0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

ทำเทือก ชักร่อง ป้องกันแมลงในนาข้าว

วันนี้เราจะมาพูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องของการทำเทือก ชักร่อง ป้องกันโรคแมลงในแปลงนาข้าว เดี๋ยวจะเป็นยังไง เดี๋ยวมาฟังกัน

            เรื่องของการทำนาเตรียมเทือก ชักร่อง ป้องกันโรคแมลงในนาข้าว มันจะเป็นยังไงก็ต้องขอบอกว่าการทำนาสมัยนี้ก็พัฒนาไปเยอะ ถ้าเป็นการทำนาแบบสมัยโบราณนั้นก็ตั้งแต่ใช้วัว ใช้ควาย การปรับพื้นที่อะไรต่างๆนั้นก็ทำไม่ได้ดีเหมือนกับยุคปัจจุบัน แต่อย่างน้อยการที่เขาเตรียมแปลง ถ้าเป็นพื้นที่ที่ไม่ราบเรียบเสมอกันแบบสมัยก่อนเขาก็จะใช้คันนาแบ่งเป็นล็อค เป็นทุ่ง เป็นอะไรตามแต่ละภาษาถิ่น แต่เวลาเขาเตรียมเทือกเสร็จ ปั่น ย่ำ ไถกลบ ไถดะ ปั่นให้เทือกย่ำเละเป็นเลน เป็นตรม เป็นเทือก เขาจะมีการชักร่อง ในสมัยอดีตอาจจะใช้จู๋ ใช้ไห แล้วก็เอาดินเลนอัดเข้าไปในไห หรือในจู๋และก็เอาเชือกมัดกับไม้เป็นแท่งไม้หรือตัดพวกไม้เลี้ยงไม้ลวก ใส่เข้าไปในแนวนอนในจู๋หรือในไหแล้วก็ดึงให้มันขวางและก็ใช้ลาก ชักร่อง ตรงนี้แหละครับที่ผมบอกว่าเตรียมร่อง บางคนก็ใช้กระสอบปุ๋ยกลับ เอาดินทำให้มันหนัก พอเดินแบบลากมันก็จะเกิดร่องน้ำ ร่องน้ำนี่เพื่อระบายน้ำไม่ให้ท่วมขังในแปลงนาเวลาเราหว่านน้ำตรม ถ้าน้ำในบางแอ่ง ในบางหลุม ในบางที่มันไม่เรียบ ข้าวที่จมน้ำนั้นมันก็จะไม่งอกแล้วก็มีการเน่า แต่การใช้ร่องพยายามไปลากจากแอ่งน้ำที่เป็นหลุม สะดือนาหรือจุดที่เป็นน้ำขังและก็ทำให้เป็นร่อง ไหลจากหัวนาลงสู่ท้ายนา ตรงนี้เป็นวิธีการปรับความสมดุลของความชื้นของน้ำ ทำให้ไม่มีน้ำท่วมขัง และยิ่งถ้าในยุคปัจจุบันเราใช้รถแทคเตอร์ขนาดใหญ่กว่ารถอีแต๋น รถขุบ สามารถที่จะปรับพื้นที่ลุ่ม ที่ดอน ก็ต้องบอกกับเพื่อนๆว่าถ้าจะทำนาปลูกข้าวการเตรียมพื้นนาให้ราบเรียบเสมอกันเป็นเรื่องสำคัญ ถ้านาราบเรียบเสมอกันการคลุมหญ้า ฆ่าหญ้า จะทำได้ง่ายแต่ถ้าปล่อยให้เป็นที่ลุ่มๆดอนๆ เวลาเราจะหล่อน้ำเลี้ยงน้ำเข้าไป กว่าน้ำที่ดอนน้ำจะขึ้นไปถึงพื้นที่ดอน ที่ลุ่มน้ำก็ท่วม ถ้าจะให้น้ำพอดีตรงที่ลุ่ม ที่ดอนก็แห้ง ตรงที่น้ำแห้งของนาที่ดอนเป็นแหล่งที่มาของหญ้า วัชพืชเยอะ ตรงที่ลุ่มเป็นแหล่งที่มาของเพลี้ย หนอน แมลง เพื่อนๆเคยสังเกตไหมครับว่า เวลาเราปลูกข้าว เวลาเจริญเติบโตอกงามดี เวลาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่น