0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

เตรียมบ่ออุดสระกักเก็บน้ำรับหน้าฝน

วันนี้เราจะมาคุยกันถึงเรื่องของการจัดเตรียมบ่อขุดสระกักเก็บน้ำเพื่อรองรับหน้าฝนที่ใกล้หรืองวดเข้ามาทุกขณะในขณะนี้ซึ่งถ้าเป็นปฏิทินตามฤดูกาลนี้ก็จะประมาณเดือนพฤษภาคม

            เข้าสู่ฤดูฝนอย่างเต็มตัวคือเข้าสู่เดือนพฤษภาคม ฝน น้ำ สระ และพื้นที่การเกษตร ถือว่าเป็นรากเง้า เป็นหัวใจสำคัญของพี่น้องประชาชนคนไทยค่อนประเทศดังนั้นน้ำจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการที่จะรักษา คงไว้ และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสมบูรณ์แบบ เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ ดังนั้นจึงเป็นที่มาว่า วิธีการเล็กๆน้อยๆ เทคนิคเบื้องต้นในการที่เราจะนำน้ำมาเก็บรักษา หรือ สร้างแหล่งกักเก็บไม่ว่าจะเป็น ฝาย เขื่อน แก้มลิง หรือ เขื่อนเล็ก เขื่อนน้อยต่างๆลงมาสู่พื้นราบ เราจะมีวิธีการทำยังไงที่จะรักษาน้ำเพื่อไว้ดำรงชีพ และประกอบอาชีพเกษตรกรรมให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ดีกว่าปล่อยให้ลงไปสู่ท้องทะเลไปเสียส่วนมาก ความจริงแล้ว ประเทศไทยเรานั้นก็มีองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของการกักเก็บแหล่งน้ำ เยอะแยะมากมาย แต่เนื่องด้วยว่าการบริหารจัดการเราไม่เป็นเอกภาพมีกระทรวงที่ดูแลเกี่ยวกับเรื่องน้ำ เยอะแยะมากมายหลายกรมกอง ไม่ว่าจะเป็น กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เยอะแยะมากมาย กระทรวงมหาดไทย หรืออาจจะเป็นกระทรวงกลาโหมเวลารบทัพจับศึกก็จะมีหน่วยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องน้ำ การกระจายอำนาจลงมาสู่ท้องถิ่นก็ไม่ได้ทำมาอย่างเต็มที่ เวลาจะของบประมาณเวลาจะขออะไรต่างๆ ก็ต้องเข้าวิ่งเข้าวิ่งออก ไปที่ส่วนกลางซึ่งก็ใช้ระยะเวลายาวนาน จะให้กรมทรัพยากรน้ำ ขุด เจาะ บ่อบาดาล ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงปกติจะมีกรมทรัพยากรน้ำ กรมทรพยากรบาดาล หน่วยงานรัฐต่างๆที่ดูแลแหล่งกักเก็บน้ำที่เกิน 2 ล้าน ลูกบาศก์เมตรขึ้นไป ถ้าน้อยกว่า 2 ล้านลูกบาศก์เมตรลงมาก็จะให้พวกอปท องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อบต หรือ เทศบาลต่างๆ เวลามีงบประมาณจัดซื้อจัดจ้าง กรมทรัพยากรน้ำหรือกรมทรัพยากรบาดาลประสิทธิภาพหรือศักยภาพในการที่จะขุดบ่อบาดาลตามคำร้องขอได้อย่างเพียงพอกับภาพประชาชนหรือเกษตรกร ปีหนึ่ง 1400-1500 บ่อ ก็ไม่ทันก็ต้องไปขอแรงจากกระทรวงมหาดไทยซึ่งมีหน้าที่ในการดูแล