง น้ำโปร่ง ไม่ต้องไปใช้สีน้ำเทียม สีน้ำเทียมอย่าไปใช้ คือมันได้ความสบายใจของเจ้าของที่มองไปแล้วน้ำสวย แต่กุ้งกับปลาชีวิตจริงก็คือน้ำมันเน่า เราไปใช้พวกปูน กรด ตะกอน ตะกอนที่มันลอยอยู่บนผิวน้ำพอมันถูกกรดตะกอนแล้วใช้สีน้ำเทียม ตะกอนที่มนจบไปที่พื้นบ่อมันไปทำยังไงต่อ มันก็ไปบูดเน่าต่อที่พื้นบ่อ แล้วกุ้งอยู่ที่ไหน กุ้งเป็นสัตว์ที่ต้องหลบอยู่ที่พื้นบ่อไม่ใช่เป็นสัตว์ที่จะมาเกาะขอบตลิ่งให้นกมาจิกกิน การที่มันเกาะขอบตลิ่ง ลอยหัว ลอยคอ ล่องไปล่องมามันบ่งบอกว่าบ้านข้างล่างมันเน่าเฟะ เพราะเจ้าของไม่ดูแลเอาใจใส่ตัวช่วยได้ก้คือจุลินทรีย์บาซิลลัส MT กับสเม็คไทต์ สเม็คโตไทต์ ไคลน็อพติโลไลท์ ก็เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งใส่จุลินทรีย์ครึ่งกิโล ทุก 7 วัน สเม็คไทต์ทุก 15 วัน ถ้าน้ำมันดีก็ขยับไปเป็น 15 หรือ 30 วัน เรียกว่าเป็นคู่หูประจำฟาร์มเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงหอยแครง เลี้ยงปลาดุก ปลานิล ปลาเบญจพรรณ อะไรต่างๆใช้ได้หมด ถ้าเลี้ยงกุ้งควรมีใบพัดตีน้ำช่วย เอาไว้เวลาฝนตกน้ำแยกชั้น เอาอิฐบล็อก หินกดให้ใบพัดจมสักนิดหนึ่งเพื่อไม่ให้น้ำผิวด้านหน้าเกิดการแบ่งชั้นเป็นภาวะเรือนกระจกอันนี้เอามาฝาก เอามาคุยให้เพื่อนๆที่เลี้ยงสัตว์น้ำ กุ้งก้ามกราม เลี้ยงปลานิล ปลาทับทิม หอยแครง หอยแครงใช้ 2 ตัวนี้เลนจะดี เลนไม่เน่า หอยแครงก็รสชาติดี ออกลูกเยอะ โตเร็วก็ลองดู    

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปอลดสารพิษ www.thaigreenagro.com

×