0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

กำจัดเพลี้ยอ่อนเพลี้ยแป้งในแปลงมะเขือพวง

วันนี้เราจะมาพูดกันถึงเรื่องของมะเขือพวง โดยเฉพาะผู้ที่ปลูกมะเขือพวงแล้วมีปัญหาเรื่องของพวกเพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้งเข้ามาทำลาย เดี๋ยวเราจะมาพูดคุยกัน เพื่อนๆที่มีปัญหาก็สามารถที่จะเข้ามาแลกเปลี่ยนสอบถามพิมพ์ในกระทู้ไว้ได้นะครับ มะเขือพวงหลายคนอาจจะไม่ทราบว่าทางฝั่งลาวมีการปลูกกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันและทางพื้นที่ภาคอีสาน เมื่อประมาณ 2 เดือนที่แล้ว ผมได้รับเชิญไปกับทีมของท่าน ส.ส.นิคม บุญวิเศษ เป็นหัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทยก็จะไปดูเรื่องของกลุ่มผู้ปลูกมะเขือพวง กลุ่มนี้เขาปลูกเพื่อส่งออก มันมีสารที่สำคัญเยอะแยะมากมายในมะเขือพวงคือสามารถที่จะ เรียกง่ายๆว่าเป็นการวิจัยเชิงสมุนไพรที่แก้พวกมะเร็งได้ดี โดดเด่น ความจริงแล้วมีเยอะที่ผมเก็บข้อมูลมา สารทอโวไซต์ เอเอช อะไรต่างๆ สร้างภูมิคุ้มกันป้องกันพวกเริม พวกงูสวัด ซิฟิลิส หนองใน จุดเด่นก็คือในเรื่องของโรคมะเร็งแต่ก็มีสารที่สำคัญก็คือโซลานิน อันนี้เป็นอัลคารอย ก็ไม่เหมาะกับพวกที่เป็นไขข้อ ตอนนั้นไปกับทีมของท่าน ส.ส.นิคม ก็ไม่ได้ไปเขาเชิญมา ก็ไม่ได้ข้อมูลเพิ่มเติม แต่ได้รับรู้ว่ามีการปลูกเยอะพอสมควรก็จึงเอามาฝากให้เพื่อนพ้องน้องพี่ที่ทำอาชีพปลูกถ้าศึกษาตำราเพิ่มเติม ถ้าเราขายกันปกติทั่วไปก็โลกรัมละ 40-50 บาท หรือบางปีแล้งจัดหรือน้ำท่วมก็อาจจะทำให้ราคาแพงได้ มะเขือพวงก็ปลูกอยู่ในพื้นที่เขตร้อนทั่วไปได้อยู่แล้วทางเหนือก็จะเรียกว่าเป็นพวกของ หมักมะแขว้งกุลา แต่ภาคอีสานเรียกหมักแข้ง แต่คนโคราชจะเรียกมะเขือละคร ภาคใต้เรียกเขือน้อยเขือพวง เขือเทศ เขือแว้ง หรือลูกแว้งนั่นเอง ส่วนสงขลาเรียกมะแว้งช้าง แต่ถ้าเป็นภาคกลางอย่างเราๆ เราจะเรียกว่ามะเขือพวง มะเขือพวกก็ให้ผลผลิตที่ไม่นานเกินไป หลังจากเราเอาเมล็ดมาเพาะกล้า ประมาณ 30-40 วัน และย้ายกล้าลงหลุมปลูกก็ประมาณ 90 หรือ 100 วัน ก็ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วก็อยู่ได้นาน 3-4 ปี เรียกว่าถ้ามีตลาดมะเขือพวงก็เป็นพืชที่น่าสนใจทีเดียวการดูแลรักษาก็คิดว่า