แมลงต่างๆที่เป็นศัตรูพืช หรือพวกหนอนกอ เวลาจะเข้าทำลายส่วนใหญ่จะเข้าทำลายตรงพื้นที่ที่เป็นที่ลุ่ม ที่ราบ ที่เป็นแอ่งกระทะ เพราะตรงนี้เวลาเราหว่านปุ๋ย ให้ปุ๋ยอะไรไปมันจะมาเทกองไหลรวมมาอยู่ตรงนี้ มันก็จะงามมากกว่าเพื่อนเขา ความงามก็นำมาซึ่งอันตราย อันตรายก็หมายความว่า พวกเพลี้ย หนอน แมลงก็ชอบ ที่พูดมาตรงนี้เพื่อที่จะบอกว่าถ้าในพื้นที่เรามีอุปกรณ์ มีเครื่องจักร มีเครื่องมือ ยอมเสียเงินสักนิดหนึ่งตอนเตรียมเทือกทำนา ทำให้มันราบเรียบ เสมอกัน แล้วทำชักร่อง ก็จะทำได้ง่าย และมีระเบียบวินัย ถ้าเป็นสมัยยุคใช้วัว ใช้ควาย บางทีต้องชักร่องเป็นรูปตัว Y ตัว W เพราะว่าตรงพื้นที่ลุ่มมันมีไม่ได้เซ็ต ไม่ได้กำหนดไว้อย่างมีระเบียบ ตรงไหนมีแอ่งก็ชักเอามาร่อง สมมุติร่องริมยิงบางทียิงตรงไปก็ริมคันนาไปเจอที่ดอนก็เลี้ยวโค้งเพื่อเอาน้ำจากหัวนา ลงสู่ท้ายนาส่วนใหญ่หัวนาก็จะเป็นคู เป็นคลอง ส่งน้ำ ท้ายนาก็จะเป็นคูทิ้งน้ำ คูทิ้งน้ำก็จะรวบรวมน้ำ นี่คือพื้นที่ที่มีการจะตีรูปลงไปสู่คลองทิ้ง แต่ปัจจุบันนั้นคลองส่งน้ำ แญหาเรื่องน้ำมีการแย่ง คลองส่งน้ำบางทีเกษตรกรก็มักง่าย บางทีก็วิดน้ำ คูทิ้งน้ำระบายไม่ดีก็วิดน้ำจากในนาเข้าสู่คลองส่งน้ำ เข้าสู่คลองส่งน้ำก็ น้ำในนาไม่ใช่น้ำสะอาด บริสุทธิ์ มีทั้งยาฆ่าหอย มีเอ็นโดซัลแฟน คาร์โบซัลแฟน เมธามิโดฟอส ไซเฟอร์เมททิว มีแต่สารพิษทั้งนั้นเลยวิดน้ำด้วยท่อพญานาค เข้ามาสู่คลองส่งน้ำ ก็จะมีปัญหากับพวกเกษตรปลอดสารพิษ เกษตรอินทรีย์ อุตส่าห์ตั้งตาทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่มีสารพิษในแปลง แต่ต้องไปเอาน้ำจากคลองส่งที่เกษตรกรคนอื่นๆเขาสูบน้ำสารพาเอามาใส่ในคลองส่งน้ำ แล้วก็ทำให้กุ้ง หอย ปู ปลา ล้มตาย ทำให้คนเหวี่ยงแห คนงมหอย ได้รับสารพิษไปโดยไม่รู้ตัว เกิดโรคภัย ไข้เจ็บ ต่างๆ นาๆ แล้วที่สำคัญก็มาทำลาย เวลาแปลงที่ทำเกษตรปลอดสารพิษ เกษตรอินทรีย์ ไปนำน้ำจากในคลองที่มีสารพิษมาก็ทำให้จุลินทรีย์ที่ปกป้องโรคแมลง ศัตรูพืช ในแปลงนาก็มีอันต้องล้มหายตายจาก ระบบนิเวศพัง เสียหาย เวลาเราเตรียมเทือก ชักร่อง ที่พูดตรงนี้ร่องเราจะใช้เป็นร่องตื้นๆ เล็กๆที่กว้างประมาณ 30 ซม. ลึกประมาณ 5-10 ซม. เพราะว่าลากด้วยจู๋ ด้วยไห หรือถุงกระสอบ หรือบางคนก็อาจจะทำให้ดี มีคูร่อง แต่ถ้าเราทำแบบเป็นร่องน้ำ แต่ละแปลงทำ 2 3 4 5 ล็อค อันนี้มีทำไว้เพื่อเวลาข้าวโต