0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

โรคขอบใบแห้งในข้าว

โรคขอบใบแห้ง เป็นโรคที่อยู่คู่กับท้องนาบ้านเรามาช้านาน โรคขอบใบแห้งของข้าวมีสาเหตุจากเชื้อ แบคทีเรีย Xanthomonas oryzae pv. oryzae (ex Ishiyama) Swings et al. เป็นโรคที่สร้างความเสียหายแก่ผลผลิตข้าวเป็นอย่างมาก พบการระบาดตามแหล่งปลูกข้าว โดยทั่วไปของประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ใช้ พันธุ์ข้าวอ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง สภาพอากาศที่มีความชื้นสูง เหมาะต่อการระบาดของโรคขอบใบแห้ง ประกอบกับสามารถพบได้ในข้าวทุกระยะการเจริญเติบโต สำหรับอาการของโรคนี้เป็นได้ตั้งแต่ระยะกล้า แตกกอ จนถึงออกรวง มีลักษณะช้ำที่ขอบใบของใบล่าง ต่อมาประมาณ 7-10 วัน จุดช้ำนี้จะขยายกลายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบข้าว ขอบแผลมีลักษณะเป็นขอบลายหยัก ใบที่เป็นโรคจะแห้งเร็ว แผลอาจมีหยดน้ำสีครีมคล้ายยางสนกลมๆ ขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุด หลุดไปตามน้ำหรือฝน ซึ่งจะทำให้โรคสามารถระบาดต่อไปได้ แผลจะขยายไปตามความยาวของใบ บางครั้งขยายเข้าไปข้างในตามความกว้างของใบ ในบางกรณีที่เชื้อมีปริมาณสูงเข้าทำลายทำให้ท่อน้ำท่ออาหารอุดตัน ต้นข้าวทั้งต้นจะเหี่ยวเฉาและตายโดยรวดเร็ววันนี้ผู้เขียน จึงอยากแนะนำวิธีการป้องกันกำจัดที่ถูกวิธีมานำเสนอให้กับเกษตรกรที่ทำนาได้ เตรียมพร้อมรับมือกับ โรคขอบใบแห้ง  ให้ใช้พันธุ์ข้าวที่ต้านทานโรค เช่น พันธุ์สุพรรณบุรี 60 สุพรรณบุรี 90 สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 2 กข7 และ กข23ควรเฝ้าระวังการเกิดโรคถ้าปลูกข้าวพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคนี้ เช่น พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 กข6 เหนียวสันป่าตอง พิษณุโลก 2  ชัยนาท 1 ในดินที่อุดมสมบูรณ์ก็ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมาก ไม่ควรระบายน้ำจากแปลงที่เป็นโรคไปสู่แปลงอื่น และใช้ ไบโอ-เซ็นเซอร์ (บาซิลลัส ซับทิลิส)ฉีดพ่นเพื่อป้องกันและกำจัดในอัตรา50กรัมต่อน้ำ20ลิตร ฉีดพ่นให้ครอบคลุมบริเวณส่วนบนและส่วนล่างของใบข้าว จึงจะสามารถควบคุม โรคขอบใบแห้ง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฉีดพ่นทุกๆ7วันครั้ง ควรฉีดตอนแดดอ่อนๆ ช่วงเช้าตรู่ ถ้าพบระบาดมาก ควรฉีดพ่นติดต่อกัน 2 ครั้ง ใน 3-4 วัน โดยใช้อัตราส่วนผสมเท่าเดิม        ผู้เขียนขอแนะนำเพิ่มเติมว่า ก่อนที่จะนำเชื้อ ไบโอ-เซ็นเซอร์(บาซิลลัส ซับธิลิส)ไปผสมกับน้ำฉีดพ่น ขอแนะนำให้ใช้ ม้อยเจอร์แพล้นท์(สารเปียกใบ) เติมผสมกับน้ำก่อน โดยใช้อัตรา 10 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร  แล้วจึงค่อยนำเชื้อ ไบโอ-เซ็นเซอร์(บาซิลลัส ซับธิลิส)ใส่ลงไปแล้วกวนผสมให้เข้ากัน ประสิทธิภาพของม้อยเจอร์แพล้นท์(สารเปียกใบ)ทำให้เชื้อ ไบโอ-เซ็นเซอร์(บาซิลลัส ซับธิลิส)ทำงานและมีประสิทธิภาพในการดูดซึมเข้าทำลายโรคขอบใบแห้ง ได้ดียิ่งขึ้น  เทคนิคของผู้เขียนที่อยากแนะนำอีกอย่างคือ ใช้ พูมิช-ซัลเฟอร์ ในนาข้าวทุกครั้งที่มีการปลูกข้าว การใช้พูมิช-ซัลเฟอร์ร่วมกับปุ๋ยในนาข้าว ในสัดส่วน 1:1 กระสอบ หว่าน 25-30 กิโลกรัม/ไร่ ข้าวจะงามอยู่ประมาณ 3-4 สัปดาห์ ต้นและใบข้าวมีสีเขียวใบตองอ่อน ใบตั้ง ต้นแข็ง รากยาว รากขาวเยอะ ทนต่อลมและแมลง เนื่องจากพูมิช-ซัลเฟอร์เป็นหินแร่ภูเขาไฟและผสมด้วยธาตุอาหารต่างๆมากมาก ที่ช่วยสร้างรากเร่งการเจริญเติบโต ทำให้ดินร่วนซุย ปรับสภาพดินที่เป็นกรดและด่างให้กลับมาเป็นกลางเนื่องจากในตัวของพูมิช-ซัลเฟอร์มี พีเอส เป็นกลาง 6.5-7 ทำให้ใช้ได้ทั้งดินกรดและด่างอีกทั้งยัง มีซิลิก้า ในตัวด้วย ซึ่งทำให้พืช แข็งแกร่ง ลักษณะที่เห็นได้ชัดก็คือลำต้นแข็ง ใบตั้งชัน ทำให้โรคและแมลงทำลายได้ยากขึ้นจึงไม่ต้องฉีดยากำจัดแมลงบ่อย และช่วยลดการสูญเสียของปุ๋ยได้มาก แล้วค่อยๆปลดปล่อยปุ๋ยออกมาให้กับพืชทีละน้อยๆ ทำให้พืชมีสีเขียวใบตองอ่อน และเขียวนานกว่าเดิมหลายเท่า เพราะเหตุนี้อย่างไรล่ะครับ ที่ทำให้ประหยัดปุ๋ยและยากำจัดแมลงได้อีกมากเลยทีเดียว

บรรเจิด ยิ่งวงษ์

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

Line Official: https://lin.ee/3M1NXzf
ช่อง Youtube: https://bit.ly/3o1LAhK
เพจ Facebook: Thai Green Agro
Call Center: 084-5554205-9
ฝ่ายวิชาการ : 02-9861680-2
ไอดีไลน์: tga001-tga004
เว็บไซต์: www.thaigreenagro.com
×