มะเขือก็จะทนหรือมีความแข็งแรงมากกว่าพวกพริก เพราะว่ามะเขือใบเขาจะมีขน มีคาย มีความหนา และก็ไม่อ่อนแอง่ายเหมือนกับพวกพริก หรือน้ำเต้าฟักแฟงแตงกวาต่างๆ และก็จะเป็นไม้พุ่มเตี้ย และก็คิดว่าเอามาคุยวันนี้ก็น่าจะให้แง่คิดกับพี่น้องเกษตรกรที่ปลูกมะเขือ คิดว่าทั่วประเทศ รู้จักมะเขือพวง และทานมะเขือพวง เพียงแต่ว่าในบางพื้นที่เป็นส่งโรงงาน หรือมีผู้ที่มารับซื้อ อาจจะมีพวกคอนแทรคฟาร์มมิ่งมาหลอกขายเมล็ดพันธุ์ ขายปุ๋ย ขายยา ก็หลบหนีไปบ้าง อันนั้นก็เป็นบางส่วน การปลูกมะเขือพวงส่วนใหญ่แล้วอาจจะปลูกสักระยะ 2×3 เมตรหรือ 3×4 เมตรหรือจะตามความสะดวกในการเอาจักรเครื่องทุ่นแรงลงสู่แปลง หรือ ความสะดวกในการเอาพืชอื่นมาปลูกแซมหรือผสมผสานแต่ก็อย่าให้มันชิดเกินน้อยไปกว่า 2 เมตร เพราะฉะนั้นก็จะทำให้ร่มเงาหรือบริหารการจัดการ หรือร่มที่มันทับซ้อนกัน มันก็ไม่ได้รับการสังเคราะห์แสงก็ไม่เกิดการติดดอกออกผล มีแต่ใบ ก็ต้องระมัดระวัง ส่วนเรื่องโรคอื่นๆนั้นก็เรื่องหนอนก็มีอยู่แล้ว เรื่องเพลี้ยไฟ เรื่องอื่นๆเยอะแยะมากมายก็เป็นธรรมดาสำหรับเกษตรกรก็ต้องเจอหลากหลายโรคอยู่แล้วแต่ที่เราจะพูดคือเจ้าเพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้งถือว่าถ้าเกาะกันอย่างหนาแน่นมันก็จะปิดทับส่วนสำคัญที่ใช้ในการสังเคราะห์แสง มะเขือสังเคราะห์แสงต้องใช้พื้นที่สีเขียวใบให้เต็ม แต่ถ้ามันมีเพลี้ยมาเกาะ บางคนก็ยังดูไม่ค่อยเข้าใจว่าเพลี้ยแป้ง กับ ราแป้งเป็นยังไง ก็ต้องบอกแบบนี้ เพลี้ยแป้งถ้าเราเอามือไปสัมผัสมันจะมีตัว อาจจะขยับเขยื้อนได้ แต่ถ้าเป็นราแป้งมันจะเป็นสีขาวแต่เป็นปื้นราบเรียบไป เพลี้ยอ่อนหรือเพลี้ยแป้งบางทีก็ต้นเหตุมาจากพวกมด มดก็ต้องการความหวาน มดอยู่คู่กับน้ำตาลหรือที่เรียกกันว่าน้ำตาลใกล้มด เพราะฉะนั้นถ้าเราสามารถเข้าใจว่าสาเหตุต่างๆ ไม่ให้มันมีมดมารบกวน หรือคำโบราณที่ว่าน้ำตาลใกล้มดอะไรที่เรารัก เราหวงแหน ไม่อยากให้มันใกล้มดมากเกินไป มดเขาจะคาบเอาพวกเพลี้ยมาเลี้ยง เพื่อให้เพลี้ยดูด กิน ทำลายพืช ดูดกินน้ำเลี้ยงต่างๆของพืชและก็ขับถ่ายออกมาเป็นของเหลวเหนียวๆ ของเหลวเหนียวๆคือน้ำตาลก็เป็นผลพลอยได้ที่ทำให้มดนั้นมีแหล่งอาหาร มีความน้ำตาลของตัวเอง เพลี้ยเวลาดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ท่อน้ำ ท่ออาหารติดขัด