แตงกวา หรือ แตงร้านเป็นไม้เลื้อยในวงศ์ Cucurbitaceae แตงกวา มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ในบ้านเราก็นิยมปลูกแตงกวาเป็นอาชีพ เนื่องจากเป็นผักที่ปลูก
ง่าย ให้ผลผลิตเร็ว มีอายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว 40-60 วัน การเก็บรักษาก็ง่ายกว่าผักชนิดอื่น ๆ แตงกวายังนับเป็นพืชชนิดหนึ่งที่นิยมระประทานกันมากที่สุด
เนื่องจากนำมาทำเป็นเมนูอาหารได้หลากหลายอย่าง โดยลักษณะของแตงกวาจะมีรากแก้วแตกแขนงเป็นจำนวนมาก รากสามารถแผ่ขยายทางด้านกว้างและ
หยั่งลึกได้มากถึง 1 เมตร ลำต้นเป็นเถามีขนขึ้นปกคลุมทั่วไป มีข้อยาว 10 ถึง 20 เซนติเมตร มีหนวดเกาะบริเวณข้อโดยส่วนปลายของหนวดไม่มีการแตกแขนง
ใบมีก้านใบยาว 5 – 15 เซนติเมตร ใบหยาบมีขนใบ มีมุมใบ 3 ถึง 5 มุม ปลายใบแหลม ใบใหญ่มีเส้นใบ 5 – 7 เส้น ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยว กลีบเลี้ยงสีเขียว
5 กลีบ กลีบดอกสีเหลือง 5 กลีบ ดอกตัวผู้เป็นดอกเดี่ยว ผลแตงกวามีลักษณะเรียวยาวทรงกระบอก มีไส้ภายในผล พูดถึงการปลูกแตงกวา ก็ต้องย่อมพูดถึง
แมลงศัตรูของแตงกวาด้วย โดยวันนี้ผู้เขียนจะมาพูดถึงแมลงศัตรูของแตงกวาและวิธีป้องกันกำจัดโดยวิธีปลอดสารพิษกันครับ แมลงศัตรูของการปลูกแตงกวา
นั้นก็คือ เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน ไรแดง เต่าแตงแดง หนอนกินใบแตง โดยจำพวกเพลี้ยไฟเพลี้ยอ่อนและไรแดงจะเป็นพวกปากดูด โดยจะดูดน้ำเลี้ยงที่ใบ ดอก
อ่อน และยอดอ่อนทำให้ใบม้วนหงิกงอ รูปร่างผิดปกติเป็นกระจุก มีสีสลับเขียวเป็นทาง ระบาดมากในช่วงที่มีอากาศแห้งแล้งฝนทิ้งช่วง นับเป็นแมลงที่เป็นปัญ
หาสำคัญที่สุดในการปลูกแตงกวา ส่วนแมลงเต่าและหนอนเป็นจำพวกปากกัดกินใบตั้งแต่เล็กยันโตเลย โดยวิธีการป้องกันและกำจัดนั้นก็คือ การใช้จุลินทรีย์
ฟอร์แทรน(เชื้อ เมทาไรเซียม แอนิโซเพลียม)+คัทอ๊อฟ (เชื้อบิวเวอร์เรีย บาสเซียน่า)+ไบโอแทค(เชื้อบาซิลลัส ธูริงเจนซิส) +ม้อยเจอร์แพล้นท์(สารเปียกใบ)
วิธีใช้ ให้นำ ม้อยเจอร์แพล้นท์(สารเปียกใบ) เติมผสมกับน้ำก่อน โดยใช้ในอัตรา 10 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร แล้วกวนให้เข้ากัน แล้วนำ ฟอร์แทรน(เชื้อ เมทาไรเซียม
แอนิโซเพลียม)+คัทอ๊อฟ (เชื้อบิวเวอร์เรีย บาสเซียน่า)+ไบโอแทค(เชื้อบาซิลลัส ธูริงเจนซิส) อย่างละ50กรัม เทใส่ลงไปแล้วกวนให้เข้ากันอีกที
ควรฉีดทุกๆ7วันครั้ง ควรฉีดตอนแดดอ่อนๆ ช่วงเช้าตรู่ หรือตอนเย็น ถ้าพบระบาดมาก ควรฉีดพ่นติดต่อกัน 2 ครั้ง ใน 3-4 วัน โดยใช้อัตราส่วนผสมเท่าเดิม กลไก
การเข้าทำลายแมลงและหนอนของเชื้อ คือเมื่อสปอร์ของเชื้อสัมผัสกับผิวของแมลงและหนอน ในสภาพความชื้นที่เหมาะสม จะงอกเส้นใยแทงผ่านผิวหนังเข้า
ไปในลำตัวแมลงและหนอน แล้วขยายจำนวนอยู่ภายในลำตัวแมลงและหนอน โดยใช้เนื้อเยื่อของแมลงและหนอนเป็นอาหาร ทำให้แมลงและหนอนป่วยตาย
ในที่สุดในระยะเวลาต่างๆ ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด และวัยของแมลง โดยทั่วไปประมาณ 3 – 7 วัน ขึ้นอยู่กับขนาดและอายุของแมลงและหนอน หลังจากแมลงตายแล้ว
เชื้อราจะสร้างสปอร์แพร่กระจายไปตามธรรมชาติ เฝ้าระวังแปลงของเกษตรกรจากแมลงศัตรูข้าง เพราะสามารถทำลายแมลงและหนอนได้ทุกระยะ
ผู้เขียนบรรเจิด ยิ่งวงษ์(ฝ่ายส่งเสริมการตลาดภาคกลาง)
สอบถามเพิ่มเติม02-9861680-2 หรือ 092-7744902Hotline สายด่วน 084-5554205 -9