0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

แก๊สไข่เน่า…เรื่องเศร้าๆของกุ้ง

          พี่ๆน้องๆที่กำลังประสบกับภัยแล้งไม่มีน้ำอุปโภค บริโภค รวมถึงน้ำที่ใช้ในการเกษตร เป็นที่ทราบกันดีว่าช่วงนี้โลกของเรากำลังเผชิญกับสภาวะอากาศที่แปรปรวนมาก ส่งผลโดยตรงต่อการเลี้ยงกุ้งเนื่องจากการจัดการฟาร์มยุ่งยากมากขึ้น มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคของกุ้งเป็นอย่างมาก พอกล่าวถึงการจัดการฟาร์มคงหนี้ไม่พ้นเรื่องแก๊สในบ่อเลี้ยง ที่คอยสร้างปัญหาสร้างความยุ่งยากให้ผู้เลี้ยงมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นกุ้งลอยหัว กุ้งป่วยเป็นโรค กุ้งมุดเลน กุ้งตาย ซึ่งเกิดจากแก๊สไข่เน่าที่หมักหมมอยู่นานบนพื้นบ่อ และนั้นก็ปัญหาที่มีผลโดยตรงต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตของกุ้ง

แก๊สไข่เน่า หรือที่ศัพท์ราชการเรียกว่าไฮโดรเจนซัลไฟด์ สาเหตุที่ชาวบ้านเรียกแก๊สไข่เน่าก็เพราะว่ามีกลิ่นเหม็นมากเหมือนไข่เน่านั่นเอง แก๊สชนิดนี้เป็นแก๊สพิษชนิดที่ว่าสามารถปลิดชีพกุ้งในบ่อให้ตายพร้อมๆกันได้ในปริมาณที่มากหรือทั้งบ่อ ซึ่งแก๊สดังกล่าวเกิดจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ในสภาวะไร้ออกซิเจนของแบคทีเรียชนิดหนึ่ง จากนั้นก็ปลดปล่อยกำมะถันหรือซัลเฟอร์ออกมา มากเข้าๆจนเป็นพิษต่อกุ้งหรือสัตว์น้ำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งสัตว์จะแสดงอาการคล้ายกับขาดออกซิเจน แต่จะรุนแรงกว่าการขาดออกซิเจน

สารอินทรีย์ที่หมักหมมในบ่อเลี้ยงส่วนมากมาจากขี้กุ้ง เศษอาหาร ซากแพลงค์ตอน ที่แทรกซึมฝังตัวในดิน หากลองขุดดินเลนขึ้นมาดู นอกจากจะเห็นเลนเป็นสีดำแล้ว ยังได้กลิ่นอันไม่พึงปรารถนาตามมาด้วย สาเหตุที่ดินกลายเป็นสีดำนั้นเป็นเพราะมีออกซิเจนไม่เพียงพอต่อกระบวนการย่อย เมื่อกุ้งที่หากินตามหน้าดินได้รับแก๊สโดยตรง ก็จะเริ่มป่วย ลอยหัว ค่อยๆตาย ชนิดที่ว่าแข่งกันตายแบบวันเว้นวัน ยิ่งเป็นช่วงที่ฝนตกใหม่ๆ อุณหภูมิต่ำ กุ้งจะมุดเลนทำให้ได้รับแก๊สพิษได้ง่ายขึ้น

แก้ปัญหาเบื้องต้นโดยการเปิดกังหันตีน้ำเพิ่มอออกซิเจน จากนั้นก็ดูดเลนสีดำเน่าเสียออกทิ้ง เปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่ระบายตะกอนของเสียที่ฟุ้งกระจายช่วงดูดเลนออก ขณะเปลี่ยนถ่ายน้ำควรตรวจเช็ค pH ควบคู่ไปด้วยป้องกัน pH แกว่ง โดยเฉพาะ pH น้ำบริเวณใกล้พื้นบ่อ อีกวิธีหนึ่งที่ไม่ต้องลำบากดูดเลนทิ้ง คือใช้บาซิลลัส MT 1 กิโลกรัมผสมน้ำเปล่าสาดให้ทั่วบ่อในปริมาณพื้นที่ 2 ไร่ เพื่อช่วยย่อยขี้เลน สิ่งปฏิกูลจากเศษอาหาร ซากสาหร่ายที่หมักหมมบนพื้นบ่อจนก่อให้เกิดแก๊สไข่เน่า จากนั้นก็หว่านสเม็คโตไทต์ ตามลงไปในอัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อจับแก๊สไข่เน่าที่เกิดจากขบวนการย่อยของจุลินทรีย์ในบ่อ ซึ่งอาจรวมไปถึงบาซิลลัส MT

วิธีหลังจะเป็นที่นิยมของผู้เลี้ยงกุ้งมากกว่าดูดเลนทิ้ง เปลี่ยนถ่ายน้ำแล้วหว่านปูนปรับค่า pH น้ำ เนื่องจากไม่สามารถแก้ปัญหา และลดปริมาณแก๊สไข่เน่าลงได้ ทำให้เสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายในการจัดการไปโดยใช้เหตุอย่างไรก็ตามการควบคุมแก๊สไข่เน่าที่ดีที่สุด คือการรักษาพื้นบ่อให้สะอาด รักษาระดับออกซิเจนให้อยู่ในระดับที่กุ้งต้องการ เท่านี้ปัญหาแก๊สไข่เน่าก็จะไม่กลายเป็นเรื่องเศร้าของผู้เลี้ยงกุ้งอีกต่อไป 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

Line Official: https://lin.ee/3M1NXzf
ช่อง Youtube: https://bit.ly/3o1LAhK
เพจ Facebook: Thai Green Agro
Call Center: 084-5554205-9
ฝ่ายวิชาการ : 02-9861680-2
ไอดีไลน์: tga001-tga004
เว็บไซต์: www.thaigreenagro.com
×