กล้วยไม้จัดเป็นสินค้าไม้ดอกไม้ประดับซึ่งเป็นที่นิยมสูงในตลาดโลก ที่สำคัญของไทย ทั้งนี้ธุรกิจการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ของไทยสามารถสร้างรายได้นำเงินเข้าสู่ประเทศได้เป็นจำนวนมาก และการส่งออกกล้วยไม้ของไทยยังคงมีแนวโน้มเติบโตได้ต่อเนื่อง
สำหรับความต้องการกล้วยไม้ตัดดอกยังคงมีมากขึ้นโดยเฉพาะการใช้สำหรับประดับอาคารสถานที่และใช้ตกแต่งอาหารในธุรกิจบริการ โรงแรม ภัตตาคาร และร้านอาหารต่างๆ อย่างกำไรก็ตามการผลิตกล้วยไม้ของไทยยังคงเผชิญปัจจัยเสี่ยงหลายประการจากปัญหาต้นทุนการผลิตและต้นทุนค่าขนส่งที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามภาวะราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัญหาโรคแมลงศัตรูพืช
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า มูลค่าการส่งออกกล้วยไม้ของไทยปี 2551 จะขยายตัวในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 93.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีตลาดส่งออกสำคัญคือ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ สหภาพยุโรป
สำหรับตลาดกล้วยไม้สามารถแบ่งได้เป็นความต้องการใช้ภายในประเทศสัดส่วนร้อยละ 50 สัดส่วนที่เหลือร้อยละ 50 ส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ทั้งนี้ในปี 2550 ไทยมีการส่งออกดอกกล้วยไม้และต้นกล้วยไม้คิดเป็นมูลค่า 85.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ทั้งนี้แหล่งผลิตกล้วยไม้เพื่อการส่งออกที่สำคัญอยู่ที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ได้แก่ จังหวัดนครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี อยุธยา ชลบุรี และราชบุรี
กล่าวสำหรับจังหวัดนครปฐมนั้นมีเกษตรกรที่ปลูกกล้วยไม้เป็นอาชีพอยู่เป็นจำนวนมาก ในนั้นมีกำนันนักพัฒนาอย่าง “กำนันบุญสม จรดล” กำนันตำบลสามพราน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม รวมอยู่ด้วย
กำนันบุญสม บอกว่า ตนเองทำสวนกล้วยไม้มา 10 กว่าปี ที่ผ่านมา โดยรับช่วงมาจากคุณพ่อที่แต่เดิมก็เป็นชาวไร่ทำไร่องุ่น, สวนผลไม้ต่างๆ อาทิ ฝรั่ง ส้มโอ หลังจากนั้นจึงหันมาปลูกกล้วยไม้ เนื่องจากเห็นว่าเป็นพืชที่ให้ราคาดี โดยเริ่มจากการปลูกกล้วยไม้สกุลหวายก่อน แต่เมื่อปลูกนานเข้าก็เริ่มมีปัญหาในเรื่องของแมลงศัตรูพืช ต่อมาจึงหันมาเปลี่ยนเป็นกล้วยไม้ในสกุล คาลิปโซ่ ซึ่งในช่วงแรกที่ปลูกกล้วยไม้นั้นยังไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก เนื่องจากยังขาดความรู้ ความชำนาญในการดูแลรักษา อย่างไรก็ตามเมื่อปลูกกล้วยไม้ไปประมาณ 2-3 ปี จึงทำให้มีประสบการณ์ และมีความรู้เกี่ยวกับกล้วยไม้มากขึ้น ซึ่งต่อมาตนเองได้มีการเปลี่ยนแปลงพันธุ์กล้วยไม้มาตลอด
กำนันบุญสมเล่าให้ฟังว่า หลังจากมีการเปลี่ยนพันธุ์กล้วยไม้โดยเริ่มหันมาปลูกพันธุ์มาดาม ซึ่งในขณะนั้นเป็นที่นิยมของตลาดอย่างมากในช่วงนั้น และตลาดมีความต้องการมาก โดยแรกเริ่มปลูกกล้วยไม้พันธุ์มาดามในไม้เนื้อที่
สำหรับกล้วยไม้ในสวนของตนเองนั้น ปัจจุบันมีการตัดดอกทุกวันตามยอดสั่งจากต่างประเทศ โดยมีอาจารย์
