0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

แก้ปัญหาแมลงวันในฟาร์มเห็ด ในช่วงฤดูร้อน

          แมลงวัน (Flies) ถือว่าเป็นสัตว์ที่มีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์ค่อนข้างมากโดยเฉพาะในเรื่องของการก่อกวนสร้างความรำคาญในด้านต่างๆ ทั้งไต่ตอมร่างกายและอาหารหวานคาวต่างๆ เป็นพาหะนำพาเชื้อโรคมาสู่มนุษย์อีกเยอกแยะมากมาย

ถ้าตามไปดูประวัติของแมลงวันก็จะพบว่ามีอยู่ 4 ชนิดที่มีความเกี่ยวดองหนองยุ่งกับคน ไม่ว่าจะเป็นแมลงวัน 1. แมลงวันบ้าน (House Fly; Musca domestica), 2. แมลงวันหัวเขียว (Blow fly; Chrysomya megacephala), 3. แมลงวันหลังลาย (Flesh Fly; Sacrophaga sp.) และ 4. แมลงวันดูดเลือด (Stomoxys spp.)

นอกจากจะมีแมลงวันทั้ง 4 ชนิดที่กล่าวไปแล้วนั้น ก็ยังมี แมลงวันทอง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Drosophila melanogaster) หรือนักวิชาการบางคนอาจจะจัดอยู่ในชนิดของแมลงหวี่ แมลวันทองนี้ถือว่าเป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ทำลายพืชได้หลายชนิด เช่น ชมพู่ มะม่วง กล้วย มะละกอ พุทรา น้อยหน่า ฯลฯ

ท่านผู้อ่านได้ทราบเรื่องของแมลงวันอื่นๆไปพอสมควร แต่วันนี้ผู้เขียนอยากจะพาให้ท่านมาทำความรู้จักกับแมลงวันอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งน่าสนใจโดยเฉพาะเกษตรกรผู้เพาะเห็ด นั่นก็คือแมลงวัน เซียริด(Sciarid) และ แมลงวันฟอริด (Phorid) ซึ่งถือว่าเป็นแมลงวันที่ทำลายผลผลิตในฟาร์มเห็ดกันถ้วนทั่ว

หนอนแมลงวันเซียริด (Sciarid) หรือแมลงหวี่ปีกดำ จะทำลายกัดกินเห็ดในระยะที่เป็นตัวหนอน เคยพบทำลายเห็ดหูหนูและ เห็ดแชมปิญอง ทำให้ดอกเห็ดเสียหายคุณภาพและราคาลดต่ำลง โดยหนอนมีลักษณะลำตัวสีขาวใสหรือสีเหลืองส้ม บางครั้งส่วนหัวมีสีดำความยาวของลำตัวประมาณ 5-7 เซนติเมตร เคลื่อนไหวได้รวดเร็วและกินจุมาก ตัวแก่จะมีสีดำขนาด 2-3 เซนติเมตร เคลื่อนไหวได้รวดเร็วและกินจุมา ตัวแก่จะมีสีดำขนาด 2-3 เซนติเมตร วงจรชีวิตจากไข่จนกระทั่งเป็นตัวแก่ประมาณ 25-30 วัน

หนอนแมลงวันฟอริด (Phorid) หรือแมลงวันหลังโกง ตัวแก่จะพบทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ในระยะที่เป็นตัวหนอนจะทำลายเส้นใยเห็ดที่กำลังเดินบนผิวก้อนเชื้อเห็ดในถุง และมักเจาะเข้าไปทำลายส่วนโคนและหมวกดอกจนพรุนเสียหาย แต่ความรุนแรงน้อยกว่าพวกแมลงวันเซียริด

แถมให้อีกหนึ่งชนิดแล้วกันนะครับสำหรับผู้เพาะเห็ด คือนอกจากจะมีแมลงวันสองชนิดนี้แล้วยังมีแมลงหวี่เห็ด ซึ่งเป็นแมลงสีดำมีขนาดเล็กมากคล้ายกับแมลงหวี่ที่พบตามที่อับชื้น โดยเฉพาะในห้องสุขาที่อับลม ตัวแก่มักจะเกาะตามดอกเห็ด ถุงเห็ด ฝา และเสาโรงเรือน ลักษณะการทำลายของหนอนจะเริ่มเจาะที่โคนดอกเห็ด โดยเฉพาะระยะก้ามปู ทำให้เห็ดแกร็นด้านสีน้ำตาลและเน่าเสียทั้งถุง มักพบการระบาดหลังการเพาะเห็ดแล้วประมาณ 5-6 เดือน การทำลายจะไม่รุนแรงมากนัก แต่ในระยะหลังนี้ได้พบการทำลายในเห็ดแชมปิญองพันธุ์ร้อน จนทำให้ดอกเห็ดฝ่อและเน่าตายได้เหมือนกัน

