นาย
อย่างไรก็ตามการศึกษาวิจัยที่ได้ผลสำเร็จเป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการนั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในทางปฏิบัติเพื่อถ่ายทอดสู่เกษตรกร ซึ่งการวิจัยทางการเกษตรในปัจจุบันต้องสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ผลิต คือ เกษตรกร ทั้งในด้านการเพิ่มผลผลิตต่อไร่และลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร นอกจากนี้ต้องสอดคล้องกับความต้องการของตลาด คือ ผู้ประกอบการและภาคเอกชน รวมถึงความต้องการของผู้บริโภคให้ได้ ซึ่งการประชุมวิชาการในปีนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัยได้เสนอผลงานทางวิชาการ พร้อมทั้งเปิดเวทีให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างนักวิจัยด้วยกัน เป็นการเพิ่มพูนความรู้และนำไปพัฒนาการปฏิบัติงานวิจัยให้ดียิ่งขึ้น
“กระทรวงเกษตรฯ มีเป้าหมายให้เกษตรกรได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตพืช การปรับโครงสร้างภาคเกษตร โครงการอาหารปลอดภัย(Food Safety) ตลอดจนการเพิ่มผลผลิต พืชทดแทนพลังงาน เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และเพิ่มมูลค่ายางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง ซึ่งกรมวิชาการเกษตรต้องเตรียมพร้อมเรื่องวิชาการที่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิตอย่างครบถ้วน รวมทั้งการวิจัยเทคโนโลยีการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า เพื่อเป็นคำตอบให้แก่เกษตรกรและภาคเอกชน รวมถึงการบูรณาการความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่ผสมผสานกับภูมิปัญญาพื้นบ้าน ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นองค์ความรู้สำหรับถ่ายทอดและแนะนำส่งเสริมเกษตรกรได้นำไปใช้ปฏิบัติได้จริง” นายธีระชัย กล่าว
ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้าฉบับวันที่ 19 มิถุนายน 2551