ในการขุดเจาะบ่อบาดาลหรือเรื่องน้ำเพื่อการเกษตร อุปโภค บริโภคต่างๆ เมื่อมีการ link หลายหน่วยงานก็ไม่รู้ว่าเป็นเช่นไรทำให้ค่าแรงในการขุดเจาะบ่อบาดาลไม่ค่อยตรงกับความต้องการของเกษตรกร ไม่สอดคล้องกับต้นทุนที่แท้จริงเช่นชาวบ้านเขาขุดเจาะบ่อบาดาลไปขออนุญาตกรมทรัพยากรบ่อบาดาลแล้วมาเจาะ ใช้ความรู้ไม่ต้องระดับ Dr วิศวกร หรือ ปริญญาตรี ใช้ความรู้แบบ ป.4 แบบชาวบ้านขุดเจาะบ่อบาดาลได้เกือบทั่วราชอาณาจักร ต้นทุนประมาณ 800-1500 บาท ต่อเมตร แต่ถ้าเราให้หน่วยงานรัฐ มาขุดเจาะก็แพงขึ้นไป 3-4 เท่า เป็นเมตรละ 3000 4000 5000 ว่ากันไป จึงทำให้วิถีชีวิตของพี่น้องประชาชนคนไทยที่เคยได้ยินตั้งแต่อ้อนแต่ออก ในน้ำมีปลาในนามีข้าวมันไม่ค่อยสอดคล้องกับความเป็นจริงมากสักเท่าไร

            จึงมีความสำคัญในการที่เราจะจัดเตรียม น้ำ แหล่งน้ำ แหล่งกักเก็บน้ำ ให้มีประสิทธิภาพเพราะน้ำคือชีวิตของคนไทยหรือจะบอกว่าเป็นประชากรคนทั้งโลกก็ได้แต่คนบางประเทศที่เขาไม่มีน้ำ เขารวย แต่บ้านเราถ้าไม่ทำเกษตรแล้วมีสิทธิ์ที่คนค่อนประเทศนั้น จะอดตายได้ เพราะฉะนั้นพี่น้องประชาชนโดยเฉพาะอาชีพเกษตรกรรม ท่านต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องของแหล่งน้ำ ทำไมแหล่งน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง หรือโคกหนองนาต่างๆในปัจจุบัน ทำไมประสิทธิภาพในการกักเก็บน้ำ มันจึงลดน้อยถอยลงที่แหล่งน้ำลดน้อยถอยลงนี้ก็ส่วนหนึ่งเป็นไปได้ว่าโลกร้อนขึ้น สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงรวมถึงการดูดใช้ทรัพยากรน้ำใต้ดินอย่างมาก ทำให้แหล่งน้ำในระดับ 1 ระดับ 2 ที่ลึงลงไปมันแห้งขอดเพราะฉะนั้นน้ำผิวดินที่เก็บเป็น ห้วย หนอง คลอง บึง โคกหนองนาอะไรต่างๆ ทำให้ดินมันโศก มันโปร่ง มันซุย มันเป็นดินทราย สระน้ำประจำฟาร์ม ไร่นา ที่ถือว่าเป็นหัวใจหลัก ในการช่วยชีวิตของครอบครัวเกษตรกรเบื้องต้นเลย เราต้องช่วยตัวเองดูสระน้ำประจำไร่นาถ้าไม่มีแนะนำว่าถึงเวลาแล้วว่าที่เพื่อนๆจะต้องแบ่งพื้นที่ตามพระราชบัญญัติของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ให้แบ่งพื้นที่ 30 % ถ้าท่านไม่แบ่ง แล้วรอความช่วยเหลือจากภาครัฐในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน ผมเดาว่าชีวิตของท่านและครอบครัวท่านอาจจะหมดลมหายใจไปเสียก่อนดังนั้นการช่วยเหลือตัวเองถ้ามีสระน้ำแล้วมันกักเก็บน้ำไม่อยู่ ทางไทยกรีนอะโกรเราพยายามคิดค้นต่อยอดสืบสานปณิธาน การสู้ภัยแล้งต่อจากท่าน อ.