วิธีการป้องกันและการกำจัดความจริงก็ได้เคยเขียนบอกกล่าวไปหลายครั้งหลายคราหลากหลายวิธีการนะครับ เกษตรกรรุ่นใหม่อาจจะเข้าไปดูย้อนหลังเพิ่มเติมได้ที่ www.thaigreenagro.com นะครับ

วิธีการเบื้องต้นนั้นจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องความสะอาด ที่พื้นของโรงเรือนไม่ควรปล่อยให้มีน้ำท่วมขังเปียกแฉะ เพราะจะเอื้อให้แมลงวันแมลงหวี่ทั้งหลายเข้ามาอยู่อาศัยหรือใช้เป็นแหล่งขยายเผ่าพันธุ์ได้ง่ายๆ

ควรใช้สมุนไพรอย่าง ขมิ้นชัน ไพล ฟ้าทะลายโจร ตะไคร้หอมกานพลู….โรยรอบโรงเรือน หรือฉีดพ่นตามพื้น ผนัง ชั้นวาง เพื่อให้กลิ่นของสมุนไพรช่วยขับไล่ หรือสร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมกับเหล่าแมลงเหล่านั้นให้เข้ามาได้น้อยลง

เกษตรกรสามารถใช้จุลินทรีย์ปราบเพลี้ย แมลงอย่าง “บูเวเรีย (beauvereia bassiana spp)”, ฟอร์แทรน (metarhizium annisopliae spp.)” 2 ใน 5 เสือจุลินทรีย์ชีวภาพของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ทำการฉีดพ่นให้ทั่ว หากฉีดโดนตัวแมลงวันได้ยิ่งดี เมื่อแมลงสัมผัสเชื้อประมาณ 3-7 วัน แมลงจะเริ่มป่วยและหยุดทำลายพืชและจะตายภายในระยะเวลา 5-14 วัน สามารถฉีดพ่นได้ทุกช่วงเวลา เพราะไม่เป็นอันตรายต่อเห็ดและสิ่งแวดล้อมครับ

การใช้ 2 เสือจุลินทรีย์ อย่าง “บูเวเรีย (beauvereia bassiana spp)”, ฟอร์แทรน (metarhizium annisopliae spp.)” ฉีดป้องกันให้ทั่วโรงเรือนเพาะเห็ดทุกสัปดาห์ โดยจะฉีดตามหลังก้อนเห็ด ฉีดตามพื้นโรงเรือน ผนังโรงเรือนทั้งด้านนอกและด้านในให้เปียกชุ่ม แมลงต่างๆ เช่น แมลงสาบ ไร หนู แมลงปีกแข็งต่างๆ หรือแมลงอันไม่พึ่งประสงค์ต่างๆ แทบไม่มาหรือไม่มีให้เห็นเลย

 

ใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลืองชนิดแบนหรือทรงกระบอก หรือจะเป็นกระป๋องน้ำมันเครื่องที่มี่สีเหลืองชนิดใดชนิดหนึ่ง จำนวน 6-8 กับดักต่อโรงเรือนขนาด 8 X 20 เมตร โดยติดตั้งระหว่างชั้นเห็ดและมีระดับสูงจากพื้นโรงเรือนประมาณ 1.5-1.8 เมตร ที่สำคัญควรติดตั้งในที่ ๆ ไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางการเข้าไปปฏิบัติงาน ไม่ถูกน้ำบ่อยถ้าเป็นไปได้ควรติดตั้งใกล้มุมมืดเพราะตัวแก่ของแมลงชอบเกาะอาศัยอยู่เปลี่ยนหรือนำกับดักมาล้างด้วยน้ำมันเบนซิน, แอลกอฮอร์หรือทินเนอร์ และทำการทากาวเหนียวใหม่ทุก 10-15 วัน ตลอดการผลิตเห็ด หรือพิจารณาว่าหากมีแมลงติดเต็มแล้วก็ควรนำมาเปลี่ยนหรือทากาวเหนียวซ้ำอีก ก็จะเพิ่มประสิทธิภาพการดักจับและลดปริมาณของแมลงที่จะทำลายเห็ดได้ วิธีนี้เป็นที่นิยมและได้ผลมาก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

Line Official: https://lin.ee/3M1NXzf
ช่อง Youtube: https://bit.ly/3o1LAhK
เพจ Facebook: Thai Green Agro
Call Center: 084-5554205-9
ฝ่ายวิชาการ : 02-9861680-2
ไอดีไลน์: tga001-tga004
เว็บไซต์: www.thaigreenagro.com
×