ติดเชื้อ มีแผล และทำให้สามารถไม่หล่อ ถ้ากินตรงโคนกิ่งก็ทำให้ปลายกิ่ง ขาดสารอาหารหรือเกาะเป็นกลุ่ม เพลี้ยออกไข่มาทีตัวหนึ่งคลอดลูกออกมา 2-300 ร้อยฟอง ออกไข่ เกาะกลุ่มตัวโตเต็มวัย ตัวแก่ ตัวพี่ก็อยู่บนๆ ตัวพ่อแม่คลุมอยู่ด้านบนเวลาไปฉีดยาฆ่าเพลี้ยถ้าไปจ้างเขาฉีดเดินแบบมักง่าย ไปเจอทีมฉีดพ่นยาฆ่าแมลงที่เห็นแก่เงิน เห็นแก่ได้ ไม่ได้ฉีดตั้งอกตั้งใจฉีดให้เปียกชุ่มโชก บางทีใช้ยาที่มีสารพิษแรงๆก็ไม่ได้ทำให้เพลี้ยนั้นตาย เดินส่ายไปส่ายมาเดินแบบเร็วๆก็ทำให้ไม่สามารถที่จะปราบเพลี้ยพวกนี้ได้ เพราะว่าฉีดไปมันโดนตัวพ่อตัวแม่ตัวพี่ที่อยู่ข้างบน เพราะมันเกาะกลุ่มกันเป็นกลุ่ม ตัวบนตาย แต่ตัวล่างไม่ตาย ตัวล่างก็ดูดกินน้ำเลี้ยงต่อคาบเขม่าสีดำบ้าง ขาวบ้าง แล้วแต่ชนิดของเพลี้ย ตัวนี้ก็ไปปิดบังแสงอาทิตย์ ที่เรียกกระบวนการโฟโต้ซินทีซิส หรือกระบวนการสั่งเคราะห์แสงที่เขาต้องการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำที่ดูดมาจากทางรากเพื่อสร้างกลุ่มของโครงสร้างคาร์โบไฮเดรต หรือที่เรียกว่าคาร์โบไฮเดรตสตัคทูรัม เพื่อเอาไปหล่อเลี้ยงเป็นกรดอะมิโน กรดอินทรีย์ เป็นแป้ง เป็นไขมันต่างๆ เพราะฉะนั้นก็ตรงนี้ถือว่าเราก็ต้องลองดูว่ามดมันเป็นปัญหาอยู่เหมือนกัน ถ้าเราใช้พวกที่สามารถไล่มดได้ เช่นพวกน้ำส้มควันไม้ หรือพวกพริกป่น หรือแป้งหอม เหลือเชื่อนะครับแป้งหอมเด็กไล่มดได้ พวกฟาร์มเห็ดก็สามารถใช้ได้เหมือนกัน หรือใครจะเอาพริกแกวสดหรือพริกป่นบวกกับแป้งหรือบวกกับน้ำส้มควันไม้ฉีดเพื่อให้มดไกลกับต้นมะเขือพวงก็สามารถที่จะลดการเข้าทำลายของพวกเพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้งได้ แต่ถ้ามันเข้ามาแล้วผลผลิตมะเขือพวงก็จะลดน้อยถอยลง ทีนี้ต้องมาดูว่าจุดแข็งของพวกเพลี้ยอ่อนและเพลี้ยแป้งยังมีอีกนะครับ จุดแข็งคือมีคราบไขมันกับแป้ง แป้งมันเหมือนเราเอาแป้งเด็กมาทาก้นเด็กแล้วหยดน้ำไม่เปียกก้น อันนี้ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งถ้าไปจ้างคนที่ฉีดยาฆ่าเพลี้ยและมักง่ายก็จะฉีดฆ่าเพลี้ยอ่อนเพลี้ยแป้งไม่ตาย แถมไปเอาสารพิษไปอาบชโลม คือโดนต้นมะเขือพวง 20-30% แต่อีก 70% ไหลอาบชโลมห่มดิน ไปสร้างความเดือดร้อนให้กับแบคทีเรีย จุลินทรีย์ ราที่ดีมีประโยชน์ ไส้เดือน