NULL
ระยะก่อนสงกรานต์ 2550 อากาศเหนือประเทศไทย ร้อนอบอ้าวผิดปกติธรรมดา เพราะการเผาป่า เผานา เผาหญ้า เผาน้ำมันรถยนต์, ควันเครื่องจักรของโรงงานอุตสาหกรรม, อากาศร้อนเคลื่อนตัวสูงขึ้น, อากาศเย็นจากประเทศจีนเคลื่อนตัวเข้ามาแทน, ทำให้เกิดฝนตกระหว่างสงกรานต์, เป็นฝนที่ได้น้ำมากพอสมควร ปกติหลังฝนใหญ่ช่วงสงกรานต์ก็จะเกิดมีเห็ดรับประทานได้หลายชนิดจากป่าเต็งรัง เช่น เห็ดเผาะ,เห็ดผึ้ง เห็ดแดง เห็ดไค เห็ดละโงก
เห็ดเผาะเป็นเห็ดที่ได้รับความนิยมมาก ใช้ปรุงอาหารได้หลายอย่าง รวมทั้งมีมาก ๆ ก็สามารถนำไปต้มในน้ำเกลือและอัดกระป๋องรอการขายได้ นอกจากเห็ดเผาะเกิดกับรากของต้นสะแบงแล้ว ยังสามารถพบได้กับรากของยางนา ต้นพะยอม ต้นชาด ต้นกระบาก ต้นเต็ง ต้นรัง เป็นต้น ชื่อเรียกของเห็ดเผาะในภาคเหนือจะเรียกชื่อเป็นเห็ดถอบ หรือ เห็ดเหียง เพราะภาคเหนือเรียกต้นสะแบงว่า ต้นเหียง หรือ ยางเหียง เป็นไม้ในตระกูลเต็งรังแต่ราชการไม่หวงห้ามแบบยางนา ไม่ที่น่าจะปลูกเพื่อการเพาะเห็ดเผาะอีกชนิดหนึ่งคือ ต้นกระบาก เพราะโตเร็วกว่ายางนา แต่ก็สร้างสภาพป่าได้เร็วกว่าในภาคใต้บางแห่งเรียกเห็ดเผาะว่า เห็ดพะยอม เนื่องจากพบเห็ดขึ้นมากกับรากของต้นพะยอม
เห็ดเผาะเป็นเห็ดชนิดไมคอร์ไรซ่า เส้นใยไปอยู่รวมกับรากพืชจะช่วยละลายปุ๋ย ย่อยสารอินทรีย์ให้อาหาร และจับความชื้นคือไอน้ำในดินให้เป็นประโยชน์แก่รากพืชทำให้มีการเติบโตดีขึ้นมาก ในการผลลิตกล้ายูคาลิปตัส หากใส่เชื้อเห็ดเผาะ หรือเห็ดผึ้งก็ได้ให้แก่รากยูคาลิปตัส ก็จะทำให้ต้นกล้าโตเร็วและแข็งแรง ถ้าปลูกสร้างสวนสะแบง สวนนี้จะกลายเป็นสวนเห็ดเผาะภายใน 2-3 ปี และเป็นต่อไปเรื่อย ๆ.
ที่มา : นสพ. เดลินิวส์ ฉบับที่ 20,005 วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2550 หน้า 10.