ดีพร้อม ไชย์วงศ์เกียรติ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีวะวิทยามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรามีพวกสารอุดบ่อที่เป็นกลุ่มสารโพลิอะคลิลิกเป็นพี่น้องกันกับพวกโพลิเมอร์ สารอุ้มน้ำชนิดหนึ่งที่เขาเรียกว่า ครอสลิงค์โครพอลิเมอร์ บางคนบอกมันเป็นเหมือนกัน มันไม่เหมือนกันสารอุดบ่อจะเป็นอีกชนิดหนึ่งแต่มันมีลักษณะคล้ายๆกัน สารอุดบ่อตัวนี้เขาจะมาช่วยทำให้บ่อที่ข้างล่างถูกดูดน้ำไปใช้ทำให้ความชื้น ความสัมพัทธ์ต่างๆ มันเพี้ยนไปจากโลกที่ร้อน จากอุณหภูมิที่เปลี่ยน จากน้ำใต้ดินถูกสูบขึ้นมาใช้ดินมันก็โศก ตัวไส้ตะเกียงมันก็เหือดแห้ง ตะเกียงมันขาด เพราะฉะนั้นเราก็มาดูแลบ้านของเรา สถานที่เพาะปลูกของเราให้พร้อมต่อการเพาะปลูกนั่นคือต้องมีน้ำ สระน้ำ รอน้ำฝนเลย ความจริงควรขุดให้ลึกถ้าไม่อยากใช้พื้นที่ 30 % ท่านใช้วิธีการขุดให้ลึกลงไป ถ้าพื้นที่ติดกับเพื่อนบ้านความลึกต้องสัมพันธ์กับเขตติดต่อ เช่น จะลึก 7 เมตร เขตติดต่อท่านก็ต้องเว้นจากคันนาหรือเขตของเพื่อนบ้านมา 7-10 เมตร ถ้าท่านขุดลึกได้ 12-15 เมตร 8-15 เมตร มันสามารถกลายเป็นระบบเปิดของการสร้างธนาคารน้ำใต้ดิน เวลาฝนตกมาก็สามารถที่จะ แต่ต้องขุดเป็นรูปปากกว้างก้นแหลม ซึ่งโดยธรรมชาติรถแมคโคที่ขุดก็จะขุดแบบนั้นอยู่แล้ว แต่ถ้าเราไม่มีกำลังทรัพย์มากเพียงพอ ก็เอาตามที่เราต้องการอาจจะลึก 3 เมตร 5 เมตร 6 เมตร ยิ่งลึกก็ไม่ต้องใช้พื้นที่ใหญ่เกินไปเพื่อจะได้มีพื้นที่เพาะปลูกได้เยอะๆนั่นเอง มาดูว่าการใช้สารอุดบ่อมันจะช่วยทำให้ดินมีโครงสร้างทางกายภาพที่เป็นดินเหนียวอันนี้คือหลักการง่ายๆเลย คือทำให้ดินที่มันโปร่ง ฟู ร่วนซุยแบบทราย ให้กลับมามีคุณสมบัติเหมือนดินเหนียว แต่สารอุดบ่ออย่างเดียวมันเหมือนใช้คอนกรีตหรือซีเมนต์มันไม่มีทรายไม่มีหิน ไม่มีเหล็ก มันก็ไม่แข็งแรงเพราะฉะนั้นสูตรเบื้องต้นเราจึงใช้สารอุดบ่อ 2 กิโลกรัม กับหินแร่ภูเขาไฟ ที่ชื่อว่าสเม็คไทต์ 100 กิโลกรัม คลุกเคล้าให้เข้ากันเบื้องต้น ต้นทุนจะอยู่ประมาณ 1500 บาท ถ้าท่านไม่ได้เป็นสมาชิกสามัญ สมาชิกส่วนลดอะไรต่างๆ ไม่ใช่สมาชิกขายตรง ท่านจะจ่าย 1500 บาท แต่ถ้าท่านสมัครสมาชิกสามัญไม่เสียเงินแม้แต่บาทเดียวท่านจะได้ส่วนลด 5 % ราคาจะไม่ถึง 1500 บาท หรือจะชอบถูกอกถูกใจอยากจะสมัครเป็นสมาชิก VIP อันนี้จะเสีย 500 บาท ได้ส่วนลด 20 % 1500 ลดไป 300 เหลือ 1200 บาท ต้นทุนต่อไร่ ถ้าเพื่อนๆไปใช้แผ่นพลาสติก PE ต้นทุนน่าจะประมาณ 400,000-500,000 บาท หรือ 600,000-700,000 บาท ต่อไร่ มีต้นแบบอยู่ที่ปากช่องหรือเขายายเที่ยงเป็นแหล่งกักเก็บน้ำที่เขาสูบน้ำจากเขื่อนลำตาคลองขึ้นไปเก็บไว้ข้างบนแล้วก็ปล่อยลงมาทำกระแสไฟฟ้าขาดทุนทุกปีแต่ก็ไม่ทราบว่าทำไมจึงต้องทำอาจจะเป็นเรื่องของการรักษาระบบนิเวศ ต้นทุนไร่ละล้านกว่าบาท กลับมาสู่ ห้วย หนอง คลอง บึง หรือสระน้ำประจำไร่นาแบบพอเพียงอันนี้ต้นทุน 1500 บาท ในราคาเต็ม ถ้าท่านเป็นดินทรายมาก ร่วนมาก กักเก็บน้ำไม่อยู่มาก เราอาจจะใช้เทคนิคเพิ่มสารอุดบ่อ 2 กิโลกรัม สเม็คไทต์ 100 กิโลกรัม เป็น สารอุดบ่อจาก 2 เป็น 4 กิโลกรัมก็ได้ ต่อ 100 กิโลกรัม หรือ 6 กิโลกรัม ต่อ 100 กิโลกรัม ไม่มีผลเสียใดๆต่อระบบนิเวศหรือประโยชน์หรือคุณสมบัติในการกักเก็บน้ำ มีข้อเสียอยู่เรื่องเดียวคือต้นทุนในกระเป๋าของพี่น้อง ก็ลองเทียบดูว่า 1,500 บาท ถ้าเพิ่มขึ้นไปเป็น 2,000-3,000 บาท กับเงินที่จะซื้อแผ่นพลาสติก PE มันประมาณ 6-7 แสน แล้วแต่เกรด แล้วแต่ชนิด ตัวนี้ผมคิดว่ายังดีกว่าและที่สำคัญมีความยั่งยืนในระยะยาวก็คือว่าการใช้สารอุดบ่อกับสเม็คไทต์ไม่ไปปิดกั้นกับระบบนิเวศที่อยู่บนเหนือน้ำกับใต้ดินถ้าเราใช้แผ่นพลาสติก PE มาปิดกั้น ระบบนิเวศใต้ดิน กับเหนือผ้าใบบนผิวน้ำ มันจะถูกตัดขาดจากกันเหมือนมอเตอร์เวย์เหมือนถนนทางด่วนที่ตัดผ่านหมู่บ้าน เพราะฉะนั้นการใช้สารอุดบ่อปีละครั้ง 2 ครั้ง ใช้ทุกๆปีดินก็จะเหนียว การที่ใช้ครั้งแรกแล้วมันไม่เวิคก็ดินมันยังเหนียวไม่พอ หลักการง่ายๆเลย ไปซื้อตะกร้าสารพลาสติก ในตลาดนัดและใช้สูตรเบื้องต้นมาผสมน้ำคลุกเคล้าทำเหมือนผสมปูนเอามาชันหรือยาตะกร้าก็สามารถตักน้ำได้ขนาดตะกร้าสานพลาสติกยังตักน้ำได้ ทำไมเป็นบ่อมีความเหนียวเพียงพอก็จะทำให้แหล่งกักเก็บน้ำของเรานั้นสามารถที่จะกักเก็บปริมาณน้ำฝนได้ ปีชนปี คือคงจะไม่มากมายเพาะปลูกได้ 100 % แต่ที่แน่ๆมีให้เพาะปลูกผัก พืชไร่ ไม้ผลไว้ประทังชีวิต รอฝนหน้าอีกฝนหนึ่งได้แน่นอนการใช้ไม่ว่าท่านจะเป็นบ่อเก่า หรือ บ่อใหม่ ให้ท่านตั้งสมมติฐานว่าเหมือนบ่อใหม่ บ่อใหม่คือพื้นบ่อจะต้องราบเรียบ ขุดเสมอกัน ถ้าเป็นบ่อเก่ามีตอ มีต้นไม้ มีเศษไม้ใบหญ้าต้องปัดกวาด ปาดหน้าเลนให้เรียบเหมือนบ่อใหม่ แล้วหว่านสารอุดบ่อ 2 กิโลกรัม หรือ 4 หรือ 6 กิโลกรัม ต่อสเม็คไทต์ 100 กิโลกรัม แต่สูตรเบื้องต้นคือ 2 กิโลกรัม ต่อ 100 กิโลกรัม ผสมให้เข้ากันและหว่านกระจาย หนาประมาณ 30 มิลลิเมตร หรือ 1 เซน 2 เซน แล้วแต่งบประมาณหว่านไปและทับด้วยดินขอบบ่อ บดอัดด้วยขอนไม้หรือรถแทกเตอร์ ขึ้นอยู่ว่าเรามีเครื่องมืออะไรอัดให้แน่น รอฝนตกหรือค่อยๆปล่อยน้ำ น้ำจะค่อยๆซึมทำให้สารอุดบ่อค่อยๆเปียกเป็นเมือกเยิ้ม สารอุดบ่อมีสเม็คไทต์เป็นตัวช่วยประคองโครงสร้างไม่ให้มันไหลลื่นก็ทำให้เป็น