อยากจะให้เพื่อนๆเอาเตรียมไว้ใช้พวกเชื้อบิวเวอร์เรีย ที่เราบอกว่าเตรียมทำเทือกชักร่อง เพื่อป้องกันโรคแมลง เพื่อไว้เอาผงบิวเวอร์เรีย ผงเมธาไรเซียม ผงไตรโคเดอร์ม่า ทั้งบิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม ไตรโคเดอร์ม่า เขาเป็นเชื้อราอยู่ในรูปของสปอร์ สปอร์คือเมล็ดพันธุ์พืชนั่นเอง ถ้าจะให้เข้าใจง่ายๆแต่เขาเล็กแค่ 2-4 ส่วน 1000 มิลลิเมตร ก็คือประมาณ 2-3 เมทอล มันเล็กมากจึงเรียกเป็นสปอร์ สปอร์ก็คือเมล็ดพันธุ์เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า เราเอาผงสปอร์พวกนี้ เอาใบตองมาเย็บเป็นกระทงลอยน้ำ ทำให้จิ๋วแล้วไปตามร่องน้ำได้ 1 แปลง สี่เหลี่ยมผืนผ้า ทำให้เป้นรองอยู่ห่างๆกัน สปอร์พวกนี้เวลาเข้าไปในแปลงนาเราก็จะประหยัดเงิน สมมุติว่าเราจะไม่ฉีดพ่น ในช่วงข้าวเล็ก ข้าวอายุ 15 วัน 30 วัน 50 วัน อะไรอย่างนี้ เพราะว่าเกษตรกรสมัยใหม่นี้ แรงงานไม่ค่อยมี แรงงานน้อย การที่เราชักร่องแล้วก็เอาใบตองมาเย็บเป็นกระทงแล้วก็เอาผงสปอร์ของเชื้อราที่เราต้องการ ถ้าเป็นบิวเวอร์เรียกับเมธาไรเซียม เอาไว้ป้องกันพวกเพลี้ย หนอน แมลง ต่างๆที่จะเข้ามารบกวนในแปลงนาข้าว แต่ถ้าเป็นพวกไตรโคเอร์ม่า จะเน้นในเรื่องของการแก้ปัญหาเรื่องใบจุด ใบด่าง ใบดำ แล้วก็มีประโยชน์เวลาน้ำที่ขังอยู่บนผิวนาน เราหล่อน้ำเข้าน้ำออก ระบายน้ำมันก็จะทำได้รวดเร็ว คือเวลาน้ำผิวน้ำมันส่วนเกิน เราโหลดน้ำลง น้ำจากผิวเรียบก็จะลงมาสู่ร่อง ในร่องจะมีน้ำ ในแปลงนาข้าวมีความชื้น เราก็เอาจุลินทรีย์พวกนี้ทำเป็นกระทงเล็กๆ เหมือนขนมตะโก้ก็ได้ จะเล็กจะใหญ่ก็ขึ้นอยู่สุดแท้แต่ว่าเราชอบแบบไหน สปอร์พวกนี้เวลาลอยอยู่ในแปลงนาข้าว ข้าวก็จะโตขึ้นๆ เวลาข้าวโตขึ้นแตกกอมีร่มเงา มีความชื้น คำว่าร่มเงาและความชื้น ในแปลงนาก็จะมีผลตอบสนองต่อ พวกจุลินทรีย์เหล่านี้ให้เอื้อต่อการงอกการแตกสปอร์ แล้วก็ออกมาเป็นปรสิตกับพวกแมลงศัตรูพืช โดยทางตรงและก็ทางอ้อม บางทีลมพัดก็ปลิวไป มันเล็กและเบามาก ลมพัดไปโดนตัวเพลี้ยตัวตั๊กแตนโดนศัตรูพืช ไปติดกาบใบ กาบใบข้าว ก็มีการดูด มีซึมซาบน้ำ ก็เปียกชื้นก็งอกทำให้แปลงนาเต็มไปด้วยตำรวจและทหารฝ่ายดี ฝ่ายดีก็หมายความว่ามาเป็นจุลินทรีย์ที่เป็นปฏิปัก เป็นศัตรูของทั้งโรค ใบจุด ใบด่าง ใบดำ รากเน่า โคนเน่า และก็แมลงศัตรูพืชต่างๆของข้าว ทำให้เราทำนาแบบสบายใจ ทำนาทั้งทีแล้วยิ่งตอนเตรียมเทือกท่านใช้เทคนิคของท่าน อ.