กำนันบุญสมบอกด้วยว่า ในพื้นที่บ้านดงเกตุ ต.สามพราน อ.สามพราน นั้นแต่เดิมเวลาทำเกษตร จะปลูกไม้ผลคล้ายๆ กันหมด ตนจึงหันมาปลูกไม้ดอกไม้ประดับแทน ซึ่งปัจจุบันในพื้นที่ดงเกตุเอง มีประมาณ 70-80 % ที่ทำสวนไม้ดอกไม้ประดับ และนอกจากนี้ยังมีการปลูกไม้ใบอีกด้วย
กำนันบุญสม ยังบอกถึงวิธีการดูแลรักษากล้วยไม้ด้วยว่า วิธีการดูแลบำรุงรักษากล้วยไม้ก็เหมือนทั่วไป คือ ดูแล ใส่ปุ๋ย ฉีดยา รดน้ำ แต่กล้วยไม้สกุลหวายต้องดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากจะดูแลรักษายาก เนื่องจากว่ามีแมลงศัตรูพืช รวมทั้งหมดชอบมารบกวนกัดแทะดอก
สำหรับปัจจัยที่ทำให้ประสบผลสำเร็จ จะต้องเริ่มคัดเลือกพันธุ์ปลูกที่ตลาดมีความต้องการ และต้องมองสถานการณ์ให้ออกด้วยว่า ขณะนี้ตลาดต้องการกล้วยไม้สีอะไร ถ้าผิดพลาดจะขาดทุนทันที ส่วนทำเลพื้นที่ปลูกจะต้องพิจารณาเรื่องแหล่งน้ำ เป็นอันดับแรก โดยจะต้องเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่เป็นน้ำสะอาด (ถ้าเป็นน้ำจากคลองชลประทานจะดีมาก) ดังนั้นเกษตรกรที่จะทำสวนกล้วยไม้ในเชิงการค้า จะต้องมีการศึกษาข้อมูลมามากพอสมควร
สำหรันในส่วนของราคาส่งออก จะเป็นราคามาตรฐาน ไม่ขึ้นลงเหมือนสินค้าอื่น แต่จะมีบางช่วงที่กล้วยไม้ขาดตลาดเท่านั้น ที่กล้วยไม้จะมีราคาเพิ่มขึ้นมา และบางครั้งอาจมีบริษัทมาติดต่อซื้อที่สวนเลย จึงทำให้ราคาดีขึ้น
อย่างไรก็ตามการปลูกกล้วยไม้ของเกษตรกรไทยยังคงเผชิญอุปสรรคสำคัญทั้งปัญหาด้านการผลิต ทั้งจากราคาปัจจัยการผลิตที่สูงขึ้นเนื่องจากต้นทุนการเพาะปลูกกล้วยไม้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากราคาน้ำมันที่พุ่งทะยานขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาการขยายพื้นที่เพาะปลูกซึ่งยังคงทำได้ค่อนข้างจำกัด เนื่องจากที่ดินมีราคาสูงขึ้น ส่วนอีกประเด็นคือ ปัญหาด้านการตลาด โดยเฉพาะปัญหาการผลิตกล้วยไม้ให้ได้ตรงตามมาตรฐานของประเทศผู้นำเข้าโดยเฉพาะปัญหาการตรวจสอบสารเคมีตกค้างที่ใช้ในการรมยากำจัดแมลงเพื่อให้เป็นที่ยอมรับตามหลักสากล ทั้งนี้จึงอยากให้ภาครัฐเข้ามาดูแลเกษตรกรในส่วนนี้ด้วย
สำหรับงานในตำแหน่งกำนันนั้น กำนันบุญสมบอกว่า ปัจจุบันก็ยังดูแลด้านการปกครองและพัฒนา โดยมีพื้นที่ในความปกครอง 5.61 ตารางกิโลเมตร (
นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งทางสังคมต่างๆ อาทิ ประธานชมรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านอำเภอสามพราน ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2546 จนถึงปัจจุบัน, ประธานศูนย์กีฬาตำบลสามพราน, ประธานประชาคมตำบลสามพราน, คณะกรรมการการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลสามพราน, ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลสามพราน, ประธานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต, กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านดงเกตุ
ที่มา : หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ฉบับวันที่ 20 มิถุนายน 2551
http://www.siamrath.co.th/UIFont/NewsDetail.aspx?cid=57&nid=16576