ในดินตายไปอีกคือพวกนี้มันเปรียบเหมือนไฟที่ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างสารพิษ เพราะฉะนั้นต้องตัวแป้งกับตัวไขมันถือว่ามีความสำคัญมากๆที่ทำให้เขาอยู่รอด เราต้องรู้จักในการที่จะทำลายจุดแข็งของเพลี้ยอ่อนกับเพลี้ยแป้ง คือต้องทำลายตัวแป้งกับทำลายคราบไขมัน นั่นคือการใช้พวกน้ำยาจับใบท่านก็ใช้สบู่ก็ได้ แชมพูก็ได้ น้ำยาล้างจานก็ได้ เอามาใส่สักนิดหนึ่งแล้วถ้าใช้พวกซิลิสิคแอซิดปรับ pH ได้คุยให้ฟังในคลิปก่อนๆแล้ว หรือจะใช้มะนาว น้ำส้มสายชูปรับให้น้ำเป็นกรดอ่อนๆเหมือนตัวยาด้วยก็จะดี แต่ถ้าเป็นแนวทางของไทยกรีนอะโกรหรือชมรมเกษตรปลอดสารพิษเราจะไม่ให้ใช้สารพิษแม้แต่หยดเดียว เพราะว่าเพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้งเขาอยู่ทับซ้อนกัน ตัวนี้ต้องเจออาวุธเชื้อโรค อาวุธเชื้อโรคของเพลี้ยร้ายนะครับ ถ้าเอาไปติดตัวเดียวมันตายเหลวลงมา เพลี้ยแป้งที่อยู่ในเครือกล้วย อยู่ในน้อยหน่า อยู่ในมะละกอ พวกเพลี้ยแป้งต่างๆสีขาว อยู่กล้วย มะละกอ ถ้าใช้อาวุธเชื้อโรคของเพลี้ยแป้งก็คือพวกบิวเวอร์เรีย พวกเมธาไรเซียม พวกพาซิโรไมซิสไรซินัส  พวกนี้แค่เอาสปอร์ไปบวกกับน้ำยาจับใบก็ฉีด มันดีกว่าฉีดสารพิษที่มีฤทธิ์รุนแรง ทำลาย ผืนดินแผ่นน้ำ ทำลายระบบนิเวศและก็ทำลายตัวผู้ฉีดและเจ้าของแปลงที่ไปเก็บด้วย ไปเก็บก็ไปสูดดมสารพิษเหล่านั้นด้วย คือได้เงินมาก็ไม่รู้อีก 10 ปี 20 ปี น่าจะไปเป็นมะเร็ง เป็นอัมพฤก อัมษาต ปากเบี้ยว มือหงิกจากสารพิษที่สูดดมระเหยทุกวัน เพื่อนๆแค่ใช้ตัวบิวเวอร์เรีย ชื่อการค้ามีชื่อว่าคัทอ๊อฟ เมธาไรเซียมชื่อว่าฟอร์แทรน หรืออีกตัวกำลังจดทะเบียนใกล้จะเสร็จแล้วก็คือชื่อนีมาเคียวหรือพาซิโรไมซิสไรซินัส ตัวนี้เก่งมากคือทำลายได้ตั้งแต่ในระดับไข่ที่ฝังอยู่ในกาบใบอยู่ในเนื้อเยื่อทำลายไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นและพวกไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดรากปม ต่อไปเพื่อนๆก็จะมีตัวชีวภัณฑ์ที่ดีเป็นจุลินทรีย์ไทยแลนด์ ลงสู่แปลงนาไทยแลนด์ แล้วเดี๋ยวนี้ใช้ไม่เยอะ ใช้แค่ 50 กรัม เอาน้ำมา 20 ลิตร ใส่สารจับใบ ถ้ามีเงินหน่อยปัจจุบันสารจับใบสมัยก่อนมันแพง มันลิตรละ 700-800 ร้อยเมื่อ 30 ปีที่แล้วเราก็ไม่เชียร์ เราเชียร์ให้ใช้น้ำยาล้างจานดีกว่า