NULL
เห็ดตับเต่าเป็นเห็ดชนิดมัยคอร์ไรซ่า, ซึ่งเป็นเห็ดที่อาศัยอยู่ภายนอกของรากพืช อาหารของเห็ดตับเต่านอกจากได้มาโดยการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุแล้ว ยังได้มาจากสารอินทรีย์ที่ขับออกมาจากรากพืชด้วย ซึ่งมีองค์ประกอบบางส่วนเป็นวิตามินที่ละลายน้ำได้ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากดอกเห็ดตับเต่าบนอาหารวุ้น พีดีเอ (PDA) ซึ่งใช้เลี้ยงเห็ดทั่ว ๆ ไปได้ผลดีนั้น เห็ดตับแจริญช้า เมื่อปี 2542 มีการลองใช้ภูไมท์ (pumice) เติมลงในอาหารตั้งแต่เตรียมอาหาร โดยใช้ 1 % พบว่าได้ผลดีกว่าพีดีเอเดิม ต่อมาได้ตรวจสอบสูตรอาหาร MMN มีเดี้ยม พบว่ามีไธอามีนด้วย และเปลี่ยนจากภูไมท์เป็น ภูไมท์ซัลเฟต ทำให้ได้รับแร่ธาตุมากขึ้น
ปี 2546 จึงประยุกต์สูตรอาหารวุ้นเป็นดังนี้ น้ำ 1,000 ซี.ซี. มันฝรั่ง 200 กรัม น้ำตาลเด๊กโทรส 20 กรัม ภูไมท์ซัลเฟต 20 กรัม วุ้น 15 กรัม วิตามินบี 1 ขององค์การเภสัช 1 เม็ด ทำการเตรียมเหมือนอาหารวุ้นดีดีเอนั่นเอง เมื่อนำมาทดลองเลี้ยงเห็ดมัยคอร์ไรซ่าทั้งหลาย เช่น เห็ดเผาะ เห็ดตับเต่า พบว่ามีอัตราการเจริญเติบโตดีมาก เมื่อดัดแปลงสูตรไม่ใส่วุ้นแต่ใช้ต้มเมล็ดข้าวฟ่าง เพื่อเลี้ยงเชื้อบนเมล็ดข้าวฟ่าง ก็สามารถทำให้เชื้อเต็มขวดภายใน 3 สัปดาห์
ที่มา : อาจารย์ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ, ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์