Layer เป็นแผ่นฟิล์มเหมือนแผ่นพลาสติกแบบธรรมชาติอยู่ที่พื้นบ่อ พอน้ำเต็มบ่อเราสร้างตะไคร้น้ำหรือเมือกธรรมชาติอีกทางหนึ่งโดยการใช้มูลสัตว์ต่างๆ ขี้วัว ขี้ควาย ขี้เป็ด ขี้ไก่ หว่านสร้างน้ำเขียว เราจะได้เมือกธรรมชาติถ้าริมผนังด้านข้างมีเราก็หว่านสารอุดบ่อไปก่อนแต่ต้องหว่านตอนที่ผนังด้านข้างมีความเปียกชื้น เพื่อหว่านแล้วให้มันตรึงยึดกับสารอุดบ่อกับสเม็คไทต์ที่ผนังด้านข้างบ่อแล้วหว่านปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกหว่านทับลงไปเหมือนสมัยก่อนที่เขาใช้ขี้วัวขี้ควายเอามาชันชะลอมกระบุงตะกร้าสานต่างๆ จะทำให้บ่อของเรานั้นมีประสิทธิภาพในการกักเก็บน้ำดีขึ้นเรื่อยๆทุกปี สเม็คไทต์เพื่อนๆต้องสังเกตของเรียนแบบ สเม็คไทตืของไทยกรีนอะโกรหรือชมรมเกษตรปลอดสารพิษ หว่านลงไปจะต้องไม่จับตัวเป็นก้อน จะต้องเป็นผง เป็น powder ละเอียดเหมือนแป้งฝุ่นแต่ถ้าหว่านโดนน้ำ หกตัวเป็นก้อนนั่นเป็นของเรียนแบบ เป็นผู้ที่ไม่ประสงค์ดี ทำให้พี่น้องชาวไร่ชาวนาที่เบี้ยน้อย หมดหนทางในการจะเอาสิ่งที่ดีมีประโยชน์ ต้นทุนต่ำมาช่วยในการดำรงชีวิตในการกักเก็บรักษาน้ำ และการใช้ที่ถูกต้องจะต้องไม่หว่านสารอุดบ่อกับสเม็คไทต์ในขณะที่น้ำท่วมพื้นบ่อต้องเป็นบ่อที่แห้งเท่านั้นหรือไม่ต้องเป็นดินชุ่มๆ ถ้าน้ำท่วมพื้นบ่อก็จะใช้ไม่ได้ผลเพราะหว่านไปสารอุดบ่อจะลอยและแยกตัว ต้องตรึงทับให้เรียบร้อยดีตั้งแต่แรกเสียก่อนอย่างน้อยทำไปปีละครั้ง หรือ ปีละ 2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับความขยันหรือความเอาใจใส่หรือความต้องการ สิ่งต่างๆเหล่านี้ก็มีองค์ความรู้จากครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอน ทดสอบ วิจัย มาตั้งแต่ 10 หรือ 20 ปีที่แล้ว จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยท่าน อ.ดีพร้อม ไชย์วงศ์เกียรติ พอเราได้สารอุดบ่อทับปล่อยน้ำให้เต็มใส่มูลสัตว์ขี้วัวขี้ควายผนังบ่อเรียบร้อย ควรมาสร้างระบบนิเวศให้อุณหภูมิเหนือผิวน้ำ ร่มเย้น ร่มรื่น ถ้าเป็นประสบการณ์พวกเรา เราจะให้ปลูกต้นมะพลับ ต้นมะพลับเป็นไม้ยืนต้นที่ไม่สลัดใบ ไม่ผลัดใบทีเดียวทั้งต้น ทำให้การหลุดร่วงลงสู่พื้นบ่อไม่มีปัญหาเรื่องตื้นเขิน ไม่เน่าเสีย แต่จะได้ความร่มเย็นดีกว่าต้นจามจุรีหรือก้ามปู     


Line Official: https://lin.ee/3M1NXzf
ช่อง Youtube: https://bit.ly/3o1LAhK
เพจ Facebook: Thai Green Agro
Call Center: 084-5554205-9
ฝ่ายวิชาการ : 02-9861680-2
ไอดีไลน์: tga001-tga004
เว็บไซต์: www.thaigreenagro.com

×