ดีพร้อม ไชย์วงศ์เกียรติ ท่านให้ใช้พวกภูไมท์ ภูไมท์ซัลเฟต แร่ม้อนท์ หรือ ม้อนท์โมริลโลไนท์ ไคลน๊อพติโลไลท์ พูมิช พูมิชซัลเฟอร์ คือเป็นกลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟ หินภูเขาไฟในโลกมีประมาณ 50-60 ชนิด ที่ค้นเจอ ที่ไม่เจออาจจะมีเป็น 100 เป็น 1000 ก็ได้ ภูไมท์ สเม็คไทต์ ม้อนท์โมริลโลไนท์ เบนโธไนท์ ไคลน็อพติโลไลท์ก็คือเป็นชื่อ เป็นระดับ หรือคลาสเตอร์ของมัน เปรียบเหมือนมะม่วงก็คือมะม่วงเบา มะม่วงป่า มะม่วงกะล่อน อกร่อง น้ำดอกไม้ เขียวเสวย มหาชนก คือเกรดดี เกรดแบบบ้านๆไปจนถึงเกรดอินเตอร์ ความแตกต่างคือค่าความสามารถในการจับตรึง ตัวนี้มันเป็นหินเดือด หินสุก เวลาไปเตรียมเทือกใส่ 1-2 กระสอบต่อไร่ ตัวแร่ธาตุที่มันมีอยู่ในนั้นชื่อว่าซิลิก้า ละลายพร้อมละลาย ซิลิก้าหรือซิลิสิคแอซิด หรือ ซิลิกอนมันละลายได้ถึง 70% ซิลิก้ามันมีอยู่ในทราย ในหิน ในปูนก็มี ในแกลบก็มี แต่มันละลายได้ไม่ถึง 70% เหมือนพวกหินภูเขาไฟ ในหินภูเขาไฟมันมีซิลิก้าไม่พอมันยังมีพวกธาตุรองธาตุเสริม มันดีกว่าทรายตรงที่มันมีธาตุรองธาตุเสริม พวกฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม มันก็มีไม่มากแต่มีครบ เวลาเราใส่ไปตอนเตรียมเทือกก่อนจะชักร่อง รากข้าวมันจะกินแบบออโตเมติก หิวก็กิน อิ่มก็หยุด ทำหน้าที่กักเก็บปุ๋ยที่มันมากับน้ำ มากับอินทรียวัตถุ มากับปุ๋ยที่ใส่เขาจะอุ้มไว้หมด ถ้าใส่พวกภูไมท์ ภูไมท์ซัลเฟต ไคลน็อพติโลไลท์ อะไรต่างๆเหล่านี้ ก็มาสอดคล้องกันตรงที่ว่า ใส่ปุ๋ยครั้งเดียวเลย เราจะเตรียมเทือกเอาภูไมท์ ภูไมท์ซัลเฟต หรือหินภูเขาไฟหว่าน 1-2 กระสอบ แล้วรูดเทือก มันจะสอดคล้องกันตรงที่ชักร่อง แล้วก็ลอยกระทงจุลินทรีย์ ไม่ต้องฉีดยา เพื่อนๆอาจจะไปลองทำดูเพื่อลดต้นทุนการฉีดพ่น ปุ๋ยก็ใส่เป็นตู้เย็นเก็บไว้แล้ว เมื่อเชื้อรามีอะไรแล้วต่อไปก็หน้าท่อระบายน้ำก็อาจจะใส่พวกบีที พวกบีเอส พวกไบโอแทค พวกไบโอเซนเซอร์ หมักขยายและเทให้มันไปกับน้ำ หรือจะเป็นฉีดพ่นก็ฉีดพ่นแค่ นิดๆ หน่อยๆ เล็กๆ น้อยๆ ก็สามารถที่จะทำนาแบบประหยัดต้นทุนใส่ปุ๋ยครั้งเดียวแล้วก็อยากจะภาวนาให้เราเกี่ยวแล้วก็ได้ 100 ถัง อันนี้ก็เป็นเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ที่เอามาแชร์เอามาเล่าให้เพื่อนๆได้ฟัง           

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปอลดสารพิษ www.thaigreenagro.com

×