แต่โลกยุคเกษตร 4.0 ยุคอินเตอร์เน็ต เดี๋ยวนี้จะเป็น 5G มันก็มีสารจับใบคุณภาพดี ราคาไม่แพง ตัวที่ปรับสีน้ำได้ด้วย เป็นสีชมพูอ่อน แล้วก็จับยัดเข้าไปในรูปปากใบ ซึมซาบเร็ว เคลือบใบ เปียกใบ ชื่อว่าแอดจั๊สท์อันนี้ก็ลิตรละ 300 บาท แต่ถ้าไม่มีเงินก็ใช้ตัวธรรมดา ไม่ใช้ตัวปรับเป็นสีชมพูหรือชื่อม้อยเจอร์แพ้ลน ตัวนี้ลิตรละ 100 บาท ใช้ลงไปสัก 10-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร แล้วก็ใส่ตัวบิวเวอร์เรียลงไป 50 กรัม เมธาไรเซียม 50 กรัม ถ้ารวมกันอาจจะใส่อย่างละ 25 กรัม ก็ได้ แต่ต่อไปถ้ามี 3 ตัวก็อย่างละ 1 ช้อนแกง คืออย่างละ 15 กรัม บิวเวอร์เรีย 15 กรัม เมธาไรเซียม 15 กรัม พาซิโรไมซิส 15 กรัม จะได้ประหยัดแล้วก็ลดต้นทุน แต่ที่สำคัญคือต้องใส่ตัวสารจับใบเพื่อไปป้องกันตัวคราบน้ำมันจากเพลี้ยอ่อนแล้วก็ตัวแป้ง ฝุ่นแป้งที่มันเคลือบตัวมัน พอมันถูกสารจับใบชะล้างเหลือตัวเปล่าเหล้าเปลือยแล้ว สปอร์อาวุธเชื้อโรคตกเข้าไปสปอร์ 2 สปอร์ มันจะงอกกระจายขยายพันธุ์เหมือนโคโรน่าไวรัส 19 ทำให้เพลี้ยเจ็บป่วยล้มตาย ย่อยสลายเหลว คือถ้าอยู่ในเครือ อยู่ในคอของมะละกอ ในน้อยหน่า ในกล้วย ในพืชอะไรก็ตามที่เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อนไปทำลาย ก็จะทำงานได้ดี ยิ่งในพื้นที่มีความชุ่มชื้น ในไร่มันสัมปะหลัง ที่ใช้ไม่ค่อยได้ผลส่วนใหญ่ความชื้นไม่พอ แต่ถ้าเขารู้ว่ามีตัวไบโอฟิล์ม 200 ไปถุง 5 บาท ถุงนิดเดียว ชื่อไบโอฟิล์ม 200 ใช้แค่ 5 กรัม ละลายในน้ำ 20 ลิตร มันจะเป็นตัวทำให้สปอร์ของบิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม ไปเกาะที่ใบและเอาสปอร์ไปเคลือบด้วย พื้นที่ที่ปลูกเป็นไร่และความชื้นน้อย สารจับใบไม่ได้ช่วยให้เป็นเมือกเยอะ แต่ถ้าใช้ไบโอฟิล์ม 200 เป็นผงซองขนาดเล็กๆ 5 บาท ตัวนี้จะช่วยทำให้สปอร์ของเป็นเหมือนนิวเคส เยื่อหุ้ม สปอร์ของเชื้อโรค ทำให้สปอร์มีความชื้นอุ้มเหมือนเม็ดแมงลัก ทำให้สปอร์มีความชื้นและงอกอยู่บนตัวแมลงได้ดีขึ้น เกาะตัวแมลงได้ดีขึ้น ก็เทคนิควิธีการในการที่จะดูแลมะเขือพวงเราให้อยู่รอดปลอดภัย ได้เงินไว้ใช้ในยามที่สถานการณ์เศรษฐกิจไม่ดีอย่างนี้ก็เอามาฝากเพื่อนๆ

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปอลดสารพิษ www.thaigreenagro.com

×